svasdssvasds

ชวนรู้จัก "ตุ๊ก" เต่าทะเลผู้รอดชีวิต จากการมีขยะพลาสติกในท้องกว่า 285 ชิ้น

ชวนรู้จัก "ตุ๊ก" เต่าทะเลผู้รอดชีวิต จากการมีขยะพลาสติกในท้องกว่า 285 ชิ้น

ปัญหาขยะในทะเล ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตตัวจ้อย โดยเฉพาะเจ้า "ตุ๊ก" เต่าตนุที่มาเกยตื้นที่หาดประเทศไทย ที่รอดชีวิตมาได้ แม้จะมีขยะพลาสติกในท้องถึงมากถึง 285 ชิ้น

ประเทศไทยติดอันดับ 5 ของประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุด ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้เผยว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเภทขยะพลาสติกที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในทะเลไทยคือ ‘ถุงพลาสติก’ จำนวนกว่า 596,731 ชิ้น ซึ่งถ้าหากนำมาวางเรียงต่อกันก็จะมีขนาดเทียบเท่ากับสนามฟุตบอล 20 สนาม

ขยะพลาสติก เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลมาเนิ่นนาน จนกระทั่งปัจจุบันเราก็ยังคงต้องพูดถึงปัญหานี้กันอยู่เสมอ เพราะว่าขยะพลาสติกในทะเลมีเยอะมาก ๆ และก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลงเลย แถมยังเพิ่มมากขึ้นอีกต่างหาก สปริงนิวส์ ในคอลัมน์ Keep The World จึงอยากพาคุณผู้อ่านและผู้ชมไปรู้จักกับสิ่งมีชีวิตน้อย ๆ ชีวิตหนึ่ง ที่ได้ผ่านช่วงเวลาแห่งความเลวร้ายที่สุดไปได้ จาก ‘ขยะพลาสติก’ สัตว์ประหลาดมฤตยูแห่งท้องทะเล

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เรื่องราวของ เจ้า ‘ตุ๊ก’ เต่าตนุตัวจ้อย ที่รอดชีวิตจากปีศาจขยะพลาสติกมาได้

"ตุ๊ก" เป็นเต่าตนุตัวเล็กที่มีคนไปพบเกยตื้นบนน่านน้ำทะเลไทย และยังมีชีวิตอยู่ แต่เรื่องราวของมันน่าเศร้ามาก เพราะหลังจากที่รอดชีวิตจากการเกยตื้นมาได้ แพทย์ก็ได้ดูแลรักษาอย่างดี แต่ก็ต้องพบกับความจริงที่ว่า ในท้องของมันไม่ได้เต็มไปด้วยอาหารแต่กลับเต็มไปด้วยขยะพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ อยู่เต็มไปหมด โดยนับแยกย่อยออกมาได้ทั้งสิ้น 285 ชิ้น

เจ้าตุ๊ก เต่าตนุตัวน้อยของเรา แพทย์ผู้ดูแล ได้กล่าวว่า เต่า หรือสัตว์น้ำต่าง ๆ ไม่ว่าตัวไหนหรือชนิดไหนก็ตาม พวกเขาไม่รู้หรือไม่สามารถทำความเข้าใจได้ว่า สิ่งที่ลอยอยู่ในบริเวณบ้านของพวกมันนั้นใช่อาหารหรือไม่ เพราะมักคิดว่า พื้นที่หากิน ก็ต้องมีแต่ของที่กินได้ แต่กลับกัน น่านน้ำทุกวันนี้กลับเต็มไปด้วยขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ทุกน่านน้ำทั่วโลก จึงเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะถูกสัตว์เหล่านี้เขมือบเข้าไป เพราะความไม่รู้

ในแต่ละปี เต่าทะเล ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกในทะเล เพิ่มขึ้นคิดเป็น 30% โดยสามารถจำแนกผลกระทบได้ 2 รูปแบบคือ การได้รับผลกระทบจากการกินและการพันรัดภายนอก ซึ่งนอกจากขยะพลาสติกยังเป็นปัญหาที่สัตวือาจกินเข้าไปแล้ว ขยะพลาสติกยังสามารถเป็นปัญหาโดยไปพัวพัน หรือพันรัดรอบตัวสัตว์จนไม่สามารถเคลื่อนไหว ระยางเสียหายหรือ เกิดการบาดเจ็บตามร่างกาย จนไม่สามารถหาอาหารได้และตายลงในที่สุด

ขยะทะเลเหล่านี้มาจากไหนบ้าง?

80% เป็นขยะที่มาจากบนบก ส่วนอีก 20% มาจากทะเล ส่วนที่มาจากบนบกก็เช่น ไมโครบีสต์จากเครื่องสำอาง เศษใยผ้าจากการซักผ้า ขยะในเมืองใหญ่แบบนี้ที่ทิ้งขยะลงพื้นโดยตรงหรือล้นมาจากถังขยะ ขยะจากหลุมฝังกลบ ส่วนที่พบมาจากทะเลก็เช่น เศษซากอวนประมงที่ขาด ขยะที่ตกจากเรือ หรือจากพวกมือบอนที่ชอบทิ้งขยะลงทะเลโดยตรง

ขยะพลาสติกที่พบในท้องเจ้าตุ๊ก นอกจากนี้ มีการคาดการณ์อีกว่า ในปี 2593 ขยะพลาสติกในทะเลอาจมีปริมาณมากกว่าปลาในทะเล หากไม่เริ่มแก้ไขปัญหาหรือเริ่มจัดการเรื่องขยะกันอย่างจริงจัง สิ่งที่จะสามารถช่วยพวกมันได้ตอนนี้ก็คือ การจัดการขยะอย่างเป็นระบบ การแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ใช้พลาสติกเท่าที่จำเป็น พยายามหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used) และพกถุงผ้าหรือแก้วน้ำกับหลอดที่ใช้งานได้หลายครั้งติดตัวไปด้วยเสมอ แต่ต้องใช้ให้คุ้มค่า ใช้ซ้ำบ่อย ๆ ไม่ซื้อบ่อยด้วยนะ

related