svasdssvasds

กิ้งกือมังกรสีชมพู สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อันดับที่ 3 ของโลก ณ หุบป่าตาด อุทัยธานี

กิ้งกือมังกรสีชมพู สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อันดับที่ 3 ของโลก ณ หุบป่าตาด อุทัยธานี

กิ้งกือมังกรสีชมพู เป็นสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ ที่ถูกประกาศให้เป็นสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ อันดับที่ 3 ของโลก จากมหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา

กิ้งกือมังกรสีชมพู (Shocking Pink Millipede) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Desmoxytes purpurosea ถูกค้นพบโดยสมาชิกในชมรมคนรักกิ้งกือ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 จากการสำรวจพบว่า กิ้งกือชนิดนี้ พบได้เพียงแห่งเดียวในโลก คือ พบเฉพาะที่ หุบป่าตาด ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น

 

 

 

 

 

กะท่างน้ำ ดอยภูคา สัตว์ชนิดใหม่ของโลกค้นพบโดยนักวิจัยไทยในจังหวัดน่าน

 

นอกจากนี้ยังพบว่า กิ้งกือมังกรสีชมพูนี้ เป็นสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ ที่ถูกประกาศให้เป็นสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ อันดับที่ 3 ของโลก จากมหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในด้านความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก

 

ลักษณะเด่นของกิ้งกือมังกรสีชมพู

 

กิ้งกือมังกรสีชมพูนั้น อยู่ในวงศ์กิ้งกือมังกร (พาราดอกโอโซมาติเดีย) มีลักษณะพิเศษอยู่ที่สีสัน สีชมพูสดใส สะดุดตา ขาที่ยื่นออกด้านข้างของลำตัวคล้ายกับตะขาบ และยังมีลักษณะเด่นด้วยลวดลาย และปุ่มหนามบนลำตัวคล้ายมังกร เมื่อโตเต็มวัย จะมีลำตัวยาว 7 เซนติเมตร มีลำตัว 20 - 40 ปล้อง

สิ่งสำคัญที่นักท่องเที่ยวต้องระวังอย่างยิ่ง คือ กิ้งกือมังกรสีชมพู ไม่สามารถกัดได้ แต่สามารถขับสารพิษประเภทไซยาไนด์ ออกมาจากต่อมขับพิษข้างลำตัว เพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูธรรมชาติได้อีกด้วย และ กิ้งกือมังกรสีชมพูนับเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นสายพันธุ์หายาก จะปรากฏให้ได้ยลโฉมเพียงปีละครั้ง ในช่วงปลายฝนต้นหนาวเท่านั้น 

การชมกิ้งกือมังกรสีชมพู สามารถชมได้ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน ขึ้นอยู่กับความชุ่มขื้นของผืนป่า ในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ด้วย

ขอบคุณภาพจาก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ นายจรัส คำแพง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน

กิ้งกือมังกรสีชมพู กิ้งกือมังกรสีชมพู กิ้งกือมังกรสีชมพู