การจุดธูปเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตามความเชื่อมานมนาม แต่ปัจจุบันกำลังส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ทำอย่างไรดีความเชื่อกับความยั่งยืนถึงจะไปพร้อมกันได้?
การกราบไหว้ทางศาสนาและเทศกาลในวัฒนธรรมเอเชีย การจุดธูปเพื่อเคารพบูชาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเป็นสิ่งที่คงอยู่กับมนุษย์มานานหลายร้อยปี ในอดีตสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลกยังคงสมบูรณ์มากกว่าในปัจจุบัน การจุดธูปกำยานเป็นความเชื่อที่ว่า กลิ่นหอมของธูปเทียนหรือกำยานจะสามารถเชื่อมศรัทธาระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักสิทธิ์ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เทศกาลตรุษจีน 2566 รักษ์โลก ลดธูป ลดประทัด ลดมลพิษ Keep The World ให้สุดหัวใจ
เปิด 9 วิธีลดมลพิษจาก "ควันธูป" ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ในช่วงวันตรุษจีน 2566
วันตรุษจีน 2566 อ.วิศวะ จุฬาฯ เตือนเสี่ยงเป็น "มะเร็ง" จากธูปเทียนไหว้เจ้า
"ธูปศิลปากรรังสรรค์" ธูปลดฝุ่น PM2.5 และมลพิษช่วงตรุษจีน ผลงาน ม.ศิลปากร
แต่ในปัจจุบัน สภาพอากาศทั่วโลกย่ำแย่ขึ้น สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมมากขึ้น เมืองมีความแออัด ประชากรเพิ่มจำนวน อีกทั้งสุขภาพของผู้คนก็อ่อนแอง่ายขึ้นทุกวัน การจุดูปเลยอาจยิ่งตอกย้ำสภาพอากาศและสุขภาพให้ย่ำแย่ขึ้นได้
การกราบไหว้บูชาด้วยธูปเป็นธรรมเนียมมายาวนาน ฝังรากลึกไปยังความเชื่อส่วนบุคคลส่วนใหญ่ในเอเชียอย่างเข้มแข็ง การเข้าไปบอกว่าธูปส่งผลเสียอย่างนั้น อย่างนี้ อาจทำให้หลายคนไม่พอใจสักเท่าไหร่ที่ความเชื่อของตนถูกครหาหรือถูกกล่าวหาว่าเป็นสิ่งไม่ดี
ดังนั้นจะเป็นไปได้ไหมที่ความเชื่อเรื่องการจุดธูปจะสามารถเดินทางเข้าสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ลดเพื่อสภาพอากาศที่ดี เพื่อสุขภาพที่ดี โดยที่เราไม่ต้องขัดแย้งกันเอง แต่เรียนรู้ไปด้วยกันด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่จริง Springnews ในคอลัมน์ Keep The World จึงพาไปคุยกับ รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าท้ายที่สุดแล้วทางออกสำหรับเรื่องนี้จะเป็นแบบไหนได้บ้าง การจุดธูปส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างไร? หาคำตอบพร้อมกันได้ที่ Keep The World