เปิดประวัติของฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 จะช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้จริงเหรอ? Keep The World จะพาไปหาคำตอบ
รู้หรือไม่? ฉลากเบอร์ 5 อยู่กับเรามาแล้ว 30 ปี และรู้หรือยังว่าฉลากเบอร์ 5 เขาจะเปลี่ยนรูปแบบใหม่ พาไปรู้จักประวัติของฉลากเบอร์ 5 มั่นใจได้ไงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าของเราปลอดภัยและเป็นมิตรต่อโลก
เมื่อเมืองมีการพัฒนาขึ้นตามยุคสมัย สังคมมีการขยายตัว มนุษย์รู้จักกับไฟฟ้ามากขึ้น ก็ย่อมส่งผลให้เกิดอุปสงค์ของการใช้ไฟเพิ่มสูงขึ้นในสังคม
เพื่อรองรับความต้องการตรงนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. จึงจำเป็นที่จะต้องขยายแหล่งผลิตไฟฟ้า ที่ดูแลในเรื่องของการหาแหล่งผลิต การใช้เงินลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า และการนำเชื้อเพลิงมาใช้ และก็ต้องต่อสู้กับความผันผวนเรื่องพลังงานและเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย
ด้วยความเสี่ยงที่สูงแบบนี้ คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้ กฟผ. จัดทำภารกิจ การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management หรือ DSM) หรือการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2534 และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2536 ภายใต้โครงการชื่อ “ประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า” และนั่นก็กำเนิดให้มีฉลากประหยัดไฟฟ้า สีเหลืองคุ้นตาแบบนี้เกิดขึ้น
หน้าที่หลักของฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์5ไม่ได้แค่สิ่งประดับสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ฉลากทำหน้าที่เป็นเครื่องบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นี้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าใช้สินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงและมีราคาที่เหมาะสม และประหยัดพลังงาน รับรองมาตรฐานโดย กฟผ.
และ กฟผ. ก็รณรงค์ให้ผู้คนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีติดฉลากเบอร์ 5 มากขึ้น เพราะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากเบอร์ 5 คือผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ประหยัดไฟมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีฉลากได้หลายเท่า และให้ประชาชนได้รู้ว่า ยิ่งใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงานได้เท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยโลกได้มากขึ้นเท่านั้น
และในเดือนมกราคม 2567 ฉลากเบอร์ 5 จะเปลี่ยนรูปแบบใหม่แล้ว แต่ยังคงโทนสี เป็นสีเหลืองเขียวเหมือนเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการบริโภคสินค้าและบริการของคนรุ่นใหม่ ที่มีการใช้เลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พร้อมทั้งปรับภาพลักษณ์ของฉลากฯ ให้เหมาะสม เข้ากับยุคเทคโนโลยีดิจิทัล และสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับฉลากฯ และทุก Eco-system
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ในฉลากเบอร์ 5 รูปแบบใหม่แตกต่างจากเดิมยังไง?
ส่วนที่ยังคงเดิมคือ ข้อมูลประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฉลากฯ , ค่าไฟฟ้าต่อปี ใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบและประมาณค่าไฟฟ้า , ค่าประสิทธิภาพ ใช้ในการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกัน , ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทั้งยี่ห้อ ชื่อรุ่น ขนาดเพื่อให้สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้
แต่ส่วนที่แตกต่างไปจากเดิม
ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากเบอร์ 5 ไม่ได้มีแค่เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเดียว แต่ยังมีเสื้อผ้า ผ้า ชุดนักเรียน ข้าวกล้อง และผ้าม่านด้วย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีการติดฉลากเบอร์ 5 , เตรียมติดฉลากฯ รวมถึงขยายขอบข่ายผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 อย่าง เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ , โคมไฟถนน LED , แบตเตอรี่จักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบสับเปลี่ยนได้ , เครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า, หม้อแปลงไฟฟ้า , แผงเซลส์แสงอาทิตย์และอินเวอร์เตอร์
ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ กฟผ. ดำเนินการรณรงค์โครงการฯ มียอดการติดฉลากฯ จำนวนกว่า 460 ล้านดวง สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าสะสมกว่า 35,000 ล้านหน่วย และลดการปล่อยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 19 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ปัจจุบันยังคงเดินหน้ารับรองอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง หากใครทำธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วอยากได้รับการรับรองจากโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 แบบนี้ล่ะก็สามารถเข้าไปลงทะเบียน หรือติดตามข้อมูลข่าวสาร ได้เลยที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้ https://labelno5.egat.co.th/home/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง