svasdssvasds

รู้ทัน ป้องกันโรค พยาธิ พร้อมวิธีสังเกตตนเองว่าเสี่ยงเป็นโรคนี้หรือไม่

รู้ทัน ป้องกันโรค พยาธิ พร้อมวิธีสังเกตตนเองว่าเสี่ยงเป็นโรคนี้หรือไม่

ช่วงหน้าฝน อากาศมีความชื้นสูง สภาพพื้นเปียกแฉะ เหมาะแก่การสะสมและเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ รวมไปถึงโรค พยาธิ ที่มักจะมาพร้อมกับหน้าฝน

ปัจจัยที่เอื้อต่อการเป็นโรคพยาธิ ไม่ใช่เพียงแค่หน้าฝนเท่านั้น แต่การรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ป่วยเป็นโรค พยาธิ ด้วยเช่นกัน

หลายคนอาจจะเคยได้เห็นภาพฟิล์มเอกซเรย์ ที่เต็มไปด้วยพยาธิชอนไชเต็มร่างกายของผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์ด้วยอาการคันไปทั้งตัว ทำให้มองภาพความน่ากลัวของเจ้าตัวปรสิตนี้ได้ชัดเจนขึ้น 

โรคพยาธิ คือ โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตประเภทปรสิต (parasite) ซึ่งตัวพยาธิอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ และเจริญเติบโตแย่งสารอาหารต่างๆ ของร่างกาย ตัวพยาธิสามารถเพิ่มจำนวน และเป็นอันตรายต่อร่างกาย สิ่งที่น่ากลัวสำหรับโรคนี้ คือ ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคต่างๆ หลายชนิด

โรคเกี่ยวกับพยาธิ เกิดจากพยาธิ 3 กลุ่ม คือ พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน และ พยาธิใบไม้

- พยาธิตัวกลม เป็นพยาธิที่มีลักษณะกลม ไม่มีปล้อง มักพบในเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ รวมถึงพืชผักที่ไม่สะอาด โรคจากพยาธิตัวกลม เช่น โรคพยาธิไส้เดือน โรคพยาธิเส้นด้าย โรคพยาธิปากขอ โรคพยาธิตัวจี๊ด โรคพยาธิแส้ม้า พยาธิสตรองจีลอยด์ และโรคเท้าช้าง เป็นต้น

- พยาธิตัวแบน หรือ พยาธิตัวตืด เป็นพยาธิที่มีลักษณะแบน มีปล้อง พบในเนื้อสัตว์ โรคเกี่ยวกับพยาธิตัวแบน เช่น โรคพยาธิตัวตืด เป็นต้น

- พยาธิใบไม้ เป็นพยาธิที่มีลักษณะ ลำตัวแบนเหมือนพยาธิตัวแบน แต่ไม่มีปล้อง พบในสัตว์น้ำ โรคที่เกิดจากพยาธิใบไม้ เช่น โรคพยาธิใบไม้ในเลือด โรคพยาธิใบไม้ในตับ เป็นต้น

พยาธิ

สาเหตุการเกิดโรคพยาธิ

เกิดจาการรับพยาธิหรือไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย โดยช่องทางการเข้าสู่ร่างกายของพยาธิ สามารถสรุป ได้ดังนี้

- เข้าทางปาก จากการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนของไข่พยาธิ หรือ ตัวพยาธิ

- เข้าทางผิวหนัง เกิดจากการเข้าทางแผล หรือ สัตว์อื่นที่เป็นพาหะ เช่น ยุงกัด เป็นต้น

เสี่ยงเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ เช็ก 8 สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้

สำหรับผุ้ป่วยโรคพยาธิ มีอาการไม่เด่นชัดนัก แต่พอที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้

- น้ำหนักตัวลด 

- ท้องอืด 

- ท้องเฟ้อ

- ท้องเสียบ่อย 

- หิวบ่อย 

- มีอาการบวมแดง หรือ เป็นตุ่มนูน หรือ ผื่นแดง หรือ คันที่ผิวหนัง 

- ปวดศรีษะ 

- ปวดเมื่อยตามตัว 

- ตาพร่ามัว 

- ตัวเหลือง

- ท้องบวมโต

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจโรคพยาธิ สามารถทำได้โดยการตรวจทวารหนัก ตรวจอุจจาระ ซึ่งควรเก็บอุจจาระในช่วงตื่นนอนตอนเช้าใหม่ๆ จะทำให้มีโอกาสตรวจพบพยาธิมากที่สุด

พยาธิ

แนวทางการรักษา

สำหรับการรักษาโรคพยาธิในปัจจุบันรักษาโดยการรับประทานยาถ่ายพยาธิ ซึ่งการรับประทานยาแบ่งได้ 3 ชนิด ดังนี้

- Albendazole สามารถใช้กำจัดพยาธิได้ทุกชนิด เช่น พยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืด ยกตัวอย่างยาชื่อการค้า “ALBEN” เป็นต้น

- Mebendazole สามารถใช้กำจัดพยาธิตัวกลม เช่น พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวจี๊ด ยกตัวอย่างยาชื่อการค้า “Fugacar” เป็นต้น

- Niclosamide สามารถใช้กำจัดพยาธิตัวตืด เช่น พยาธิตัวตืดหมู พยาธิตัวตืดวัว เป็นต้น

วิธีการป้องกันให้ห่างไกลจากโรค

การป้องการการเกิดโรคพยาธิ ต้องป้องกันไม่ให้ตัวพยาธิ หรือไข่พยาธิ เข้าสู่ร่างกาย โดยลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้

- กินอาหารที่ปรุงสุก

- ล้างผักให้สะอาดก่อนรับประทาน

- ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร

- ดื่มน้ำที่สะอาด

- ต้องเก็บรักษาอาหารไม่ให้สิ่งมีชีวิตเข้าไปวางไข่

- หากมีแหล่งน้ำขังต้องไม่ลุยน้ำหรือการสัมผัสกับน้ำ

- ต้องสวมรองเท้าบูทป้องกัน

- ใส่เสื้อผ้ามิดชิด ป้องกันการโดนแมลงสัตว์กัดต่อย 

- รักษาความสะอาดของเสื้อผ้า

เนื่องจากพยาธิมีหลายกลุ่ม และยารักษามีหลายชนิด หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น อย่าถ่ายพยาธิเอง ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดก่อนเสมอ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 

อาการโรค พยาธิ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ติดตามเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ www.facebook.com/healthyclub.by.biopharm

related