จากข่าวมีผู้เสียชีวิตเพราะใช้กัญชาเกินขนาด 2 ราย หลังไทยปลดล็อกกัญชาออกจากยาเสพติด นำมาใช้ทางการแพทย์ได้ แต่เราจะใช้อย่างไร หรือควรกัญชาใส่ในอาหารหรือขนมปริมาณเท่าไหร่ถึงปลอดภัย รวมทุกเรื่องที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ กัญชา มาให้แล้ว เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง
กัญชา 101 ทำความรู้จัก กัญชา แบบครบเรื่องที่ต้องรู้
ทั้งประโยชน์ และ โทษ เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง
เราจะทาน จะใช้ จะผลิตกัญชายังไงให้ปลอดภัย
หลังพบผู้เสียชีวิตจากกัญชาในไทยแล้วถึง 2 คน
หลังปลดล็อกกัญชามาได้แค่7 วัน
กฏหมายกำหนดว่า เราจะปลูกใช้ มีไว้ ไม่ผิดอีกต่อไป
ถ้าเพื่อใช้รักษาทางการแพทย์ และ พืชเศรษฐกิจ
โดยกัญชาที่มี ต้องมีสาร THC ไม่เกิน 0.2%
เพราะสารตัวนี้ นี่แหละที่อันตราย ใช้มาก เสียชีวิตได้ และเป็น สารเสพติด ตรวจปริมาณได้จากแล็บเท่านั้น ปชช ตรวจเองไม่ได้
ผู้ผลิตจึงต้องคำนึงถึงผู้บริโภค ไม่ใส่ในปริมาณมากไป
และต้องติดรายละเอียดแจ้งปริมาณกัญชาที่ใส่ในอาหาร และคำเตือนไว้ด้วย
สารสำคัญในกัญชา CBD THC อันไหนที่อันตราย
กัญชาจะอันตราย หรือ ไม่อันตราย มันขึ้นอยู่กับ ปริมาณสำคัญ 2 ตัว THC กับ CBD
CBD สารที่ช่วยให้ผ่อนคลาย แต่ไม่ส่งผลต่อระบบประสาท
THC ตัวนี้ต้องระวัง เพราะทำให้ผ่อนคลาย แต่ส่งผลต่อระบบประสาท และเสพติดได้
มีมากในส่วนช่อดอก ในใบรากลำต้นกิ่งก้าน มีน้อย
อาการ GET Hight ในกัญชา คืออะไร?
คงเคยได้ยินว่า สูบกัญชา พริ้ม ยิ้มหวาน เคลิบเคลิ้ม แต่บางคนก็ก้าวร้าว ดุร้ายเลยนะ นั่นแหละ คืออาการ get high อาการทางระบบประสาท ที่แต่ละคนแตกต่างกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
กัญชา มีประโยชน์และโทษยังไง?
ประโยชน์
-เพิ่มทางเลือกในการรักษา แต่ไม่ใช่ทุกโรค เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย บรรเทาปวดอย่างรุนแรง ลมชัก พาร์กินสัน
- ช่วยให้ผ่อนคลาย นอนหลับสบาย
- มีสารบางอย่างในกัญชา ที่ทำให้รสชาติอาหาร เหมือนอร่อยขึ้น
ใส่ กัญชา ในอาหาร และ ขนม ปริมาณเท่าไหนจึงปลอดภัย?
สาร THC มีมากในช่อดอก เพราะงั้น เราไม่ควรใช้ช่อดอกมาต้ม สกัดเพราะอันตรายและอาจผิดกฏหมายแต่ควรใช้ใบ
กรมอนามัย แนะ
เมนูทอด 1-2 ใบสดต่อเมนู
เมนูผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่ม 1 ใบสดต่อเมนู
อย่าทานให้ถึง 5 ใบต่อวัน
ถ้าเกินจน Overdoes เบื้องต้นให้นั่งพัก ทานน้ำมากๆ หรือรีบไปพบแพทย์
โทษของกัญชา
- ถ้าใช้ปริมาณเข้มข้นมากไป ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
กลายเป็นสารเสพติดได้ มีปัญหาความจำ จิตเวชต่างๆ เช่น
ก้าวร้าว วิตกกังวล หวาดระแวง ซึมเศร้า ตื่นตระหนก สูญเสียการตัดสินใจที่ดี ง่วงซึม
- ผลกระทบทางการแพทย์ เช่น ดื้อยาชา ยาแก้ปวด
- ผลกระทบเรื่องสมอง สติปัญญา ลดลง
- ใช้นานๆเสพติด ใช้มากไป Overdoes ใจสั่น ถึงขั้นเสียชีวิตได้
ปัญหาคือ เราไม่รู้ปริมาณ THCในกัญชา
รายละเอียด ปริมาณกัญชาที่ใส่และคำเตือนข้างบรรจุภัณฑ์ของผู้ขายหรือผู้ผลิตอาหารจากกัญชา จึงสำคัญ
ที่คนขายต้อง แสดงปริมาณ ข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการ
รายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด
คำเตือนแก่ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง เช่น
- เด็กและวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรหลีกเลี่ยง
- สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน
- อาจทำให้ง่วงซึมได้ ไม่ควรขับรถ ขับเครื่องจักร
- ห้ามแสดงข้อความ สรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรค
- สธ. ห้ามจำหน่าย "กัญชา" ให้แก่กลุ่มสตรีมีครรภ์
และสตรีให้นมบุตร คนอายุน้อยกว่า 20 ปี
สรุป
ความอันตรายของกัญชา อยู่ที่ปริมาณสาร THC ในกัญชา
ไม่ว่าจะสูบ หรือ ทาน ต้องระวังอย่าให้สารตัวนี้เกิน 0.2%
และกัญชาแต่ละที่ ต่างแหล่ง ปริมาณสารก็ต่างกัน ต้องถามคนขาย คนผลิตในชัด ย้ำว่า ปลดล็อกกัญชาครั้งนี้ไม่ใช่ใช้เสรี
แต่เพื่อใช้ทางการแพทย์ รักษาโรค เท่านั้น และถ้าเสพหรือสูบ ปุ้น แล้วกลิ่นและควัน ก่อความเดือดร้อนรำคาญคนอื่น ผิดกฏหมาย พรบ. สธ.ระวังโดนแจ้ง จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท