Keep The World ชวนร่วมแคมเปญ หยุดเท หยุดทิ้ง หยุดโลกร้อน ส่องวินัยคนไทยว่ามีการจัดการขยะดีแค่ไหน เข้าใจเรื่องการทิ้งขยะให้ถูกต้องแล้วใช่ไหม ขยะไหนใครรับผิดชอบ
ขยะอาหาร หนึ่งในประเภทของขยะที่ยังไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องมากที่สุด ทั้งจากภาครัฐและภาคประชาชน อีกทั้งยังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องได้รับความเข้าใจในด้านของกระบวนการจัดการอย่างถูกต้องจากสังคมอย่างอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง ที่ผ่านมา แม้เราจะมีการรณรงค์กันมาตลอดถึงการขอความร่วมมือในการคัดแยกขยะจากภาคประชาชน แต่ทุกวันนี้ คนไทยเข้าใจดีเรื่องการแยกขยะหรือยัง? และวินัยการทิ้งขยะของคนไทยดีแค่ไหน? Keep The World ชวนหาคำตอบไปพร้อมกัน
หลังจากดูคลิปวิดีโอแล้ว เรามาลองดูข้อมูลเชิงลึกของปัญหาขยะอาหารในกทม.กันบ้าง
ตามรายงานของสถาบันวิจัยเพื่อการพัมนาประเทศไทย (TDRI) และข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UNFAO) เผยว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ ถูกทิ้ง ทั้ง ๆ ที่ยังสามารถรับประทานได้ การรับประทานอาหารที่มีอาหารเหลือทิ้งกว่า 1,300 ตันต่อวันนี้เกิดขึ้น ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงมากมายในสังคมที่โกลาหล อาทิ สงครามรัสเซีย ยูเครน วิกฤตอาหารโลก วิกฤตพลังงาน การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง
มนุษย์เราสร้างอาหารเหลือทิ้ง ทั้ง ๆ ที่ยังทานได้ ในขณะที่ประชากรทั่วโลกกว่า 830,000,000 คนต้องเผชิญหน้ากับความหิวโหยจนแสบท้องและขาดสารอาหาร ซึ่งขยะอาหารที่เกิดขึ้นมานี้ สามารถสร้างก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 8% นั่นหมายความว่า ขยะอาหารเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
เวที COP27 ที่ผ่านมา หลายประเทศได้ร่วมมือกันจัดตั้งกองทุน Loss and Damage เพื่อช่วยฟื้นฟู เยียวยาประเทศเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหลายประเทศได้เริ่มลงมือทำอย่างจริงจังกันบ้างแล้ว ใช่ไหมนะ?
การลดขยะอาหาร เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) ซึ่ง UN ได้ตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2030 ขยะอาหารทั่วโลกจะต้องลดลง 50% หรือครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประเทศผู้มั่งคั่งจึงต้องปรับตัวเพื่อหลีกหนีภัยที่อาจมาถึง
ฝรั่งเศษ ออกกฎหมายว่าด้านการต่อต้านขยะอาหาร สหรัฐอเมริกา เน้นมาตรการสร้างแรงจูงใจในการลดขยะอาหาร มากกว่าการลงโทษ และเกาหลีใต้ ให้ความสำคัญกับการลด ปริมาณขยะอาหารในภาคครัวเรือนด้วยเทคโนโลยี
ขยะอาหารในประเทศไทย
ประเทศไทย ขยะอาหารกว่า 5.5 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็น 60% ของขยะอาหารทั้งหมดมาจากภาคครัวเรือน และคนไทยหนึ่งคนสามารถสร้างขยะอาหารได้มากถึง 254 กิโลกรัมต่อปี และในปีพ.ศ. 2563 กทม. มีขยะมูลฝอยประมาณ 9,520 ตันต่อวันและปัจจุบันยังคงเพิ่มขึ้นเนื่องจากโควิด-19 ก่อให้เกิดธุรกิจใหม่อย่างการรับส่งอาหาร (Delivery)
หลังจาก Delivery ออกปฏิบัติการ ทำให้มีการสั่งอาหารในรูปแบบแพ็กกลับบ้านมากมายหลายออร์เดอร์ ส่วนหนึ่งกระบวนการนี้ทำให้เกิดการใช้พลาสติกมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากตัวแพ็กเกจจิ้งต้องห่อกลับบ้านเท่านั้น ทำให้สถิติปริมาณพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single Use)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ความคืบหน้านโยบาย ไม่เทรวม สิ่งแวดล้อมดีของกทม.ไปถึงไหนแล้ว?
