ชวนรักษ์โลก Keep The World ในช่วงเทศกาลตรุษจีน 2566 ด้วยการ ลดธูป ลดประทัด ลดเสี่ยง ลดมลพิษ จะได้รักษ์โลกกันมากขึ้น Keep The World ให้สุดหัวใจ
ตรุษจีน หรือ "ตรุษจีน 2566" ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยเชื้อสายจีน ในปีนี้ และยังเป็นการรวมญาติของวงศ์ตระกูลและเป็นเทศกาลแห่งการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษที่ปฏิบัติกันเรื่อยมา เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตและคนในครอบครัว ซึ่งในช่วงใกล้ถึงเทศกาลตรุษจีน
วันตรุษจีน 2566 วันไหว้ วันจ่าย วันเที่ยว ตรงกับวันไหนบ้าง?
-วันจ่าย ตรงกับ วันที่ 20 มกราคม 2566
-วันไหว้ ตรงกับ วันที่ 21 มกราคม 2566
- วันเที่ยว วันตรุษจีน ตรงกับ วันที่ 22 มกราคม 2566
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะตามมากับเทศกาลตุรษจีน ก็คือ การจุดธูป จุดประทัด และเผากระดาษเงิน-กระดาษทองในช่วง ตรุษจีน คนส่วนใหญ่มักมองข้ามอันตรายจากควันและสารมลพิษที่ปล่อยออกมา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ มันได้สร้างมลพิษ สร้างแผลให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย โดยในการจุดธูป จุดประทัด การเผากระดาษ แต่ละครั้งนั้น คนส่วนใหญ่มักมองข้ามอันตรายจากควันธูปจากสารมลพิษที่ปล่อยออกมา ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ รวมถึงสารก่อมะเร็ง เมื่อสูดดมเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ธูปศิลปากรรังสรรค์" ธูปลดฝุ่น PM2.5 และมลพิษช่วงตรุษจีน ผลงาน ม.ศิลปากร
วิธีช่วยลดฝุ่น PM 2.5 รักษ์โลก Keep The World ช่วยลดความเสี่ยง มะเร็งปอด
ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่หลงเหลือจากการเผา อย่าง ขี้เถ้าที่เหลือจากการจุดธูป ก็ยังมีสารโลหะหนัก ได้แก่ โครเมียม นิกเกิล ตะกั่ว แมงกานีส ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้สารโลหะหนักเหล่านี้ตกค้าง ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของคนและสัตว์ได้
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้ธูปจึงต้องป้องกันตนเอง รวมถึง หาทางออกเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เป็นการรักษ์โลก Keep The World อาทิ
ลดธูป ลดประทัด ลดเสี่ยง ลดมลพิษ
หากมีการใช้ธูป ประทัด สำหรับเทศกาลตรุษจีน 2566 ก็อาจจะเลือก ผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาเป็นแนวทางรักษ์โลก อาทิ ธูปรักษ์โลก ธูปที่ทำจากซังข้าวโพด เพราะ เมื่อก่อนซังข้าวโพดเป็นขยะจากอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ การใช้เป็นอาหารก็ถือเป็นการสกรีนสารพิษมาแล้วรอบหนึ่ง นอกจากนี้ซังข้าวโพดก็มีน้ำหนักเบา ความหนาแน่นต่ำ ทำให้ควันน้อยอีกเช่นกัน
ในการบูชาในวัฒนธรรมจีน มี 6 วิธี คือ 1.บูชาด้วยเครื่องหอม ธูป น้ำมันหอม กำยาน 2.บูชาด้วยแสงสว่าง 3. บูชาด้วยอาหารคือผลไม้หรือขนม 4. บูชาด้วยน้ำ 5. บูชาด้วยเสียงคือดนตรี และ 6. บูชาด้วยการปฏิบัติ เช่น การสวดมนต์ หรือการเดินธูป ในช่วงหลังศาลเจ้ามีการปรับตัว พยายามให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นหลายๆคนที่รักษ์สิ่งแวดล้อม มีหัวใจ Keep The World ก็เริ่มทำพฤติการณ์เหล่านี้แล้วในเทศกาลตรุษจีน 2566 ด้วยการลดปริมาณธูปและกระถางธูปลง ให้เหลือเท่าที่จำเป็น ถ้าต้องจุดธูปจะจุดในที่โล่งแจ้ง
ทั้งนี้ ความเป็นจริงแล้ว ธูป มาจากคำว่า เฮียง แปลว่ากลิ่นหอม การจุดธูปไม่จำเป็นต้องใช้ธูปเยอะ (จุดน้อยก็สร้างมลพิษทางอากาศน้อย) เพราะไม่ได้มีการกำหนดจำนวนธูปว่าบูชาเทพองค์ใดต้องใช้ธูปกี่ดอก การกำหนดจำนวนธูปทุกวันนี้เป็นการตีความโดยคนรุ่นหลังว่าต้องจุดเท่านั้นเท่านี้ ประเด็นไม่ใช่เรื่องจำนวน ถ้าทุกคนเข้าใจหลักของบูชาด้วยกลิ่น คือบูชาด้วยของที่มีกลิ่นหอมไม่ต้องเป็นธูปเสมอไป วัดจีนในกวางตุ้ง ให้ธูปในการเข้าไปบูชา แต่ไม่ต้องจุด จะจุดต่อเมื่อจำเป็น และต้องไปจุดในที่โล่งกลางแจ้งห่างจากศาลเจ้า
ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องจุดธูป ก็ ใช้ธูปขนาดสั้นแทนธูปขนาดยาว เพื่อให้เกิดควันน้อยกว่า
ส่วนการเผากระดาษเงินกระดาษทองนั้น เป็นเรื่องความพอใจของผู้ให้ กระดาษเงินกระดาษทองมีการใช้งานได้หลายแบบไม่ใช่มีไว้เผาอย่างเดียว สามารถใช้ในการตกแต่ง การแสดงออกถึงงานศิลปะ ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองไม่จำเป็นต้องใช้เยอะ แต่บ้านเราหลังๆ กลายเป็นเยอะ ดังนั้น หากจะไม่สร้างมลพิษ เรื่องนี้มีทางออกคือ ใช้แต่พอดี และ เอานำมาประดิษฐ์ตกแต่งในตรุษจีนได้ ไม่จำเป็นต้องเผา
อีกหนึ่ง สิ่งที่จะสร้างช่วยโลกและ keep The World ได้ คือ เลิกจุดธูปในบ้านเปลี่ยนไปใช้ธูปไฟฟ้าแทน ถ้าจำเป็นต้องใช้ธูปดอกเล็ก ไม่ใช้ธูปจำนวนมาก จุดในที่โล่ง ไม่จุดในบ้าน ถ้าไปไหว้ที่ศาลอาจใช้วิธีเดินธูปคือเดินถือธูปเวียนศาลแทนการจุด ที่ผ่านมาคนจีนมองว่ากลิ่นธูปควันเทียนเป็นการแสดงถึงความรุ่งเรืองของศาลหรือวัด ความจริงแล้วเนื้อแท้ของการบูชาไม่ได้อยู่ที่จำนวนธูป
ดังนั้น เพื่อให้ ตรุษจีน 2566 เป็นเทศกาลแห่งการเริ่มต้นวันขึ้นปีใหม่จีนที่ดีและปลอดภัย นอกจากการปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลต่อชีวิตแล้ว ก็ควรป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการใช้ธูปและประทัด ด้วยการ “ลดธูป ลดประทัด ลดเสี่ยงในเทศกาลตรุษจีน เพื่อให้ เรากลายเป็นคนคนหนึ่งที่รักษ์โลก รักสิ่งแวดล้อม ด้วย
ที่มา กรมอนามัย