svasdssvasds

บ้านที่ไม่ใช่บ้าน ทำอย่างไรเมื่อบ้าน ไม่ใช่ “Comfort Zone” อีกต่อไป

บ้านที่ไม่ใช่บ้าน ทำอย่างไรเมื่อบ้าน ไม่ใช่ “Comfort Zone” อีกต่อไป

ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ชีวิตส่วนใหญ่ของเราแทบจะใช้ชีวิตติดอยู่กับบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ทั้งเรียนออนไลน์ และ WFH แน่นอนว่าคนเราเมื่ออยู่ด้วยกันย่อมมีเหตุกระทบกระทั่งกันเป็นเรื่องธรรมดา

ทั้งในปัญหาเรื่องความต้องการที่ไม่ตรงกัน เพราะเด็กที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่นนั้นเริ่มต้องการอิสระ อยากมีพื้นที่ส่วนตัว และใช้ชีวิตเป็นของตัวเอง ในขณะที่ผู้ปกครองยังคงต้องการสอดส่องดูแล และควบคุมดูแลบุตรหลานตัวเองอยู่ ทำให้หลายครั้งเด็กรู้สึกถูกรบกวนพื้นที่ส่วนตัว ในขณะที่ผู้ปกครองมองว่าทำไปเพราะความเป็นห่วง ต่างฝ่ายต่างมีความต้องการและความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน

บ้านที่ไม่ใช่บ้าน ทำอย่างไรเมื่อบ้าน ไม่ใช่ “Comfort Zone” อีกต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อยู่บ้านยังไงให้กายใจแข็งแรง? 9 เทคนิคดูแลสุขภาพง่ายๆ กับคนในครอบครัว

“@linefamily เพื่อนครอบครัว” ช่องทางออนไลน์ปรึกษาปัญหาครอบครัว 24 ช.ม.

ช่วงนี้สุขภาพจิตเป็นอย่างไร ? ลอง 5 วิธีฟื้นฟูสภาพจิตใจให้แข็งแกร่ง

แล้วจะทำอย่างไรให้บ้าน กลับไปเป็นบ้านเหมือนเดิม?

1) หาโอกาสปรับความเข้าใจและพูดคุยกัน

เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน หรือรู้สึกไม่พอใจกับความคิดหรือการกระทำของอีกฝ่าย ‘การรับฟัง’ คือสิ่งสำคัญ เริ่มจากการฟังเหตุผลอีกฝ่ายโดยปราศจากอคติ ผู้ใหญ่ไม่ควรหาว่า การที่อีกฝ่ายเด็กกว่าจะแปลว่าไม่มีเหตุผล หรือไม่รู้ดีเท่าตัวเอง ลองฟังเหตุผลของอีกฝ่ายด้วยความตั้งใจดูก่อน อาจได้แง่มุมดีๆ ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นก็ได้เหมือนกัน หรือว่าเด็กเองก็ไม่ควรหาว่าผู้ใหญ่ล้าสมัย ไม่เข้าใจโลกสมัยนี้ ลองรับฟังบางคำแนะนำก็อาจนำไปปรับใช้ในปัจจุบันได้บ้างเช่นกัน และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ทั้งสองฝ่ายควรพูดคุยกันด้วยเหตุผล ปราศจากอารมณ์ และนึกถึงความรู้สึกอีกฝ่าย ไม่เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่อยู่ฝ่ายเดียว ลองคิดในมุมว่าถ้าเป็นอีกฝ่าย หากถูกกระทำแบบเดียวกับสิ่งที่ตัวเองทำอยู่จะรู้สึกอย่างไร ไม่ควรทำในสิ่งที่อาจทำร้ายจิตใจอีกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม

2) หาที่พึ่งทางใจอื่นแทน

ถ้าคุยกันแล้วยังไม่เข้าใจ อีกฝ่ายไม่ยอมลดอีโก้ของตัวเองลง ความจริงแล้ว Comfort Zone ของคนเราทุกคนอาจไม่จำเป็นต้องเป็นบ้านเสมอไปก็ได้ อาจหาที่พึ่งทางใจเป็นเพื่อน คนรัก หรือสัตว์เลี้ยง แม้แต่การได้ฟังเพลง ดูหนัง ทำงานอดิเรกที่ชอบ ก็เป็นแหล่งพักใจที่ดีอีกเหมือนกัน ถ้าสุดท้ายคนในครอบครัวเป็นให้ไม่ได้จริงๆ ลองหาที่ที่อื่นที่ทำให้สบายใจขึ้นมาหน่อยก็ได้เหมือนกัน

3) แยกกันอยู่บ้าง

อาจหาพื้นที่ส่วนตัวของตัวเองภายในบ้าน หรือบางครั้งการแยกกันอยู่กันไปเลย อาจดีต่อความสัมพันธ์มากกว่าการอยู่ร่วมกันตลอดเวลา การเว้นระยะห่างจากกัน ได้กลับมาเจอกันนานๆ ที ปล่อยให้ความรู้สึกคิดถึงได้ทำงานบ้าง อาจทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้นมาก็ได้ ยิ่งสังเกตได้จากตั้งแต่มีการล็อกดาวน์ ทั้งที่ปกติอยู่ด้วยกันก็ดูไม่มีปัญหาอะไรมาก แต่พออยู่ด้วยกันมากเกินไปก็มีแต่เรื่องให้ทะเลาะกันไม่เว้นแต่ละวัน

related