svasdssvasds

ส่องดีเทล 4 นวัตกรรมใหม่ สนับสนุนคนไทยใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะดวกขึ้น โดย กฟผ.

ส่องดีเทล 4 นวัตกรรมใหม่ สนับสนุนคนไทยใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะดวกขึ้น โดย กฟผ.

สถานีอัดประจุไฟฟ้ามีที่ไหนบ้าง? อยากวางแผนการเดินทางง่าย ๆ ทำยังไงดี นี่เลย! กฟผ. มี 4 นวัตกรรมใหม่ด้านยานยนต์ไฟฟ้ามานำเสนอ ที่จะยกระดับคนไทยเข้าถึงยานยนต์ไฟฟ้าง่ายขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้เลยจริง ๆ ว่าประแสตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นมาแรง และกำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด อีกทั้งยังเป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อโลกและสิ่งแวดล้อมที่หลายประเทศกำลังมองหาและเดินหน้าสนับสนุนกันอย่างเต็มกำลัง แต่เนื่องจากยังคงเป็นนวัตกรรมใหม่ด้านยานยนต์ สิ่งที่จะทำให้คนไทยมีประสบการณ์กับตลาดยานยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น

กฟผ. ในฐานะผู้นำด้านการผลิตไฟฟ้าจึงเข้ามาช่วยสนับสนุน ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางให้คนไทยใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าได้สะดวกยิ่งขึ้น และเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของโลกด้วย

Keep The World จึงอยากชวนไปเจาะธุรกิจ EGAT EV Business Solutions ของกฟผ. ว่ากฟฝ. จะสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยอย่างไร ให้คนไทยเข้าถึงตลาดนี้ได้ง่ายขึ้น ไปดูกัน

จากคลิปวิดีโอ เราลองมาเจาะรายละเอียดแต่ละผลิตภัณฑ์กันดีกว่า ว่า 4 ผลิตภัณฑ์และบริการดังกล่าว ทำงานยังไง มีที่ไหน อยากใช้ต้องทำอย่างไรบ้าง?

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถานีอัดประจุไฟฟ้า “EleX by EGAT”

สิ่งที่คนไทยผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอยู่ในปัจจุบันถามหากันมากที่สุด คนเป็นสถานีชาร์จแบตเตอรี่ยานยนต์ ที่ตอนนี้หลายคนยังบ่นว่า สถานียังมีน้อยมากในประเทศไทย แถมยังใช้เวลาชาร์จนานด้วย กฟผ. จึงได้พัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าใหม่ที่จะสามารถชาร์จไฟได้รวดเร็วขึ้น ปลอดภัย มั่นใจ และรองรับการเดินทางของผู้ใช้ยานยนต์ทั่วประเทศ

ซึ่งตอนนี้ได้ทำการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT แล้วตามเส้นทางการเดินทางหลักทั่วประเทศ แต่มีแผนขยายสถานีเพิ่มแน่นอน เพื่อสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งกฟผ. ได้ร่วมกับสถานีบริการน้ำมัน PT และพันธมิตรในการติดตั้งสถานีชาร์จในการเลือกพื้นที่ที่ตอบโจทย์การใช้งานและตรงตามต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด

สถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT มีที่ไหนบ้าง?

ซึ่งสถานีชาร์จจะติดตั้งตามเส้นทางสำคัญตั้งแต่เหนือสุด จ.เชียงใหม่ ภาคอีสานไกลสุดจะไปถึง จ.อุดรธานี และ จ.อุบลราชธานี ภาคตะวันออกไกลสุดจะไปที่ จ. จันทบุรี และ ภาคใต้สุดจะไปถึง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

อัตราค่าบริการ

ตอนนี้จะอยู่ใกล้เคียงกับราคาตลาด คือ 6-8 บาทต่อหน่วย หรือ 1.30 บาทต่อกิโลเมตร

กำลังไฟฟ้าที่ได้

สถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้มากถึง 120 kw แต่ยังสามารถต่อยอดพัฒนาได้มากกว่านี้ โดยตั้งเป้าพัมนาเพิ่มประจุถึง 350 kw พร้อมกับมีแรงดันสูง 920 VDC กล่าวคือ หากชาร์จแบบกระแสตรง DC จากแบตเตอรี่หมดเกลี้ยงจนเต็ม 100% จะใช้เวลาแค่ 20 นาทีเท่านั้น

