svasdssvasds

ปอดไม่ใช่เป้าหมายที่โควิด-19 มุ่งโจมตี แต่เป็นจุดสตาร์ทเข้าสู่อวัยวะอื่น

ปอดไม่ใช่เป้าหมายที่โควิด-19 มุ่งโจมตี แต่เป็นจุดสตาร์ทเข้าสู่อวัยวะอื่น

หากผู้ป่วยโควิด-19 เชื้อลงปอดจะทำให้มีโอกาสอาการรุนแรง เพราะปอดคือจุดสุดท้ายของระบบทางเดินหายใจ เปรียบเหมือน Route of entry เป็นทางเข้าสู้อวัยวะอื่น ๆ และอาจทำให้เกิดการอักเสบที่เรียกว่า พายุไซโตไคน์ (cytokine storm) ในผู้ป่วยบางกลุ่ม

อย่างที่ทราบกันดีว่าปอดทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย และแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบเลือดและร่างกาย แต่ไวรัสโควิด 19 ตัวร้ายมีเป้าหมายเจาะโจมตีไปที่ปอด โดยจะผ่านเข้าทางระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดความเสียหายภายในร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ปอดทำงานในประสิทธิภาพน้อยลงกว่าปกติ

 

ปอดไม่ใช่เป้าหมายที่โควิด-19 มุ่งโจมตี แต่เป็นจุดสตาร์ทเข้าสู่อวัยวะอื่น

กลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงเชื้อลงปอด

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอด และโรคประจำตัวอื่น ๆ
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก 
  • ผู้ที่สูบบุหรี่

ข้อมูลการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยพบว่ามักมีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย โดยผู้ที่มีอาการปอดอักเสบ พบว่าเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต โรคหัวใจ หอบหืด หรือเป็นผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน รวมทั้งเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ เพราะปอดของคนที่สูบบุหรี่จะถูกทำลายจนเกิดภาวะถุงลมโป่งพอง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ปอดสูงกว่าคนปกติ อย่างที่เราเห็นกันอยู่ในเรื่องการจัดสรรวัคซีนให้กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว ผู้มีน้ำหนักตัวมาก ได้เข้าถึงก่อน เพื่อเพิ่มภูมคุ้มกันนั้นเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปอดไม่ใช่เป้าหมายที่โควิด-19 มุ่งโจมตี แต่เป็นจุดสตาร์ทเข้าสู่อวัยวะอื่น

80% ของผู้เป็นโควิด-19 จะมีอาการไม่รุนแรง หรือแทบไม่แสดงอาการ มีเพียง 20% เท่านั้น ที่จะมีอาการหนัก ไปจนถึงเสียชีวิตได้ และที่เรามักได้ยินว่า ถ้าเชื้อลงปอดแล้วจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนัก ก็เพราะปอดเป็นประตูสู่อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย เมื่อเชื้อลงไปที่ปอดได้ นอกจากอาจส่งผลต่อการทำให้เกิดภาวะอักเสบ หรือพายุไซโตไคน์แล้ว ยังจะทำให้เชื้อสามารถผ่านเข้าไปในอวัยวะอื่นโดยมีปอดเป็นประตู  

 

เมื่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 เริ่มมีอาการไอ มีไข้ แสดงว่าเชื้อเข้าสู่ระบบ Respiratory tree คือช่องทางผ่านที่จะเข้าไปที่ปอด ระยะนี้ไวรัสจะทำให้เกิดการอักเสบระคายเคือง ร่างกายก็จะมีกลไกการไอ มีเสมหะ เพื่อขับเชื้อออกในระยะนี้ แต่หากไม่สามารถขับเชื้อออกได้หมด ไวรัสก็จะเข้าไปลึกเรื่อย ๆ จนถึงถึงลม เมื่อไปถึงจุดนี้แล้วจะทำให้ปอดอักเสบได้ ในปอดจะมีถุงลม เมื่อถูกแทนด้วยสารที่เกิดจากการอักเสบขึ้นมา ก็จะทำให้เซลล์อักเสบไปปิดกั้น ทำให้ลมและออกซิเจนไม่สามารถผ่านเข้าไปเพื่อส่งต่อไปยังเส้นเลือด ให้เส้นเลือดเป็นตัวพาออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้ 

ปอดไม่ใช่เป้าหมายที่โควิด-19 มุ่งโจมตี แต่เป็นจุดสตาร์ทเข้าสู่อวัยวะอื่น เพราะปอดคือตัวบ่งชี้ต่อความรุนแรงและโอกาสรอด เชื้อลงปอด จึงมีความสำคัญต่อผู้ป่วยโควิด แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ติดเชื้อแล้วจะลงปอด ส่วนปัจจัยที่ทำให้บางคนเชื้อลงปอด บางคนเชื้อไม่ลงปอด คือภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละคน รวมถึงบางคนติดเชื้อโควิดแต่กลับไม่แสดงอาการ นพ. วินัย โบเวจา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสุขภาพปอด อายุรแพทย์ด้านระบบทางเดินหายใจ และภาวะวิกฤตทางเดินหายใจ กล่าวว่าการแสดงอาการ กับการติดเชื้อเป็นคนละเรื่องกัน บางคนติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการก็เพราะร่างกายมีภูมิต้านทาน สามารถตั้งรับเชื้อได้ แต่ถึงอย่างไรก็เป็นพาหะ หรือสามารถแพร่เชื้อได้เช่นกัน

 

ปัจจุบันคุณหมอมีความหนักใจกับนิสัยไม่ดีของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อคนไข้บางกลุ่ม และทำให้คุณหมอเหนื่อยใจเป็นอย่างมาก คือเรื่องของพายุไซโตไคน์ (cytokine storm) คือภาวะที่โควิด-19 ลงไปที่ปอด ส่งผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายยกทัพใหญ่เข้าโจมตีเชื้อแต่สิ่งที่เหลือไว้หลังการโจมตีคือความเสียหาย ส่งผลให้เกิดภาวะอักเสบ และเป็นสาเหตุของการสูญเสีย ภาวะดังกล่าวผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างไร หายป่วยจากโควิดแล้วปอดจะกลับมาปกติหรือไม่

 

และหลากหลายวิธีการฆ่าเชื้อในร่างกายจากข้อมูลการแชร์ในโลกโซเชียล ทั้งการสูดดมสมุนไพร การกลั้วคอ พ่นคอ เหล่านี้ช่วยรักษาโควิดได้หรือไม่ ดูคลิปเต็มที่ลิงค์ด้านล่าง และสามารถติดตามรายการอยากเห็นเมืองไทยดีกว่านี้ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. ทางเนชั่นทีวีช่อง 22 และสปริงออนไลน์

 

related