svasdssvasds

เวที COP27 จะบังคับประเทศร่ำรวยช่วยเหลือประเทศยากจนอย่างไร?

เวที COP27 จะบังคับประเทศร่ำรวยช่วยเหลือประเทศยากจนอย่างไร?

วิกฤตโลกร้อน รอไม่ได้แล้ว เวที COP27 จะดึงประเทศร่ำรวยเข้าช่วยประเทศยากจนอย่างไร? เวทีนี้ดีแต่พูดจริงหรือเปล่า? มาวิเคราะห์กัน

ผู้คนหลายล้านคน ได้จบชีวิตลงใต้พื้นพิภพหลายแห่งทั่วโลกในปีนี้ อันเป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้น แม้ว่าเวที COP เพื่อหารือแก้โลกร้อนจะดำเนินการมาถึงครั้งที่ 27 แล้ว แต่ก็ดูเหมือนจะไม่สามารถยับยั้งภัยธรรมชาติจากน้ำมือมนุษย์นี้ได้เลย

การประชุม COP27 ในปีนี้ ได้มุ่งเน้นไปที่การปรับตัวและการสนับสนุนด้านการเงินของประเทศร่ำรวยต่อประเทศยากจนหรือประเทศเปราะบาง จากการหารือของผู้นำกว่า 120 ประเทศ ณ เมือง ชาร์ม เอล ชีค ประเทศอียิปต์ ว่าจะแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างไร และจะเอาเงินทุนที่ไหนมาช่วยเหลือประเทศเปราะบาง

เวที COP27 ปี 2022 โลกหนักหนาสาหัสแค่ไหน?

อย่างที่เข้าใจกันดีว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกเผชิญหน้ากับภัยพิบัติทางธรรมชาติมหาศาล อาทิ

  • ปากีสถานเจอน้ำท่วมหนัก ทำคนกว่า 1,700 คนเสียชีวิต และอีกหลายล้านคนต้องพลัดถิ่น และไร้บ้าน
  • คลื่นความร้อนรุนแรงโจมตี อินเดีย ยุโรป จีน และอีกหลายพื้นที่จนทุบสถิติอุณหภูมิสูงที่สุดและทำลายพืชผลทางเกษตรเสียหายหลายล้านไร่
  • เกิดพายุโซนร้อน เฮอริเคนบ่อยขึ้น ทั้งในญี่ปุ่นและสหรัฐอมเริกา จนบ้านเรือนเสียหายและมีคนเสียชีวิต
  • น้ำแข็งละลายมากสุดเป็นประวัติการณ์เท่าที่เคยมีบันทึกมา
  • แอฟริกาแล้งจัด จนคนเป็นโรคขาดสารอาหาร แถมยังเป็นทวีปที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลกด้วยและยังเป็นกลุ่มประเทศที่เปราะบางที่สุด เป็นต้น

ปีนี้และปีต่อ ๆ ไปถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะเป็นปีที่อาจเจอผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศถี่ขึ้น รุนแรงขึ้น และผลกระทบที่ตามมาจะมหาศาลยิ่งขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศร่ำรวยคือประเทศอะไร?

ประเทศร่ำรวยในที่นี้คือ ประเทศขนาดใหญ่ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุดของโลก และมีภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศดี ประเทศที่มีอุตสาหกรรมมั่งคั่งติดอันดับโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น

คำถามสำคัญคือ ประเทศร่ำรวยจะชดใช้ประเทศยากจนอย่างไร?

ต้นกำเนิดของการให้คำมั่นมาจากการเจรจาทางการเมืองใน COP15 ที่จัดขึ้น ณ โคเปนเฮเกน แต่เป้าหมายการให้เงิน 100,000 ดอลลาร์นั้น ถูกสร้างขึ้นมาอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ครอบคลุมกับเจตนาของผู้ช่วยเหลือ ดังั้น จึงไม่มีข้อกำหนดว่า ประเทศใดประเทศหนึ่งต้องบริจาคเป็นสัดส่วนเท่าไหร่

เวที COP15 จัดขึ้นที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน 11 ตุลาคม 2021 กว่าทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศดังกล่าวให้คำมั่นว่าจะมอบเงิน 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2020 (ปัจจุบันเลื่อนเป็นปี 2025) ให้กับประเทศยากจนในการปรับตัวเพื่อบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ประเทศร่ำรวยเหล่านั้น ล้มเหลวในคำมั่นดังกล่าว

แต่ปัจจุบัน เกิดคำถามตามมาเรื่อย ๆ ว่า  ตอนนี้เงิน 100,000 ล้านดอลลาร์นั้นไม่น่าจะเพียงพอแล้ว และตอนนี้ยอดที่ช่วยเหลือตลอดหลายปีที่ผ่านมาก็ยังไม่ถึง 100 ล้านดอลลาร์เลย แถมตอนนี้ประเทศยากจนก็ผุดขึ้นมามากขึ้น ประเทศที่แทบเอาตัวไม่ค่อยรอดก็มี แถมการเกิดขึ้นของสงครามรัสเซียยูเครนก็ทำให้ปัญหานี้มันยืดออกไปอีก

เงินดังกล่าวจะสนับสนุนประเทศยากจนอย่างไรบ้าง?

เงินดังกล่าว จะให้การสนับสนุนกับโครงการบรรเทาผลกระทบโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีทุนในการเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น การสร้างระบบขนส่งปลอดมลพิษในปากีสถาน เงินยังไหลไปสู่โครงการปรับตัว ซึ่งช่วยให้ประเทศต่างๆ สร้างภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ เช่น การฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของป่าชายเลนในกินี-บิสเซา เพื่อปกป้องจากทะเลที่เพิ่มขึ้น

แต่ที่ผ่านมา นักวิจารณ์มองว่า “เงินทุนส่วนมาก มักมาในรูปแบบของเงินกู้มากกว่าการให้ทุน เงินที่จะได้รับมาจากการกู้ ไม่ใช่การให้เปล่า ดังนั้น จึงกลายเป็นการเพิ่มภาระหนี้ที่ไม่ยั่งยืนให้กับประเทศยากจนจำนวนมากด้วย” Alina Averchenkova ผู้ร่วมนโยบายสภาพภูมิอากาศที่ London School of Economics

“อีกปัญหาคือ บางประเทศมีการนับโครงการบางประเภทที่มองว่าคือการบริจาคให้กับประเทศอื่นด้วยวิธีเฉพาะตัว ซึ่งอาจนำไปสู่ตัวเลขการให้ทุนที่สูงเกินความเป็นจริง” Sarah Colenbrander ผู้อำนวยการโครงการภูมิอากาศของสถาบันพัฒนาต่างประเทศกล่าว

COP26 มีการประชุมหารือประเทศร่ำรวยช่วยประเทศยากจน แต่ตอนนี้ยังไปไม่ถึงไหน?

แต่ที่ผ่านมา การให้เงินทุนกลับเงียบเหงา และไม่มีการเปิดเผยตัวเลขว่า แต่ละประเทศร่ำรวยนั้น ช่วยเหลืออะไรประเทศยากจนบ้าง บนเวที COP26 ที่จัดขึ้น ณ กลาสโกว์ สหราชอาณาจักรนั้น จึงได้เพิ่มความเข้มงวดต่อประเทศร่ำรวยว่าจะต้องให้เงินทุนและการช่วยเหลือแก่ประเทศเปราะบางเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า เพื่อให้ประเทศยากจนปรับตัวให้ได้ภายในปี 2030

ควรเห็นใจทั้ง 2 ฝ่ายหรือไม่?

