ขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อทั้งหมดทะลุกว่า 44 ล้านราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้เกินกว่าล้านรายแล้ว วัคซีนโควิด 19 จึงถือเป็นความหวังสำหรับคนทั่วโลก ซึ่งในระหว่างนี้หลายประเทศต่างมุ่งมั่นพัฒนาวัคซีนให้สำเร็จ ซึ่งตอนนี้วัคซีนโควิดทั่วโลกไปถึงขั้นไหนกันแล้ว เราจะมาอัปเดตให้ได้รู้กัน
เรื่องชนิดของ วัคซีนโควิด 19 จากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2563 ทั่วโลกมีวัคซีนที่เข้าทดสอบในมนุษย์แล้วทั้งสิ้น 48 ตัว โดย อยู่ในระยะที่หนึ่ง 33 ตัว, ระยะที่สอง 15 ตัว และระยะที่สาม 11 ตัว ในจำนวนนี้มี 6 ตัว ที่ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในวงจำกัด
ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หรือ Siriraj Institute of Clinical Research (SICRES) ได้สรุปชนิดของวัคซีนที่กำลังพัฒนามีหลายประเภท แต่หลักๆ ที่น่าจะเข้าวิน มี 4 กลุ่ม ดังนี้
??????????? ??????? เป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ตายแล้วโดยการให้ความร้อนสารเคมี หรือ แสงยูวี ชนิดที่น่าจะมาไกลที่สุด คือ เข้าสู่เฟส 3 และได้เริ่มใช้แล้วในวงจำกัดที่ประเทศจีน เป็นของบริษัท Sinovac, Sinopharm และ Wuhan Institute วัคซีนชนิดนี้ผลิตด้วยความยุ่งยาก แม้จะไม่ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่เพราะต้องใช้ BSL3 facility เพื่อเพาะเลี้ยงเชื้อ และผลิตได้ไม่เร็ว แต่เป็นชนิดของวัคซีนที่น่าจะได้ผลดีเพราะเอาไวรัสทั้งตัวมาฆ่าให้ตาย จึงไม่มีข้อต้องกังวลใจมากนัก ทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่เคยใช้ในการผลิตวัคซีนอื่นๆ มาก่อน มีประสบการณ์ในการใช้วัคซีนประเภทนี้กับโรคอื่นๆ มามากมาย คาดว่าวัคซีนตัวนี้น่าจะเข้าสู่ท้องตลาดได้เร็วที่สุด แต่น่าจะมีราคาแพงที่สุด
?????????? ?????? ??????? คือ การเอายีนของไวรัสก่อโรคโควิด 19 ใส่เข้าไปในอะดีโนไวรัส บริษัทที่เด่นๆ คือ CanSino จากประเทศจีน ซึ่งใช้อะดีโนไวรัสสายพันธุ์ Ad5 ของคน, บริษัท Astra Zeneca จากประเทศอังกฤษ ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Oxford ใช้ไวรัสของชิมแพนซี, และ Gamaleya จากประเทศรัสเซีย ซึ่งใช้ Ad26+Ad5 และอีกหนึ่งบริษัทเป็นของ Johnson&Johnson ซึ่งใช้ Ad26 วัคซีนกลุ่มนี้น่าจะได้ผลดี ถ้าไม่เคยติดเชื้ออะดีโนไวรัสสายพันธุ์ที่นำมาเป็นตัวนำพา (vector) มาก่อน
ข้อเสีย คือ ตัวอะดีโนไวรัสเองเป็น live virus vector เมื่อนำมาฉีดอาจก่อเรื่องได้ จึงเป็นวัคซีนชนิดที่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรได้รับวัคซีนที่แท้จริง
ข้อดี คือ ไม่ต้องฉีดหลายเข็มก็มีภูมิคุ้มกันขึ้นได้ดี นอกจากนี้ในตอนที่ทดสอบวัคซีนที่ใช้ไวรัสชิมแพนซีพบว่า มีอาสาสมัครเกิดโรค transverse myelitis แต่ไม่ทราบว่าเป็นเหตุบังเอิญหรือเกิดเพราะวัคซีน ทำให้ต้องหยุดการวิจัยชั่วคราว ที่สำคัญเรายังไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้วัคซีนประเภทนี้ในวงกว้างเลย
???? ???????? ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไทยเราก็กำลังพัฒนา วัคซีนโควิด 19 ด้วยวิธีนี้เช่นกัน บริษัทที่เด่นๆ ในการใช้เทคโนโลยีนี้คือ Moderna ได้รับการสนับสนุนโดย US NIH ซึ่งเป็นตัวเดียวกันกับที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำมาพัฒนา
วัคซีนของ Moderna ได้เข้าสู่การวิจัยระยะที่ 3 แล้ว และให้ผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีในคนปกติ รวมทั้งในผู้สูงอายุด้วย และยังมีอีกหลายบริษัทที่ผลิตวัคซีนโควิดด้วยเทคโนโลยีนี้ นั่นคือ BioTech + Pfizer ของประเทศเยอรมันนี
วัคซีนประเภทนี้ใช้เทคโนโลยีใหม่ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้ในมนุษย์มาก่อน มีข้อดีคือ ผลิตได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ด้วยความที่ไม่เคยมีใช้มาก่อน จึงทำให้มีข้อกังวลใจว่า แม้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องผลข้างเคียงจากการศึกษาระยะสั้น แต่ผลอันไม่พึงประสงค์ในระยะยาวจะมีได้หรือไม่ ยังต้องรอดูกันต่อไป
???????-????? ???????? เป็นการใช้เทคโนโลยีการผลิตโปรตีนของเปลือกไวรัส ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่รู้จักกันดีอยู่แล้วเพราะมีการใช้ในวัคซีนอื่น เช่น ไข้หวัดใหญ่ ตับอักเสบบี เป็นต้น มีการใส่สารเสริมฤทธ์ที่กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ผลิตได้รวดเร็ว บริษัทที่เด่นๆ คือ Novavax ของประเทศอเมริกา ที่ตอนนี้เข้าสู่งานวิจัยระยะที่ 3 แล้ว ส่วนของที่ Sanofi จับมือกับ GSK ซึ่งเป็นสองบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการใช้เทคโนโลยีคล้ายคลึงกับการผลิตวัคซีนอื่นๆ ก็ยังอยู่ในการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 และยังมีอีกหลากหลายบริษัทที่รวมแล้วมีมากกว่า 10 บริษัทด้วยกัน
ประสิทธิภาพของ วัคซีนโควิด 19 นั้นยังไม่สามารถบอกได้ว่าใครจะเด่นกว่าใครในขณะนี้ แต่คาดว่าไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหน ภูมิคุ้มกันอาจจะอยู่ได้ไม่นานมาก และน่าจะต้องมีการฉีดกระตุ้นเป็นระยะ แต่ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าต้องบ่อยแค่ไหน ทุกอย่างยังเป็นเรื่องของอนาคตที่จะต้องติดตามต่อไป เพราะเรายังไม่รู้จักไวรัสตัวนี้อย่างดีพอ
ศ.พญ.กุลกัญญา กล่าวทิ้งท้ายว่า ถ้าถามถึงวัคซีนโควิด 19 ตัวไหนน่าจะออกขายก่อน ก็คิดว่า inactivated ของประเทศจีน น่าจะมาวินก่อน แต่ของรัสเซีย หรือของ Oxford หรือของ Moderna ก็น่าจะออกขายในเวลาที่ไล่เลี่ยกันไม่นานนัก ซึ่ง SICRES โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีความพร้อมในการทำวิจัยทดสอบคลินิกสำหรับวัคซีนทุกประเภท