ขยะ กับ จิตสำนึกคนทิ้ง : ปัญหาที่แก้ไม่ได้ หรือแก้ได้แต่ไม่แก้?
วิกฤติอาหารโลก ปัญหากระทบห่วงโซ่ผลิตอาหารตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
แต่ประเด็นของขยะอาหารนั้น ก็เกิดขึ้นจำนวนมากเช่นกัน จากประเด็นการเทน้ำเสียที่เหลือทิ้งจากกระบวนการทำอาหารลงท่อน้ำสาธารณะ ก่อให้เกิดเสียงจากสังคมมากมากว่า ทำได้เหรอ และนำไปสู่การค้นพบว่ายังมีอีกหลายคนยังไม่รู้ว่าการจัดการขยะแบบนี้นั้นไม่ถูกต้องและนำไปสู่อุทกภัยที่กรุงเทพฯต้องเผชิญมาอย่างยาวนาน
แน่นอนสิ่งที่เราอยากให้คุณรู้คือ การเททิ้งเศษอาหารลงท่อระบายน้ำสาธารณะไม่ใช่เรื่องดี หากไม่มีถังดักไขมันกรองไว้อีกชั้นหนึ่ง หรือแยกไปกำจัดเฉพาะส่วน เพราะแม้ว่าเศษอาหารที่เทไปของเป็นในรูปแบบของของเหลว แต่ภายในนั้นประกอบไปด้วยไขมัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการสะสมตามท่อระบายน้ำ และทำให้ท่อตัน อันเป็นสาเหตุที่เมื่อฝนตกลงมาแล้วน้ำไม่ระบาย จนกลายเป็นน้ำท่วมซ้ำซากของกรุงเทพฯได้
ในความเป็นจริง กรุงเทพฯมหานครก็พยายามแก้ไขปัญหาเรื่องนี้มาตลอด อย่างในคลิปวิดีโอ Keep The World ได้ลงพื้นที่สำรวจย่านตลาดค่ำคืน อย่างเยาวราช เราก็ได้พบว่า ที่แห่งนี้มีการจัดการอย่างเป็นรูปแบบ น้อยร้านที่จะทิ้งเศษอาหารลงท่อระบายน้ำโดยตรง มีถังขยะตลอดทางสำหรับสายกิน และมีพนักงานคอยดูแล รวมถึงมีกฎระเบียบของตลาดในการแยกขยะด้วย ดังนั้น นี่จึงเป็นอีกตัวอย่างของตลาดที่ดีในด้านของการจัดการขยะอาหาร
แต่ในประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ยังมีตลาดอีกหลายแห่งที่ยังไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้อง และกทม.ก็กำลังเร่งหาทางแก้อยู่ และไม่ใช่เพียงแค่ภาคของธุรกิจร้านค้าเท่านั้น ภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมก็มีส่วนในการสร้างขยะอาหารโดยที่ไม่รู้ตัวได้ เช่น การแยกเศษอาหารออกจากขยะมูลฝอย
ดังนั้น สิ่งที่จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภาคส่วนอื่น ๆ คือเริ่มที่ตนเองก่อนก็ได้ เช่น การแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้พนักงานเก็บขยะสามารถแยกขยะให้ได้ และลดความเสี่ยงของขยะปนเปื้อนได้ด้วย หลังจากนี้ Keep The World จะติดตามการดำเนินงานของภาครัฐว่าจะมีวิธีการหรือแผนในการแก้ไขปัญหานี้เช่นไรต่อไป ติดตามได้ในรายการ Keep The World ทุกช่องทางของทาง Springnews
ที่มาข้อมูล
สถาบันวิจัยเพื่อการพัมนาประเทศไทย (TDRI)
กรมประชาสัมพันธ์
คู่มือวิธีการประเมินปริมาณขยะอาหารและแนวทางการลดปริมาณขยะอาหาร