โควิด-19 จะอยู่กับเราไปอีกนาน สิ่งที่เราทำได้คือ ปรับตัว เรียนรู้ เข้าใจและยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น คนที่รับวัคซีนแล้วก็ติดเชื้อได้ ผู้ติดเชื้อที่หายป่วยแล้วก็สามารถติดเชื้อได้อีก หรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว (Long Covid) ได้
อยู่กับโควิดมา 2 ปี การศึกษาวิจัยต่างๆ จากหลากหลายประเทศทำให้เรารู้จักคำว่า โรคระบาดครั้งใหญ่ (Pandemic) ชนิดที่ไม่มีใครคาดคิด การใช้ชีวิตก็เปลี่ยนไป ต้องสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ จะทำอะไรต้องเว้นระยะห่าง องค์ความรู้หรือ Fact & Data ก็เช่นเดียวกัน หากมีหลักฐานหรือข้อค้นพบใหม่ ข้อมูลที่เชื่อและใช้ในวันนี้ อาจใช้ไม่ได้ในวันหน้า หรือแม้แต่คนที่รักษาจนหายดีแล้ว อาจมีโรคหรืออาการผิดปกติเกิดขึ้นในเดือนหน้า ปีหน้า อย่างที่เรียกกันว่า Long Covid ก็เป็นได้
แพทย์เผย หายป่วยแล้ว ก็ยังต้องตามดูการทำงานของไต
นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์ข้อมูลทางการแพทย์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก Anutra Chittinandana ว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยแล้ว ควรติดตามการทำงานของไตอย่างต่อเนื่อง
มีรายงานก่อนการตีพิมพ์ (ahead of print) ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเรื่องผลกระทบต่อไตในผู้ป่วยโควิด 19 ระยะยาว (Kidney Outcomes in Long Covid) ปรากฏใน Journal of the American Society of Nephrology ซึ่งเป็นการศึกษาเปรียบเทียบทหารผ่านศึกชาวอเมริกันสองกลุ่ม
โดยเป็นการติดตามอาการนาน 6 เดือน พบว่ามี 4 กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับไต
หากคุณยังไม่รู้จักคำว่า Long Covid ลิงก์นี้ช่วยได้
อัตราการกรองของไตที่ลดลงในช่วง 30 วัน
เมื่อเทียบผู้ป่วยที่ติดโควิดกับผู้ที่ไม่ได้เป็นโควิด
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ลิงก์ jasn.asnjournals.org
CDC ก็ระบุถึงผลกระทบต่อ "ไต"
สำหรับเคสที่ป่วยหนักเพราะโควิด CDC ก็ระบุไว้ว่า อาจเกิดผลกระทบต่อหลายอวัยวะในระยะยาวได้ เช่น หัวใจ ปอด ผิวหนัง สมอง และ "ไต" ก็เป็นหนึ่งในนั้น
เราจึงต้องดูแลสุขภาพให้ดี และสังเกตทุกความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย แม้เป็นรายละเอียดเพียงเล็กน้อย แต่ที่สำคัญกว่าคือ อย่าวิตกกังวลจนเกินไป ไม่อย่างนั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายอาจลดฮวบ
ที่มา : www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/long-term-effects.html