ตอนนี้ กฟผ. ได้เปิดให้บริษัทเอกชนที่ต้องการทำธุรกิจสถานีชาร์จเพิ่มมากขึ้นแล้ว ซึ่งปัจจุบันจะมีกลุ่มธุรกิจ โรงพยาบาล, สถานีบริการน้ำมัน, ร้านอาหาร เข้าร่วมเป็นพันธมิตร เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ, ร้านอาหาร Mid Winter เขาใหญ่ เพราะเชื่อว่า ในอนาคต สถานีชาร์จจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อทุกภาคส่วนธุรกิจและคนไทยในอนาคตแน่นอน

และในอนาคตอันใกล้ ก็จะมีกลุ่มธุรกิจขนส่งจนถึง Food Delivery เปลี่ยนมาใช้รถพลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น รถบรรทุก, มอเตอร์ไซค์, รถยนต์ โดย กฟผ. ก็ได้เตรียมโมเดลธุรกิจไว้รองรับ

ในอนาคต ทุกยานยนต์บนโลกมีแนวโน้มจะถูกเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น แอปพลิเคชัน “EleXA”

นอกจากจะมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าแล้ว เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้สะดวกขึ้น กฟผ. จึงได้ออกแบบตัวแอปพลิเคชัน “EleXA” ที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหา จอง ชาร์จ เช็คสถานะ และจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ ทำให้เรื่องการเข้าถึงยานยนต์ไฟฟ้าง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

แอปพลิเคชัน EleXA วางแผนการเดินทางและเช็กสถานีชาร์จได้ทั่วไทย ได้ทุกแบรนด์

กฟผ. มุ่งมั่นพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ให้เชื่อมโยง ทั้งลูกค้า ร้านค้า ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการต่างๆ ที่อยู่ใกล้สถานีของ กฟผ. เพื่อเป็นประโยชน์กับทุกกลุ่ม และยกระดับคุณภาพชีวิตของทั้งเครือข่ายไปพร้อมกับการเติบโตของอุตสาหกรรม EV

EleXA สามารถวางแผนการเดินทางของผู้ใช้งานได้ด้วย

สำหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจะรู้ดี ว่าหากเริ่มเดินทางเมื่อไหร่ จะต้องมีการวางแผนการเดินทางแน่ ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุฉุกเฉินเช่น แบตเตอรี่หมดระหว่างทาง แต่ที่ผ่านมา ผุ้ใช้ประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น ในแต่ละสถานีที่ให้บริการน้ำมันมีสถานีชาร์จจากหลากหลายแบรนด์ที่ให้บริการ จึงทำให้ต้องโหลดแอปพลิเคชันหลายตัว เพื่อให้สามารถเข้าถึงสถานีชาร์จนั้น ๆ ได้

แต่สำหรับ EleXA เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ทำการรวบรวมสถานีชาร์จจากทุกแบรนด์มารวมไว้ให้ในแอปพลิเคชันเดียว เพื่อให้ผู้ใช้งานไม่ต้องโหลดหลายแอปพลิเคชันให้สับสน อีกทั้ง ยังสามารถใช้แอปพลิเคชันในการวางแผนการเดินทางได้ เพียงแค่เลือกเส้นทางว่าจะเดินทางไปที่ไหน แอปพลิเคชันจะขึ้นแสดงแผนที่ พร้อมจุดแสดงสถานที่ตั้งสถานีชาร์จให้กับผู้ใช้งาน ให้สามารถวางแผนการเดินทางได้ง่าย ๆ ด้วย

เครื่องอัดประจุไฟฟ้า โดย “EGAT Wallbox”

นอกเหนือจากสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือสถานีชาร์จที่จะมีติดตั้งในสถานีบริการน้ำมันแล้ว ผู้ใช้งานก็มีความต้องการที่จะติดตั้งเครื่องชาร์จในบ้านของตนเองด้วย และแน่นอนว่า ความต้องการนี้มีนวัตกรรมรองรับแล้ว แต่ที่พิเศษยิ่งกว่าคือ กฟผ. ได้ออกแบบเครื่องอัดประจุไฟฟ้ายานยนต์ EV ขนาดเล็ก ดีไซน์เรียบหรู ที่จะตอบโจทย์สำหรับผู้ที่มีความประสงค์อยากมีติดบ้านไว้สักเครื่อง นั่นคือ EGAT Wallbox

