สรุปประเด็นจากงานแถลงข่าวเปิดตัว “เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย หรือ INNOVATION THAILAND ALLIANCE พลังความร่วมมือระหว่างหน่วยงานชั้นนำของประเทศจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ บริษัทเอกชน สถาบันการศึกษา และสมาคมธุรกิจ เพื่อร่วมกัน “พลิกฟื้นประเทศ…ด้วยนวัตกรรมไทย”
ประเทศไทยมาถึงจุดนี้ได้ยังไง? ถ้าพูดประโยคนี้ ต่างคนคงต่างนึกถึงประเด็นปัญหาแบบต่างกรรมต่างวาระ แต่ไม่ว่าจะมองในมุมเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา คุณภาพชีวิต หรืออื่นๆ โลกเร่งให้เราต้องพัฒนาตัวเอง พัฒนาประเทศ และยืนหยัดด้วย "เทคโนโลยี" และ "นวัตกรรม" ที่เราสร้างขึ้นเอง แต่ด้วยหลายปัจจัยทำให้ไทยไม่สามารถก้าวสู่ประเทศนวัตกรรมได้ง่ายนัก จึงเกิดความร่วมมือในลักษณะ เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย หรือ INNOVATION THAILAND ALLIANCE ขึ้น
INNOVATION THAILAND ALLIANCE คืออะไร สำคัญยังไง?
INNOVATION THAILAND ALLIANCE เป็นเครือข่ายความร่วมมือระดับประเทศ ซึ่งมี 4 ภาคส่วนมาร่วมกันพัฒนานวัตกรรมไทย เพื่อคนไทย ได้แก่
โดยเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA แนะนำและเล่าที่มาที่ไปของ "เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย" (INNOVATION THAILAND ALLIANCE) ทั้งยังร่วมเสวนาในหัวข้อ "พันธมิตรนวัตกรรมไทย...สู้วิกฤตโลก" ผ่าน FB Live : NIA ร่วมกับ
ถ้าชอบตามเทรนด์ เทคโนโลยี นวัตกรรม คุณอาจสนใจบทความเหล่านี้
‘เอ็นไอเอ’ ผุดหลักสูตรใหม่ SMEs to IBE ปั้นสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม
สัมมนาออนไลน์ Thailand Next episode 1 : Innovation Beyond Business โอกาสนวัตกรรมเศรษฐกิจ
ทางรอดของชาติคือ "พลิกฟื้นประเทศ...ด้วยนวัตกรรมไทย"
ดร.พันธุ์อาจ เปิดประเด็นว่า เมืองไทยเคยโดดเด่นด้านนวัตกรรมจนติดท็อป 28 ของดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index : GII) เนื่องจากคนไทยรับสิ่งใหม่ๆ ได้เร็ว เป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่บุคลากรด้านงานวิจัยของไทยติดปัญหา กล่าวคือ พอได้ไปเรียนรู้งานจากต่างประเทศ ได้ฝึกทักษะสตาร์ทอัพ แต่เมื่อกลับมาทำงานในไทยมักถูกดึงไปเป็นผู้บริหารระดับสูง จึงไม่สามารถสร้างทีม ทำงานกับพาร์ทเนอร์อื่นๆ ในลักษณะสตาร์ทอัพได้
ขณะนี้มีมากกว่า 73 องค์กรที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในเครือข่ายนวัตกรรม ดร.พันธุ์อาจเผยว่า ประเทศไทยตั้งเป้าหมายในปี 2570 ว่าจะติดอันดับท็อป 30 ของ GII หรือดัชนีนวัตกรรมโลก องค์กรจึงต้องร่วมมือกัน และแก้ปัญหาสำคัญ 3 ด้าน
"มีตัวอย่างเกือบ 200 เมืองทั่วโลกที่ใช้คำว่า นวัตกรรม ดึงคนเข้าไปทำงาน ทำให้เมืองเหล่านี้มีคนสร้างนวัตกรรมอยู่มาก สำหรับเมืองไทย เรามี Startup Visa มีต่างชาติบินมาเกาะพะงันเพื่อทำธุรกิจบล็อกเชน"
ดังนั้น เราต้องดึงดูด นวัตกร หรือคนที่มีความสามารถทั่วโลกเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย และคนไทยเองก็ต้องออกไปสู่ตลาดโลกด้วย
"เพราะโฟกัสเราชัดเจน คือ ไทยต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เราต้องออกไปต่างประเทศเยอะขึ้น ต้องเน้นการสื่อสาร ขยันสื่อสาร สร้างเครือข่ายระดับองค์กรทุกภาคส่วน ต้องมี Use cased ออกมาเยอะๆ แล้วเรียนรู้กันและกัน ว่าบริษัทสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี ใช้/ควรใช้นวัตกรรมแบบไหน"
