ไทยเราจะติดอันดับเรื่องแย่ ๆ แบบนี้บ่อย ๆ ไม่ได้นะ ล่าสุด กรุงเทพฯได้ที่ 2 เมืองที่มีรถติดมากที่สุดและผู้คนใช้ชีวิตบนถนนนานที่สุดในเอเชีย เปลี่ยนมาขึ้นรถไฟฟ้ากันเถอะ
ในแต่ละวันเราเสียเวลาไปกับรถติดมากแค่ไหนกันบ้าง เบื่อไหมที่ต้องมาใช้ชีวิตอยู่บนรถนาน ๆ กว่าจะถึงบ้าน INRIX เว็บไซต์วิเคราะห์ข้อมูลการจราจรและวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก
โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา กรุงเทพ คือเมืองที่ทำให้ผู้คนเสียเวลาบนท้องถนนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย โดยคิดเป็นเวลาเฉลี่ยมากถึง 67 ชั่วโมงต่อปีของผู้ขับขี่ 1 คน รองจาก เมืองอิสตันบลู ของตุรกี ซึ่งผู้คนต้องสูญเสียเวลาบนถนนไป 89 ชั่วโมง และอันดับ 1 ของโลกคือ ลอนดอน 156 ชั่วโมงต่อปี เวลาขนาดนี้เราเอาไปทำประโยชน์หรือกิจกรรมที่เราชอบได้เยอะเลย
สำหรับเวลาที่ต้องสูญเสียไปสามารถคิดเป็นต้นทุนได้ด้วย ด้วยการวิเคราะห์จากปัจจัยต่าง ๆ เช่นในเรื่องของความล่าช้าในการขนส่ง แรงกดดันจากเงินเฟ้อ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งยิ่งเราจอดรถนานบนถนนเท่าไหร่ เราก็ยิ่งปล่อยมลพิษมากขึ้นเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Citroen Ami รถยนต์ไฟฟ้าจิ๋ว แต่แจ๋ว แม้ใน TikTok จะโชว์พลิกคว่ำซะงั้น
Candela C-8 เรือไฟฟ้า "บินได้" ไร้เสียง นั่งได้ 8 คน แถมช่วยลดมลพิษได้ 99%
ระเบิดเวลา UN เตือน โลกมีเวลาไม่ถึง 10 ปี ก่อนเดินหน้าสู่หายนะสภาพอากาศ
ดังนั้นสิ่งที่จะแก้ไขเรื่องนี้ได้ คือระบบขนส่งสาธารณะที่พร้อมรองรับการใช้ขีวิตที่เร่งรีบแบบนี้ และจะต้องเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นไฟฟ้าจึงตอบโจทย์การจราจรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะภาคขนส่งของไทยมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 2 และปริมาณรถยนต์ในกรุงเทพฯเยอะเกินกว่าที่ถนนรองรับได้ถึง 4.4 เท่า
ด้วยเหตุนี้ BTS จึงชวนทุกคนมาร่วมกันตระหนักรู้กับ แคมเปญ Hop On BTS ด้วยการขึ้นป้ายบนสถานีและแปลงโฉมขบวนรถไฟฟ้าให้กลายเป็นพื้นที่สื่อสารสร้างการรับรู้ว่าหากขึ้นรถไฟฟ้าขบวนนี้ คุณจะกลายเป็นฮีโร่ที่สามารถช่วยลดฝุ่น PM2.5 ช่วยลดอัตรารถติดและช่วยลดโลกร้อนได้ เพราะการขึ้นรถไฟฟ้าจะทำให้คุณโร่ผู้ช่วยโลกไม่ให้ร้อนไปมากกว่านี้
เรือยอร์ชล่องหน เพกาซัส 88m สร้างจาก 3D Printing ลำแรกของโลก
นักวิทย์คิดค้น "แบตเตอรี่ธรรมชาติ" เปลี่ยนอากาศให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
รู้หรือไม่ว่า การใช้รถไฟฟ้าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจราจรได้ด้วย โดยบีทีเอสได้คำนวนมาให้แล้วค่ะว่า ตลอดระยะเวลาการให้บริการของบีทีเอส 23 ปี ผู้โดยสารทุกท่านมีส่วนช่วยในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้วกว่า 1.9 ล้านตัน เทียบเท่ากับการดูดซับคาร์บอนของต้นไม้ 200 ล้านต้นใน 1 ปี
เป็นเรื่องที่ดีที่รถไฟฟ้าชวนผู้โดยสารสร้างการรับรู้เรื่องผลกระทบของภาวะโลกร้อนและเชิญชวนให้ใช้รถไฟฟ้ากันเยอะ ๆ เพราะเชื่อเถอะว่า การเดินทางด้วยวิธีนี้ดีต่อสิ่งแวดล้อม ดีต่อโลก นอกจากนี้ บีทีเอสได้เตรียมกลยุทธ์รับมือ Climate Change แล้ว เพราะรู้ว่าจะต้องมาแน่ ๆ ด้วยการตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งจะทำการกำหนดสัดส่วนการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ของการดำเนินงานอีกด้วย