โดย EGAT Wallbox นี้ กฟผ. ได้รับสิทธิ์จำหน่ายรายเดียวในประเทศไทย รวมถึงรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลให้บริการติดตั้งและบำรุงรักษา จึงเหมาะแก่การติดตั้งในบ้านเรือน และให้บริการกับลูกค้าในโรงแรม ห้างสรรพสินค้า คอนโดมิเนียม สนามกอล์ฟที่มีระยะเวลาในการจอดรถชาร์จไฟฟ้าได้นานกว่าในสถานีบริการน้ำมัน

EGAT Wallbox

ราคาเท่าไหร่?

EGAT Wallbox แม้เครื่องจะเล็กนิดเดียว แต่คุณภาพคับแก้วมาก ๆ ซึ่งราคามีหลากหลายตามฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป มีตั้งแต่ราคา 53,000-250,000 บาท ซึ่งหนึ่งเครื่องใช้งานได้หลายปีกับราคาเท่านี้ถือว่าคุ้มค่ามากนะ แถมมีการบริการคอยตรวจเช็กดูแลให้ตลอดด้วย

ระบบบริหารจัดการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ Backend EGAT Network Operator Platform (BackEN)

ระบบนี้จะเป็นระบบหลังบ้านที่จะเชื่อมโยงระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งระบบผลิตและส่งไฟฟ้า สถานีอัดประจุไฟฟ้า ยานยนต์ไฟฟ้า และผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการในภาพรวมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีเสถียรภาพ และมั่นคง ด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้มาตรฐานและระบบวิเคราะห์ทางเทคนิคที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชม.

BackEN เหมาะกับองค์กร ร้านค้า หรือผุ้ประกอบการที่มีความต้องการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าบ้าง เพื่อให้เป็นจุดบริการให้กับผู้เดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งยังเป็นการดึงผู้คนให้เข้าใช้บริการที่จะพ่วงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการที่มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าด้วย

กฟผ. ในฐานะผู้นำด้านการผลิตไฟฟ้า ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของตลาดยานยต์ไฟฟ้าที่กำลังเติบโตนี้ และเพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงตลาดได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นวัตกรรมทั้ง 4 ของกฟผ. ได้แก่ สถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT, Mobile Application Platform EleXA, เครื่องอัดประจุไฟฟ้า โดย “EGAT Wallbox”และระบบบริหารจัดการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ Backend EGAT Network Operator Platform (BackEN)

นวัตกรรมเหล่านี้จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาสนับสนุนและทลายกำแพงปัญหาที่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าต้องพบเจอ โดยเฉพาะในด้านของการให้บริการการชาร์จไฟฟ้าสู่ยานยนต์ EV ที่ในอนาคต จะก่อกำเนิดยานยนต์ไฟฟ้าที่นอกเหนือแค่รถยนต์อีกมาก อาทิ รถบรรทุก, มอเตอร์ไซค์ และอื่น ๆ

และแน่นอน ปลายทางของการเกิดขึ้นของยานยนต์ไฟฟ้านั้น มีความคาดหวังในเรื่องของสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ที่ประเทศไทยกำลังก้าวขึ้นไป สิ่งที่เราต้องผลักดันกันอย่างจริงจังคือนวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้คนในสังคมและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ส่องดีเทล 4 นวัตกรรมใหม่ สนับสนุนคนไทยใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะดวกขึ้น โดย กฟผ.

อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบัน ยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเป็นพลังงานขับเคลื่อนนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศ อันส่งผลต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change การเปลี่ยนผ่านจากยานยนต์สันดาปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญ ในการนำประเทศและโลกสู่ความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

หากสนใจอยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อได้ที่ Line :@egatWallbox Facebook : EGAT+Wallbox  หรือสามารถติดต่อโดยตรงได้ที่อีเมล [email protected]  โทร. 093 026 8446

related