ชีวิตที่ต้องทำงานออนไลน์ ซื้อของออนไลน์ ทำธุรกรรมออนไลน์ รับเงินช่วยเหลือออนไลน์ เพื่อลดการสัมผัสในวิกฤตโควิด 19 บ่งบอกได้ว่า เทคโนโลยีทางการเงิน หรือ Fintech มีความจำเป็นมาก และอุตสาหกรรมนี้ก็กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปสู่สิ่งที่ดีกว่า นั่นคือ Green Finance
ขณะที่โลกบอบช้ำ ชาวโลกต้องร่วมด้วยช่วยกันฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้ Green Energy, Renewable Energy ลดการสร้างขยะ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน โลกการเงินก็เช่นกัน หากจะผลักดันให้เกิดความยั่งยืน วงการการเงินการลงทุนก็ต้องการคำนึงถึงคำว่า Green Finance
Green Finance คืออะไร
การเงินสีเขียว หรือ Green Finance เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพราะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยตอบสนองความต้องการด้าน ‘การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม’ ควบคู่ไปกับ ‘การดำเนินธุรกิจแนวทุนนิยม’
ที่ต้องพูดถึง ทุนนิยม เพราะทุนนิยมเป็นแกนสำคัญในระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนโลก หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดที่สุด คือ กรณีการวิจัยและพัฒนา 'วัคซีนโควิด 19' เพราะถ้าไม่มีการอัดฉีดเม็ดเงินมหาศาลจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ก็ยากที่จะทดสอบและผลิตวัคซีนได้ในระยะเวลาอันสั้น
ในขณะเดียวกัน หากพิจารณาทุนนิยมในบทผู้ร้าย ทุนนิยมนำมาสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนักหน่วง เกิดเป็นกิจกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรมมากมายขึ้นบนโลก จนกระทั่งถึงจุดที่ชั้นบรรยากาศเบาบางลง ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม เสียหาย เกิดภัยพิบัติถี่ขึ้น มลภาวะทางอากาศซ้ำเติม จนสุดท้าย มนุษย์ก็ต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อน
หากกลับมามองชีวิตประจำวัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดก็ยิ่งซ้ำเติม ปิดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินของผู้คนจำนวนมาก ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจขยายตัว ลุกลาม และกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงยิ่งขึ้น
เพื่อให้แนวทาง Green Finance เป็นไปได้จริง เครื่องมือที่จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างสรรค์ 'นวัตกรรมสีเขียว' เพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืนก็คือ Fintech
Fintech จะช่วยให้เกิด Green Finance ได้อย่างไร
ยกตัวอย่างประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท แต่การมี Fintech ช่วยส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินและช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เช่น
เปิดโลก Green Finance ในประเทศจีน
มีผลการศึกษาที่ดำเนินการร่วมกันโดยสถาบัน Paulson Institute และมหาวิทยาลัยชิงหวา ระบุว่า จีนมีบทบาทเป็นผู้นำในการทดสอบนวัตกรรมด้าน Green Finance ที่ขับเคลื่อนด้วย Fintech รวมถึงโครงการพัฒนาที่ยั่งยืน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ดังที่รัฐบาลจีนให้คำมั่นสัญญาว่า จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เท่ากับศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี 2603 ทางเอกชนอย่าง แอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) ก็ให้คำมั่นสัญญาจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เท่ากับศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี 2573 โดยได้จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกและเทคโนโลยีสีเขียวอื่นๆ และยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมในการส่งเสริม Green Finance อีกด้วย
กรณีศึกษาด้าน Green Finance จาก Ant Forest
คงต้องยก Ant Forest โครงการพี่ใหญ๋ที่เปิดตัวบนแอปอาลีเพย์ (Alipay) ให้ผู้ใช้งานสามารถเก็บ คะแนนสะสมพลังงานสีเขียว (Green Energy Points) ได้ โดยคะแนนจะมาจากการที่ผู้ใช้งานทำกิจกรรมบางอย่างพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ
ทั้งนี้ คะแนนสะสมที่ได้จะนำไปใช้ในการปลูกต้นไม้เสมือนจริงบนแอปของผู้ใช้ ขณะที่อาลีเพย์จะให้การสนับสนุนด้วยการปลูกต้นไม้จริงหรือการคุ้มครองพื้นที่อนุรักษ์ โดยร่วมมือกับองค์กรเอ็นจีโอในท้องถิ่น
Source : medium.com/alipay-and-the-world/alipay-gallery-ant-forest-tree-planting-spring-2019
Crypto ไปด้วยกันกับ Green Finance ได้รึเปล่า?
มาต่อเรื่อง แพลตฟอร์มการเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ที่ทำงานบน เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก ประเด็นนี้ก็มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่นำไปสู่การปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเช่นกัน
โดยเฉพาะหลังจากที่ Elon Musk ทวีตถึง Bitcoin และ Dogecoin เล่นเอามูลค่าตลาดปั่นป่วนอย่างหนัก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็อาจจะแค้นใจหรือสะใจไปตามๆ กันไป (ย้อนอ่านบทความฉบับเต็ม : มีกี่ Bitcoin ก็ซื้อ Tesla ไม่ได้ เพราะ Elon ชี้ ขุดเหรียญนี้ทำร้ายโลก ) เชื่อแน่ว่าคำของ Elon จะจุดประกายให้บรรดาผู้พัฒนาหรือผู้ครอบครองเหรียญดิจิทัลต้องทำอะไรสักอย่าง
Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง Twitter.com ทุ่มเงิน 50 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อ Bitcoin ในเดือนตุลาคม 2563 จากนั้นก็ซื้ออีก 170 ล้านดอลลาร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่น่าสนใจก็คือ Jack ยังเป็นผู้ก่อตั้ง Square และแอปนี้ก็ทำยอดขาย Bitcoin ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ได้มากกว่า 3.5 พันล้านดอลลาร์ ถึงอย่างนั้นก็ออกมาประกาศตัวว่า จะรอให้ Bitcoin ดี (ต่อสิ่งแวดล้อมมาก) กว่านี้ ถ้า Bitcoin ยังไม่แก้ปัญหาด้านมลภาวะก็จะไม่ซื้อเพิ่ม
Gabor Gurbacs ผู้อำนวยการ VanEck/MVIS ก็มาทวีตตอบ Jack ด้วย Infographic ว่า นักขุด Bitcoin ใช้พลังงานหมุนเวียนถึง 76% แล้วนะครับ และยังแท็ก Elon ในทวิตเตอร์ให้มาเห็น Infographic นี้ด้วย
จากข้อมูลที่ปรากฏเข้าใจได้ว่า นักขุดในวงการ Crypto ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Ethereum, Dogecoin ก็กำลังปรับโหมดให้เข้ากับสภาวะแวดล้อม และหันมาใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คาดว่าอีกไม่นานอุตสาหกรรม Crypto ก็จะมุ่งสู่ Green Finance ได้สำเร็จ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้เทคโนโลยี Blockchain เพิ่มศักยภาพให้ Fintech และสิ่งสำคัญคือ ทำให้ทุกคนบนโลกมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบดิจิทัลได้อย่างเสมอภาค