ยานยนต์ไฟฟ้ากำลังมาแรงในตลายานยนต์ทั่วโลก ว่าเป็นยานพาหนะที่รักษ์โลก แต่สงสัยไหมว่า ระหว่างรถ EV กับรถไฮบริด รถแบบไหนที่ทำร้ายโลกมากกว่า และแบบไหนกันที่รักษ์โลก?
ในวันที่ตลาดยานยนต์ไฟฟ้ารุกคืบเข้ามาหาการใช้ชิวตบนท้องถนนของผู้คนมากขึ้น ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ฟีเจอร์ ราคาและดีไซน์เป็นส่วนสำคัญของการตัดสินใจซื้อ
รถ EV ยังเป็นเทคโนโลยียานยนต์ที่ใหม่ในตลาดไทย กำลังปรับปรุงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นผลที่ตามมาคือความคุ้มค่าของการใช้งานและความทนทานของอะไหล่ภายใน
รถ EV หลายคัน ยังมีการเข้าศูนย์เพื่อซ่อมแซมบ่อยครั้ง จากความใหม่ของเทคโนโลยีที่ยังไม่เสถียรมากนัก แต่ก็ยังมีคนนิยมใช้งาน
กลับกัน รถยนต์ไฮบริดเป็นตัวเลือกอีก 1 ประเภทยานยนต์สำหรับผู้ที่ต้องการรถยนต์ EV ที่ยังสามารถใช้การเติมน้ำมันได้ด้วย กลัวว่าเวลาขับไประบบไฟฟ้าขัดข้องหรือแบตหมดเรายังสามารถเติมน้ำมันแทนได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จีนโชว์เจ๋ง! CRRC รถบรรทุกไฟฟ้า ชาร์จไฟขณะวิ่ง-เบรก ประหยัด 2 เท่าจากรถดีเซล
เยอรมนีลงนามข้อตกลง ปี 2035 จะต้องไม่มีรถยนต์ใช้น้ำมันวิ่งบนท้องถนน
นักวิทย์คิดค้น "แบตเตอรี่ธรรมชาติ" เปลี่ยนอากาศให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
แต่ในด้านของผลเสียด้านสิ่งแวดล้อมล่ะ สงสัยไหมว่ารถยนต์ไฟฟ้ากับรถยนต์ไฮบริด แบบไหนรักษ์โลกมากกว่ากัน
ทีมงานสปริงนิวส์ได้สัมภาษณ์คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยในการให้ความรู้ถึงประเด็นดังกล่าว ได้ความว่า
หากเทียบกันในเรื่องของการผลิตรถยนต์ของทั้ง 2 ประเภท จากการเก็บสถิติของ IEA ที่วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ผลิตจนหมดอายุการใช้งานของรถยนต์แต่ละประเภท ผลออกมาว่ารถยนต์ไฮบริดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 42 ตันคาร์บอน ส่วนรถยนต์ไฟฟ้า ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 20-22 ตันคาร์บอนเท่านั้น
นอกจากนี้ ในด้านของแหล่งพลังงานที่ใช้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน มีการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติมากขึ้นแล้วประมาณ 54% มีถ่านหินน้ำเข้าประมาณ 17% และส่วนของพลังงานน้ำ 2% พลังงานหมุนเวียน 11%
เรือยอร์ชล่องหน เพกาซัส 88m สร้างจาก 3D Printing ลำแรกของโลก
Citroen Ami รถยนต์ไฟฟ้าจิ๋ว แต่แจ๋ว แม้ใน TikTok จะโชว์พลิกคว่ำซะงั้น
และในอนาคต แผนพลังงานชาติของไทยกำลังมุ่งเป้าไปที่การใช้ Renewable energy หรือพลังงานหมุนเวียนให้ไม่น้อยกว่า 50% ด้วย ซึ่งก็หวังว่าเราจะมีพลังงานสีเขียวเพิ่มมากขึ้นในอนาคตนะคะ
ก็จริงอยู่ ที่รถ EV เป็นนวัตกรรมยานยนต์ใหม่ที่ดูใส่ใจต่อโลก แต่ครั้งนึงเคยถูกวิพาร์กวิจารณ์ด้วยว่ามันไม่ได้รักษ์โลกจริง โดยมีปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย คือ ในด้านของการผลิตแบตเตอรี่และการผลิตไฟฟ้า รถ EV มีองค์ประกอบสำคัญคือแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน ซึ่งในกระบวนการผลิตแบตเตอรี่นั้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาลไม่ต่างจากรถยนต์เติมน้ำมันทั่วไปเลย ซึ่งบางงานวิจัยเคยอ้างว่า รถยนต์ EV 1 คันสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 10,000 ตันคาร์บอน
นี่ยังไม่นับรวมกับพลังงานที่ยังมีการใช้พลังงานถ่านหินในการส่งต่อไฟฟ้าให้กับรถอีกนะคะ แต่ก็อย่างที่บอกไปว่าไทยกำลังลดการใช้พลังงานถ่านหินลง เพื่อหันไปหาพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
แต่สำหรับผู้เขียนสิ่งที่ช่วยได้ดีที่สุด คือการใช้ขนส่งสาธารณะไฟฟ้าค่ะ ซึ่งก็หวังว่า ระบบขนส่งสาธารณะบ้านเราจะปรับตัวสู่การใช้ไฟฟ้ามากขึ้นในเร็ววันเพื่อลดมลพิษในเมือง ลดการใช้แบตเตอรี่น้อยลงจากการลดการกระจายแบตเตอรี่สู่รถ EV ส่วนบุคคลค่ะ หรือเรียกง่ายๆว่า ทางเดียวกันไปด้วยกันนั่นเองค่ะ คุณล่ะคะเห็นอย่างไร