กศน.แจง "พิมรี่พาย" เข้าใจคลาดเคลื่อน ทั้งเรื่อง "ไฟ-ไข่เจียว-ปลูกผัก"
จากกรณี พิมรี่พาย หรือ พิมพ์พรรณ สรัลรัชญ์ แม่ค้าออนไลน์ ได้ออกไปช่วยเหลือน้องๆ ที่อยู่บนดอยสูง ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ด้วยการทุ่มเงินกว่า 5 แสนบาท ให้เด็กๆบนดอยได้มีไฟฟ้าใช้กัน ด้วยการนำแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นมาติดตั้ง ซื้อโทรทัศน์ จัดหาอุปกรณ์สร้างแปลงผัก และสิ่งของอุปโภคบริโภคต่างๆ ให้แก่เด็กๆ จนกระทั่งเกิดกระแสในโลกออนไลน์อย่างหนัก กลายเป็นประเด็นดราม่าเรื่องการเข้าไปช่วยเหลือเด็กจนนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างหลากหลายแง่มุม
อาจารย์ มช. จวก คนเมืองแค่อยากโปรดสัตว์ชนชั้นล่าง ไม่สนต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้น
พิมรี่พาย คือใคร เปิดประวัติยูทูปเบอร์สายห้าวแต่จิตใจมีแต่การให้
ส่องชีวิต พิมรี่พาย แม่ค้าออนไลน์สุดปังสู่นางฟ้าช่วยเหลือสังคมตัวจริง
ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊ก อรอานันท์ แสงมณี นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นบุคลากรที่ดูแลการส่งเสริมการศึกษาในถิ่นทุรกันดารโดยตรง ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า เนื่องจากมีกระแสในโลกออนไลน์จากยูทูปเบอร์ชื่อดังคนหนึ่ง และเราได้มีส่วนร่วมในการทำงานของ ศศช. ทำให้เกิดความไม่สบายใจ และมีข้อมูลบางอย่างที่คลาดเคลื่อน
จึงขออนุญาตใช้พื้นที่เล็กๆ แนะนำให้ทุกท่านรู้จัก ศศช.หรือศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา ”แม่ฟ้าหลวง” เป็นสถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ เป็นการจัดการศึกษาชุมชนที่ยึดชุมชนเป็นหลัก จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนทั้งชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ทั้งการศึกษาต่อ มีอาชีพ และพัฒนาอาชีพของตนเอง ให้สามารถดำรงชีวิตด้วยความสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและนำมาเป็นส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับชุมชน มามากกว่า 40 กว่าปี
มีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ดังนี้
1.เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3-6 ปี จัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก โภชนาการ และดูพัฒนาการเด็กจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.เด็กวัยเรียนที่ไม่ได้รับการศึกษา ในระบบโรงเรียน อายุ 7-14 ปี
กลุ่มนี้ ศศช.บางแห่งเป็นสถานศึกษาพื้นที่เป้าหมาย การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ดูแลทั่งด้านโภชนาการ สุขอนามัย วิชาการจริยธรรม ฯลฯ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
3.กลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่ อายุ 15 -59 ปี กลุ่มนี้จัดการศึกษาพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต การศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงทักษะฟังพูดอ่านเขียนภาษาไทยเพื่อสื่อสารและรับบริการ เช่น สถานพยาบาลเวลาเจ็บป่วยจะได้แจ้งอาการถูก เป็นต้น
4.ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป จัดกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน
ปกติครูทำหน้าที่สอนเด็กและประชาชนในชุมชน เป็นการจัดการศึกษาตามบริบทชุมชนและโครงการอื่นๆ ในพื้นที่จากหลายหน่วยงานโดยให้ ครู ศศช. เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการ (บาง ศศช.เป็น 10 โครงการก็มี)
และมักมีเครือข่ายมาให้การสนับสนุนอยู่บ่อยๆ
ทั้งเรื่องของ อาคารเรียน ศศช. ที่จะถูกสร้างการสนับสนุนจากผู้ที่สนใจ (แต่เดิมชาวบ้านในชุมชนเป็นคนสร้างอาคาร ศศช.) ข้าวของเครื่องใช้ อาหารและยารักษาโรคต่างๆ ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐตามพื้นฐานหรือจากผู้ให้การสนับสนุน
ด้วยพื้นที่ห่างไกล ระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าไปไม่ถึงในบางพื้นที่ใช้พลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ หรือน้ำ แต่อาจจะไม่ได้มีทั้งชุมชน
ภายใน ศศช. จะมีพลังงานทดแทนเหล่านี้สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนภายใน ศศช.
จากกระแสเรื่องราวของ ศศช.ที่ได้ถูกประชาสัมพันธ์และเผยแพร่อยู่ในขณะนี้ ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย หากท่านใดสนใจข้อมูลอยากให้การสนับสนุน ศศช. 808 แห่งในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา ลำพูน ลำปาง กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี พังงา สามารถติดต่อสำนักงาน กศน.จังหวัด ทั้ง 14 จังหวัด ที่ได้แจ้งไว้
ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ และยินดีอย่างยิ่งที่จะให้การสนับสนุน ศศช. นะคะ
Cr.ภาพประกอบจาก FB ศศช.บ้านแม่เกิบ
Pathasit Phasithphat & Boo NG
อยากอธิบายว่า
ประเด็นที่ 1 เด็กในพื้นที่ที่เขาไม่รู้จัก “ไข่เจียว” เนื่องจากเขาเรียกกันว่า “ทอดไข่”
ประเด็นที่ 2 ถ้าเด็กๆ ไม่รู้จักวิธีปลูกผัก เขาจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่มีผักรับประทาน
**และยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าคิด เช่น ในคลิปบอกว่าในหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ การศึกษาเข้าไม่ถึง แต่ในคลิปของยูทูปเบอร์ท่านนั้นที่ถ่ายตอนต้นคลิป(มุมสูง) ยังมีจานดาวเทียมตั้งตระง่านอยู่ในหมู่บ้านเลย คือ??
*** อยากให้ทุกท่านได้เข้าไปดูในเพจของ ศศช.บ้านแม่เกิบ จะช่วยอธิบายอะไรหลายๆ อย่าง เพื่อความเป็นกลางค่ะ ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