ศ.ดร.สุชัชวีร์กล่าวต่อในประเด็นที่สอดคล้องกับสิ่งที่ ดร.พันธุ์อาจกล่าว
"เราไม่สามารถรักษาคนให้อยู่ในสายงานนวัตกรรมได้ และไม่รองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างมีอิสระ เมื่อมีพาร์ทเนอร์ชิพ เครือข่ายพร้อม แต่การที่จะประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยแรกคือ เราต้องโฟกัส ต้องมุ่งมั่น ทำงานเจาะ ไม่ใช่ทำงานแล้วนั่นมาใหม่ นี่มาใหม่ และอีกปัจจัยคือ เราต้องมี Commitment ปีหน้าต้องตั้งเป้าเลยว่า จะอยู่ตรงไหน เราต้องไต่ขึ้นอันดับที่ Top 30 ด้านนวัตกรรมให้ได้ภายในปี 2570 ทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จ"
และยังเผยความได้เปรียบว่า พื้นที่ที่มีโอกาสที่จะเกิดนวัตกรรมมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัย เพราะมีต้นทุน "พอไปได้" ดังนี้
กรอบความร่วมมือ "เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย" มีด้านใดบ้าง?
1. การร่วมสื่อสารเผยแพร่นวัตกรรม
หน่วยงานเครือข่ายฯ และ NIA ร่วมกันนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นหรือให้การสนับสนุนมาสื่อสารเผยแพร่ให้คนไทยทั่วโลก เกิดความตื่นตัวและรับรู้คุณค่าใหม่ทางนวัตกรรมฝีมือคนไทย ที่ทำให้ชีวิตที่ดีขึ้นสร้างรายได้ส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ ด้านนวัตกรรมให้แก่ประเทศไทย
2. การร่วมสร้างแรงบันดาลใจนวัตกรรม
หน่วยงานเครือข่ายฯ และ NIA ร่วมกันนำนวัตกรรมที่โดดเด่น มาถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวทางการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งจะสร้างภาพลักษณ์การเป็นหน่วยงานชั้นนำด้านนวัตกรรม ของประเทศ และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรมขั้นในองค์กรทุกภาคส่วนของประเทศไทย
3. การร่วมพัฒนาศักยภาพนวัตกรรม
หน่วยงานเครือข่ายฯ และ NIA ร่วมกันพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมของบุคลากรและหน่วยงานในเครือข่ายฯ ให้เกิดการเพิ่มศักยภาพบุคลากรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่องค์กรได้และก้าวสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมทั่วทั้งองค์กร
4. การร่วมพัฒนาต่อยอดและขยายผลนวัตกรรม
หน่วยงานเครือข่ายฯ และ NIA นำนวัตกรรมฝีมือคนไทยที่มีศักยภาพมาร่วมกันขยายผลให้เกิดการพัฒนา นวัตกรรม การต่อยอดธุรกิจนวัตกรรมให้เกิดการลงทุนจับคู่ธุรกิจและขยายตลาดนวัตกรรม
5. การร่วมเชื่อมโยงข้อมูลนวัตกรรม
หน่วยงานเครือข่ายฯ และ NIA ร่วมกันเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการสร้างแดชบอร์ดข้อมูล นวัตกรรมประเทศไทยที่โดดเด่น เพื่อใช้สื่อสารสร้างภาพลักษณ์นวัตกรรมของประเทศไทยและนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ
สรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับ INNOVATION THAILAND ALLIANCE ได้ดังภาพนี้
เนื่องจากรายละเอียดของ INNOVATION THAILAND ALLIANCE ยังมีอีกหลายด้านที่ต้องเดินหน้าไปพร้อมๆ กัน โอกาสต่อไป SPRiNG จะนำ แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย (INNOVATION THAILAND DASHBOARD) มาสรุปให้คนไทยและเยาวรุ่นทั้งหลายรับรู้ถึงโมเดลการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