svasdssvasds

ซีพี ออลล์-เซเว่นฯ ลุยปลูกป่า 1.6 แสนต้น ให้มากกว่าพื้นที่สีเขียว

ซีพี ออลล์-เซเว่นฯ ลุยปลูกป่า 1.6 แสนต้น ให้มากกว่าพื้นที่สีเขียว

พาไปรู้จักโครงการ CP All Planting Model โครงการปลูกป่าของซีพี ออลล์ และ เซเว่น อีเลฟเว่นให้มากกว่าการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพราะสอนให้ทุกคนได้เรียนรู้วิธีการปลูกที่มีประสิทธิภาพและการสร้างรายได้ให้กับชุมชนจากกล้าไม้ที่พวกเขาปลูก เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

พาไปรู้จักโครงการ CP All Planting Model
โครงการปลูกป่าที่มีขึ้นทุกๆ ปี เพื่อช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้
เพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างออกซิเจนสู่โลกมากขึ้น มีเป้าหมาย คือ ภายในไตรมาสที่3 จะปลูกต้นไม้ยืนต้นให้ได้ 160,000 ต้น
ในวัดพุทธและโบสถ์คริสต์  ภาคอีสานกว่า 200 แห่ง

แต่ก่อนที่จะปลูกไม้ยืนต้นได้ก็ต้องปลูกต้นกล้าก่อน
ไปดูกันว่า ซีพี ออลล์ มีแหล่งเพาะพันธุ์ต้นกล้าที่ไหนบ้าง

สถานที่เพาะต้นกล้า ที่จ.สุรินทร์

1.ชุมชนโนนนารายณ์ 70,000 ต้น (เน้น)

2.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุรินทร์ 20,000 ต้น

3.โรงเรียน มหิธรวิทยา จ.สุรินทร์ 20,000 ต้น

ภาคใต้ จ.สงขลา
4.โรงเรียนโคกค่าย 10,000 ต้น
5.และสั่งซื้อจากแหล่งอื่นๆ อีก 40,000 ต้น

      ทีมงานของเราลงพื้นที่ ชุมชนโนนนารายณ์ จ.สุรินทร์
ส่องภารกิจปลูกต้นกล้า เพื่อส่งต่อไปยังวัด 70,000 ต้น ภายในเดือนสิงหาคม โดยมีพี่เขียวผู้นำโครงการ เป็นวิทยากรให้ความรู้และสอนชาวบ้าน ที่ว่างเว้นจากการทำนา มาหารายได้เสริมจากการเพาะต้นกล้าขาย นี่คือที่มาของรายได้ของชาวบ้านจากการเพาะต้นกล้าขายที่โอ๋ บอกไว้ พี่เขียวสอนชาวบ้านให้ลองลงมือปลูกด้วยตัวเอง ซีพี ออลล์ ช่วยสนับสนุนทั้งต้นกล้า อุปกรณ์ถุงและปุ๋ยต่าง ๆ ดินและโรงเรือนเพาะชำ เพื่อหวังให้ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้บ้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

       ผลประโยชน์ของชาวบ้าน คือ มีรายได้เสริมหลังว่างจากการทำนา โดยเฉพาะช่วงการระบาดโควิด-19 ชาวบ้านก็อยู่กันแบบพี่น้องช่วยเหลือกัน พี่เขียวให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของต้นไม้และแบ่งปันรายได้อย่างเท่าเทียม

โรงเรียนมหิธรวิทยา
       เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่อยู่ในความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและเอกชน ภายใต้โครงการสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี การร่วมมือของซีพี ออลล์ มีเป้าหมายเพื่อต้องการลดความเหลื่อมล้ำ ทำโรงเรียนให้เป็น Forestry school แห่งแรกของประเท ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีองค์ความรู้ในการเพาะปลูกต้นกล้า เพื่อนำส่งต่อให้โครงการป่าล้อมวัด โคกหนองนาโมเดลและอื่นๆ

ที่สุดท้ายเป็น มทร.อีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

       ต้องบอกว่า เป็นแหล่งเรียนรู้ใหญ่สุดเลยค่ะ มีพื้นที่ทั้งหมด 24 ไร่ พื้นที่ออกแบบในรูปแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ และ การเกษตรผสมผสาน ต้องการใช้พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ฝึกการเกษตรให้กับนักศึกษาและเกษตรกรในพื้นที่จ.สุรินทร์มาศึกษาดูงานในการทำการเกษตร

       พวกเขา ได้รับงบสนับสนุนกล้าไม้จาก ซีพี ออลล์ และกระจายกล้าไม้ต่าง ๆ ไปยังพื้นที่เกษตรกร พร้อมทั้งสนับสนุนด้านงบประมาณในการอนุบาลกล้าไม้ต่อเนื่อง ทางมหาวิทยาลัยได้ดึงเอาชาวบ้านที่ว่างงานและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ว่างงาน หรือมีเวลาว่างช่วงปิดเทอม มาช่วยเตรียมบรรจุดินลงถุง ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์จากภายในมหาวิทยาลัยเอง มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ เพาะอนุบาลดูแลกล้าไม้ จำนวน 20,000 ต้นด้วยกัน

       ส่วนที่ 2 คือมหาวิทยาลัย มีการเรียนการสอนในด้านการเกษตรมีการบูรณาการ สามารถเป็นบัณฑิตที่ปฏิบัติงานได้จริง

       อีกกิจกรรมหนึ่งที่ซีพี ออลล์เข้ามาผลักดันในการลดก๊าซเรือนกระจก ก็คือ เรื่องของคาร์บอนเครดิต ศึกษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ที่เราปลูก และ นำไปรังวัดที่ดินร่วมกับโครงการป่าล้อมวัด ตีผังพันธุ์ไม้ ประมาณ 1 ไร่ (เป็นพื้นที่สุ่มจาก15ไร่)

      หาพื้นที่ สำรวจทางพันธุศาสตร์และวิชาการป่าไม้ ให้ได้ข้อมูลพันธุ์ไม้ รวมไปถึงพิกัด เพื่อจัดระบบข้อมูล และ ส่งต่อเพื่อให้ได้รับการรองรับการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์หรือการหาคาร์บอนเครดิตจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกต่อไป ด้วยปณิธาน “ร่วมสร้างสรรค์ และแบ่งปันโอกาสต่อกัน”

related