svasdssvasds

BURNOUT SYNDROME อย่ารอให้หมดไฟในการทำงาน

BURNOUT SYNDROME อย่ารอให้หมดไฟในการทำงาน

อย่างที่ทราบกันแล้วว่า Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเป็นโรคที่เป็นผลจากการความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน

ควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางก่อนจะรุนแรงและคุกคามการใช้ชีวิต เพราะฉะนั้นการหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนและรู้เท่าทันโรคนี้จะช่วยให้รับมือได้อย่างถูกวิธีก่อนสายเกินไป

BURNOUT SYNDROME อย่ารอให้หมดไฟในการทำงาน

รู้จักภาวะหมดไฟในการทำงาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานและไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งลักษณะอาการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • เหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกหมดพลัง สูญเสียพลังจิตใจ
  • มีทัศนคติเชิงลบต่อความสามารถในการทำงานของตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ
  • ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ความสัมพันธ์ในที่ทำงานเหินห่างหรือเป็นไปทางลบกับผู้ร่วมงานและลูกค้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Pandemic weight gain ผลกระทบจากโควิด-19

8 ข้อ ช่วยเซฟใจกันและกัน เวลาเริ่ม “ทะเลาะ” กับใครสักคน

10 วิธีหนี “โควิด-19” ทำทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน

ลักษณะงานแบบไหนเสี่ยงหมดไฟ

  • งานหนักและปริมาณมากเกินไป
  • งานซับซ้อน งานเร่งรีบ
  • งานที่ผลตอบแทนไม่เหมาะสม 
  • งานที่ทำให้รู้สึกไม่ได้รับคุณค่าและความภูมิใจในการทำงาน
  • งานที่ขาดความยุติธรรม ความเชื่อใจ การยอมรับในการทำงาน
  • งานที่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในงานที่ทำ
  • งานที่การบริหารงานไร้ระบบ ไม่มีเป้าหมายชัดเจน

 

 

หลายคนมักสงสัยว่า ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) เป็นอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่ ซึ่งภาวะหมดไฟในการทำงานกับโรคซึมเศร้ามีความแตกต่างกันไม่ใช่โรคเดียวกัน แต่หากสงสัยไม่ว่าจะโรคใดอย่านิ่งนอนใจควรปรึกษาจิตแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างทันท่วงที 

ที่มา โรงพยาบาลกรุงเทพ

related