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภิอากาศ สงครามและพิษเศรษฐกิจในปีนี้ ก็ทำให้ประเทศร่ำรวยสั่นคลอนได้เหมือนกัน เช่น ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูชุมชนจากการโจมตีของพายุ น้ำแข็งที่ละลาย อาหารที่ขาดแคลน ประเทศร่ำรวยบางประเทศก็เหลือเงินลดน้อยลง

แต่แม้ว่าจะต้องเผชิญหน้ากับสภาพอากาศแปรปรวนเหมือนกัน แต่ใช่ว่าเสียหายเท่ากัน ประเทศที่ตั้งรับไม่ได้และไม่มีเงินทุนสำรองแทบจะหายวับไปทั้งประเทศ เนื่องจากขาดเงินทุนในการปรับตัวและป้องกันตัว

เวที COP27 จะบังคับประเทศร่ำรวยช่วยเหลือประเทศยากจนอย่างไร? ในขณะที่ประเทศร่ำรวยเร่งฟื้นฟูประเทศตัวเอง ด้วยการปล่อยมลพิษมหาศาล ซึ่งตอนนี้ ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระเพิ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้วทั่วโลก โลกจะยังรักษาตัวเองได้ทันอยู่จริงเหรอ? และที่ผ่านมา มีอะไรเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลลัพธ์ที่ดีบ้าง? นี่คือคำถามที่ยังไร้คำตอบ

แล้วจะจบลงอย่างไร? เราสามารถคาดหวังการช่วยเหลือจากประเทศร่ำรวยได้อยู่หรือไม่?

เรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่ประสบความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมาสำหรับการช่วยเหลือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) ได้ตัดสินใจในเดือนกันยายนว่ารัฐบาลออสเตรเลียล้มเหลวในการปกป้องชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นี่เป็นแบบอย่างในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งวันหนึ่งอาจขยายไปถึงรัฐบาลและสถาบันต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้าง

ประเทศร่ำรวยบางประเทศกำลังดำเนินการ บ่งบอกถึงการยอมรับที่เพิ่มขึ้นว่าเงินทุนนี้ไม่สามารถล่าช้าได้ตลอดไป ในเดือนกันยายน เดนมาร์กเป็นพรรคยูเอ็นกลุ่มแรกที่ให้คำมั่นสัญญาทางการเงิน ประมาณ 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อจัดการกับความสูญเสียและความเสียหาย G7 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีเยอรมัน ได้เปิดตัวโครงการริเริ่มเพื่อขยายการเข้าถึงความช่วยเหลือทางการเงินในทันทีหลังเกิดภัยพิบัติด้านสภาพอากาศผ่านการปรับปรุงแผนประกันและประกันสังคมที่มีอยู่

แต่แม้ว่าประเทศร่ำรวยหลายประเทศจะเริ่มทยอยทำโครงการช่วยเหลือออกมา แต่ประเทศยากจนก็ไม่สามารถรอได้อีกต่อไปแล้ว พวกเขาต้องการเงินทุนเร่งด่วนเพื่อนำแผนป้องกันประเทศ จากการคาดการณ์วิกฤตสภาพภูมิอากาศที่จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น

เวที COP27 จะบังคับประเทศร่ำรวยช่วยเหลือประเทศยากจนอย่างไร? ตราบใดที่ประเทศร่ำรวยยังคงหลบเลี่ยงปัญหาที่ตนก่อไว้กับประเทศยากจนและชุมชนเปราะบาง เมื่อนั้นโลกก็จะเดินถอยหลังลงไปเรื่อย ๆ ปัจจุบัน ระบบนิเวศเสียหายจนเกินกว่าจะซ่อมแซมได้แล้ว  เนื่องจากความล้มเหลวในการดักจับและควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นต้นเหตุ ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น

คุณล่ะ ยังเชื่อมั่นในการประชุม COP27 อยู่หรือไม่ และประเทศร่ำรวยจะดีแต่พูดแบบที่เกรตา ธันเบิร์กบอกหรือเปล่า?

ที่มาข้อมูล

Ukraine a reason to act fast on climate change - Rishi Sunak

A Core Question at COP27: Who Will Pay for Climate Change?

three reasons rich countries can no longer ignore calls to pay developing world for climate havoc

related