ลำแรกของโลก ของเรือยอร์ชที่สร้างจาก 3D Printing แล่นได้ไม่จำกัดระยะทางเพราะใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับไฮโดรเจนเป็นพลังงานหลัก ไม่ปล่อยมลพิษเป็นมิตรต่อระบบนิเวศแบบสุด
ล่องหนกลมกลืนไปกับก้อนเมฆเหนือน่านน้ำ นวัตกรรมล่องหนที่ไม่ใช่เพื่อการสงครามหรือเป็นกระจกทั่วไป แต่เป็นนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของระบบนิเวศทางธรรมชาติอย่างแท้จริง ของเรือซูเปอร์ยอร์ชเพกาซัส 88m ผลงานการออกแบบของ Jozeph Forakis ผู้ได้รับรางวัลการออกแบบระดับโลกหลังเปิดตัว CLX96
โจเซฟ ได้รับรางบันดาลใจในการสร้างเรือยอร์ชให้ใกล้ชิดกับทะเลและธรรมชาติให้มากที่สุด โดยเขาอยากออกแบบเรือให้คล้ายกับก้อนเมฆที่ลอยอยู่เหนือน้ำ จนแทบมองไม่ออกว่านี่คือเรือ แถมยังเป็นเรือที่ไม่ปล่อยมลพิษเลยเพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่เคยมีใครออกแบบในลักษณะอย่างนี้มาก่อน
เรือยอร์ชเพกาซัส 88m มีความยาวของลำเรือ 88 เมตร มีลักษณะโดดเด่นตั้งแต่การสร้างที่ใช้การพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) ในการประกอบเป็นโครงเรือขึ้นมา ผลลัพธ์คือเรือลำนี้ได้โครงสร้างที่แข็งแรงเป็นพิเศษและมีน้ำหนักที่เบามาก แถมยังสามารถก่อสร้างเรือโดยใช้พลังงาน วัสดุ ของเสีย พื้นที่ และเวลาน้อยลงเมื่อเทียบกับการก่อสร้างแบบเดิม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตัดไม้แต่ได้ป่า โมเดลป่ายั่งยืนของสวีเดน ส่งออกไม้เศรษฐกิจอันดับ 3 ของโลก
Candela C-8 เรือไฟฟ้า "บินได้" ไร้เสียง นั่งได้ 8 คน แถมช่วยลดมลพิษได้ 99%
Citroen Ami รถยนต์ไฟฟ้าจิ๋ว แต่แจ๋ว แม้ใน TikTok จะโชว์พลิกคว่ำซะงั้น
เรือลำนี้มีชั้นเรือนทั้งสิ้น 4 ชั้น ถูกคลุมชั้นเป็นลำดับขั้น ส่วนปีกทำมาจากกระจกสะท้อนผิวน้ำทะเลและสภาพแวดล้อมโดยรอบ เพื่อให้กลมกลืนไปกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยุ่รอบตัวเรือ ราวกับทำให้เรือหายไปกลางอากาศ หรือที่เราเรียกว่า เรือยอร์ชล่องหน
ส่วนคอนเซ็ปต์การออกแบบภายในของเรือลำนี้คือ Tree of Life มีต้นไม้ขนาดใหญ่ใจกลางเรือที่จะเพิ่มลมหายใจและชีวิตชีวาสีเขียวของธรรมชาติและเป็นศูนย์กลางของสวนไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเราสามารถปลูกผักและฟอกอากาศไปพร้อมกันได้ ฐานของต้นไม้จะโผล่ขึ้นมาจากสระน้ำสะท้อนแสงที่ชั้นล่างและล้อมรอบไปด้วยสวนเซนแบบไฮโดรโปนิกส์ พร้อมบันไดเวียนที่มีประติมากรรมทอดยาวลงมาตามต้นไม้ตั้งแต่ชั้นสี่
อาดิดาส เปิดตัวรองเท้าฟุตบอลจาก "ขยะพลาสติกในทะเล" สวยงาม รักษ์โลก
แผงโซลาร์เซลล์โปร่งใส ง่าย ไม่ต้องดัดแปลงหลังคาบ้าน อนาคตติดได้ทุกที่
ในด้านของพลังงานที่ใช้เดินเรือ เรือลำนี้จะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ และสามารเดินเรือได้เรื่อย ๆ ไม่จำกัดระยะการเดินทาง เนื่องจากพลังงานมาจากแสงอาทิตย์ของโซลาร์เซลล์ที่ถูกใช้เพื่อเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นไฮโดรเจนซึ่งสามารถเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานาน และเชื้อเพลิงก็สามารถเปลี่ยนน้ำให้เป็นไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนได้
ชั้นบนสุดของเรือ จะเป็นห้องชุดหลักที่หันด้านหน้าออกพร้อมระเบียงส่วนตัวขนาดใหญ่ มีสระว่ายน้ำทรงสี่เหลี่ยมสไตล์ตู้ปลาด้านหน้าพร้อมหน้าต่างแนวนอนขนาดใหญ่ที่เปลี่ยนเป็นระเบียงแบบเปิด
แต่ทั้งนี้เป็นเพียงแนวคิดการออกแบบเท่านั้นในตอนนี้ แต่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริงในปี 2030 บนชายหาดในเกาะ Koufonissi ประเทศกรีซ อันเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจให้กับโจเซฟ แต่ก็ได้รับความสนใจจนมีผู้สั่งจองล่วงหน้าแล้วด้วย เรียกได้ว่านวัตกรรมแห่งอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรงมาก ๆ เลยในปีนี้
ที่มาข้อมูล