svasdssvasds

อย. ไทย มีระบบประเมินวัคซีน ที่ได้รับการรับรอง WHO PQ จากองค์การอนามัยโลก

อย. ไทย มีระบบประเมินวัคซีน ที่ได้รับการรับรอง WHO PQ จากองค์การอนามัยโลก

เรามีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับมาตรฐานการรับรองของวัคซีนมาฝาก รู้มั้ยว่า วัคซีนโควิด-19 ที่อยู่ในรายชื่อขององค์การอนามัยโลก (WHO EUL) นั้น ทำไว้สำหรับโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลกเอง

วัคซีนโควิด-19

ซึ่งองค์การอาหารและยาของแต่ละประเทศ สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ในประเทศของตนได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า วัคซีนที่ไม่อยู่ในลิสต์ของ WHO EUL จะใช้ไม่ได้ หรือ ไม่มีคุณภาพ 

ซึ่งวัคซีนที่ได้รับการรับรอง ตัวอย่างเช่น ไฟเซอร์ โมเดอร์นา แอสตราเซนเนกา และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ต่างก็ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ อเมริกา และหลายประเทศในยุโรป ก่อน ที่จะได้รับรอง WHO EUL 

สำหรับประเทศไทยแล้ว องค์การอาหารและยา หรือ อย. มีระบบการกำกับดูแลวัคซีนที่ได้รับการรับรอง WHO PQ จากองค์การอนามัยโลกอยู่แล้ว และเป็นสมาชิกของ PIC/s ด้วย จึงสามารถพิจารณาขึ้นทะเบียนวัคซีนได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐานสากลเช่นกัน เช่น วัคซีนของซิโนแวค ยังไม่ได้อยู่ใน WHO EUL แต่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์องค์การอนามัยโลก คือ ป้องกันโรคได้มากกว่า 50% ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้ 77.9% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% มีความปลอดภัย มีการอนุมัติให้ใช้ในกว่า 45 ประเทศทั่วโลก อย. จึงประเมินให้ขึ้นทะเบียนและนำมาใช้ได้

 

ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลินิก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ศึกษาพบว่า หลังการฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็มที่ 2 เป็นเวลา 1 เดือน ตรวจพบภูมิต้านทาน 99.4% ขณะที่ การตรวจหาภูมิต้านทานหลังการติดเชื้อโดยธรรมชาติ 1-2 เดือน พบภูมิต้านทาน 92.4% จึงมั่นใจได้ว่า วัคซีนที่ผ่านการประเมินและได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลแน่นอน  โดยขณะนี้ อย. ได้มีการอนุมัติวัคซีนโควิด-19 แล้ว  4 ราย  ได้แก่ แอสตราเซนเนกา ซิโนแวค จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และโมเดอร์นา 

วัคซีนโควิด-19

Cr. ww.thaigov.go.th