รู้จัก Smart Grid ในแม่ฮ่องสอน เปลี่ยนพื้นที่ห่างไกลสู่เมืองท่องเที่ยวสีเขียว เมื่อเมืองมีปัญหาไฟตก ไฟดับบ่อย การมีไฟฟ้าเสถียรจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่กฟผ. ช่วยได้
แม่ฮ่องสอนถือเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย และขึ้นชื่อว่าอยู่เหนือสุด ก็จะมีปัญหาสุดในเรื่องของพลังงานไฟฟ้า
ปัญหานี้ไม่ได้เป็นเพราะระบบไฟฟ้าแรงสูงเข้าไม่ถึงเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะภัยธรรมชาติด้วย ด้วยความที่ภูมิประเทศของแม่ฮ่องสอนเป็นหุบเขา อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้
ดังนั้น เวลาเกิดพายุฝนตกรุนแรง ก็มักจะเกิดดินโคลนถล่มทำให้เสาไฟฟ้าล้มบ้าง ต้นไม้หักโค่นทับสายไฟขาดบ้าง ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบไฟฟ้าขัดข้อง จนแม่ฮ่องสอนขึ้นชื่อว่าเป็นจังหวัดที่ไฟตกไฟดับมากที่สุดของประเทศเลย
ภูมิประเทศของแม่ฮ่องสอนรายล้อมไปด้วยหุบเขาน้อยใหญ่ และเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 ที่ต้องสงวนรักษาเอาไว้ เพื่อให้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้ที่นี่มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงมายังที่นี่ได้
มีเพียงแค่ระบบส่งไฟฟ้าขนาดแรงดัน 115 กิโลโวลต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ส่งมาจากอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น เพราะที่นี่ไม่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ มีเพียงโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กที่กระจายอยู่ในพื้นที่เท่านั้น
เพื่อแก้ไขปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ หรือไฟตกไฟดับบ่อยในแม่ฮ่องสอน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ร่วมกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้นำเทคโนโลยี ที่เรียกว่าสมาร์ทกริดเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไป ภายใต้โครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โครงการนี้ผลิตไฟฟ้าและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ตลอดจนดูแลสังคมเมืองแม่ฮ่องสอนให้เป็นเมืองท่องเที่ยวสีเขียวด้วยพลังงานสะอาด ผ่านยุทธศาสตร์ 4 Smart คือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เจาะความสำเร็จ โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ความสำเร็จนำไทยสู่พลังงานสะอาด
และที่สำคัญตึกนี้กำลังได้รับการประเมินจากคณะกรรมการสถาบันอาคารสีเขียวทุกขั้นตอน เพื่อมุ่งหน้าสู่อาคารสีเขียวระดับ Gold เพราะเป็นตึกที่มีการจัดการขยะ มีระบบกรองอากาศ ใช้พลังงานสะอาด วัสดุในอาคารสามารถลดการใช้พลังงานได้มากถึง 52% เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีพื้นที่สีเขียวเปิดโล่งเชิงนิเวศน์ ที่เอื้อประโยชน์ผู้ใช้อาคาร เช่น ทางเดิน พื้นที่นั่งและสวน
ผลสำเร็จของโครงการนี้ ไม่เพียงทำให้ไฟฟ้าของเมืองแม่ฮ่องสอนมีความมั่นคงมากขึ้น แต่เมืองแม่ฮ่องสอนได้กลายเป็นต้นแบบเมืองท่องเที่ยวสีเขียว ที่มีทั้งรถบัส EV รับ-ส่ง อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน รวมทั้งมีสถานีชาร์จรถ EV ช่วยให้ประชาชนใช้ชีวิตสะดวกขึ้นในเรื่องของการเดินทาง
มีศูนย์การเรียนรู้ให้กับภาคประชาชนและนักท่องเที่ยวให้หาความรู้เรื่องพลังงานสะอาด เรียกได้ว่าเป็นโมเดลพัฒนาต่อยอดในด้านการแก้ปัญหาไฟฟ้าให้กับเมืองอื่น ๆ ได้ด้วยและยังถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในแผนการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดของ กฟผ. เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง