ฤดูหนาวมาแล้ว มาพร้อมฤดูฝุ่น PM 2.5 เลย ซึ่งทำให้สุขภาพของคนไทย โดยเฉพาะคนกรุงย่ำแย่ขึ้นได้ง่าย ๆ เพื่อป้องกันภัยฝุ่นเหล่านี้ กทม.จะมีแผนรับมืออย่างไร?
ฤดูหนาวของปีเดินทางมาถึงพี่น้องชาวไทยแล้ว แต่นอกจากอากาศหนาว จนทำให้เราเจ็บป่วยไข้ได้ง่าย มันยังถูกทับซ้อนไปด้วยฤดูประหลาดอีก 1 ฤดู ที่ไม่ใช่ฤดูของอากาศแต่เป็นฤดูของฝุ่น PM 2.5 ซึ่งจะเข้ามาซ้ำเติมสุขภาพของคนไทยให้เปราะบางมากยิ่งขึ้น นอกจากจะต้องระวังเรื่องสุขภาพจากอากาสที่เย็นลงแล้ว ยังต้องระวังเรื่องของความอันตรายของฝุ่น
ชีวิตคนกรุงฯ นอกจากจะต้องเผชิญกับมลภาวะทางอากาศจากการเดินทาง รถติดก็อึดอักมากพออยู่แล้ว แถมราคาค่าใช้จ่ายในแต่ละวันก็สูง เมื่อฤดูหนาวมาถึงก็ได้นำพาฝุ่นมาด้วยอีก เพื่อป้องกันและรักษาสุขภาพของคนกรุงฯ ทางกทม. จะมีวิธีการรับมือกับฤดูแห่งฝุ่นนี้อย่างไร Keep The World จะเล่าให้ฟัง
นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. และ นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาประกาศถึงแผนรับมือฝุ่น PM 2.5 ที่จะเกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าจะใช้ 3 มาตรการหลักในการดูแลและควบคุมการฟุ้งกระจายของฝุ่น นั่นคือ การเฝ้าระวัง (Monitor), กำจัดต้นตอ (Reduce) และ ป้องกันสุขภาพ (Protect)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรุงเทพมหานคร ค่า PM2.5 เพิ่มขึ้น มี 19 พื้นที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน
มจธ. นำเสนอ 2 ผลงานวิจัย แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ
“หมอธีระ” เผยผลวิจัย พบว่า ฝุ่น PM2.5 เพิ่มโอกาสติดเชื้อโควิด-19
ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ต่อไปอาจรุนแรง
วิธีช่วยลดฝุ่น PM 2.5 รักษ์โลก Keep The World ช่วยลดความเสี่ยง มะเร็งปอด
ด้านของการเฝ้าระวัง (Monitor)
จะให้เจ้าหน้าที่คอยเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและปริมาณฝุ่น PM 2.5 ด้วยการใช้เทคโนโลยี อาทิ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศ คอยรายงานสภาพอากาศและปริมาณฝุ่นผ่าน Line Alert ที่จะส่งไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชน หรือการเช็กด้วยตนเองผ่าน Air BKK และการได้รับความร่วมมือจากประชาชนให้ช่วยเฝ้าระวังและร่วมรายงานผ่าน Traffy Fondue เป็นต้น
รวมถึงประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเรื่องการเฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 ได้ที่หน้าเพจเฟซบุ๊กของ กรุงเทพมหานคร ได้เลย
ด้านของการกำจัดต้นตอ (Reduce)
เพื่อควบคุมต้นตอของจุดกำเนิดฝุ่น PM 2.5 กทม.จะเข้าไปควบคุมตั้งต้นทาง อาทิ ในด้านของการจราจร ก็จะมีการตรวจรถยนต์ 14 จุดต่อวันทั่วกทม. ตรวจรถบรรทุก รถโดยสาร 2 วันต่อสัปดาห์ และตรวจแพลนท์ปูนหรือไซต์ก่อสร้าง 91 แห่ง รวมถึงรถโดยสารประจำทางและไม่ประจำทางที่ใช้งานมาหลายปีด้วย
หรือในด้านของโรงงานและสถานประกอบการ จะมีการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 1,222 แห่ง และโรงงาน 260 แห่งที่เป็นต้นตอของการปล่อยฝุ่นควันสู่ชั้นบรรยากาศ
อีกทั้ง ฝุ่นควันเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากการสะสมควันเผาไหม้จากภาคการเกษตรด้วย ดังนั้น แม้กทม.จะมีการทำการเกษตรไม่เยอะ แต่ก็จะต้องควบคุมต้นกำเนิดนี้ด้วย ด้วยการเฝ้าระวังและคอยสำรวจจุดความร้อน (Hotspot) รวมถึงการให้ความรู้แก่ชาวนา เช่น การนำฟางข้าวออกจานา ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าว สนับสนุนเชื้อเพลิงที่ใช้ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีประสิทธิภาพ โรงเก็บฟางข้าวอัดก้อนและสนับสนุเครื่องอัดฟาง รถแทรกเตอร์ เป็นต้น
ด้านการป้องกันสุขภาพ (Protect)
โดยพื้นฐาน กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพมากที่สุดคือเด็ก ผู้อ่อนไหวต่อสภาพอากาศ และผู้สูงอายุ ดังนั้น กทม.จึงจะมีมาตรการในการรองรับและการป้องกันกลุ่มคนเปราะบางเหล่านี้ด้วย เช่น เด็ก จะมีการป้องกันด้วยการแจ้งเตือนที่จะแจ้งความเข้มข้นของค่าฝุ่นผ่านสีธง ที่จะแจกไปตามโรงเรียนในเขตของกรุงเทพมหานคร
เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ พร้อมให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ค่าสีที่บ่งบอกความรุนแรงของฝุ่นในแต่ละวัน ถ้าเขตนั้นมีค่าฝุ่นเป็นสีอะไรให้ปักธงตามสีเตือนค่าฝุ่นนั้น ๆ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ให้กับนักเรียนด้วย
อีกทั้งสำหรับผู้สูงอายุและผู้อ่อนไหวต่อสภาพอากาศ โดยเฉพาะคนป่วย ก็จะมีการแจ้งเตือนเช่นเดียวกับโรงเรียน คือธงสี ที่แสดงค่าสีฝุ่นในแต่ละวัน สำหรับผู้ป่วยที่เดินทางไปโรงพยาบาลให้ระวังสุขภาพด้วย
ดังนั้น ฤดูฝุ่นปีนี้อย่าลืมดูแลสุขภาพให้ดี แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อต่อสู่กับภัยสภาพอากาศที่อาจรุนแรงขึ้นและเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วย