เทรนการรับชมข้อมูลผ่านสตรีมมิ่งกำลังมา คนรอดูและพร้อมจ่ายค่าบริการมากขึ้น แล้วประเทศไทยพร้อมจะมีแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของตนเองหรือยัง? หาคำตอบได้ในงาน Virtual forum Thailand platform ฝันกลางวันหรือทำได้จริง 15 ตุลาคมนี้
เทรนการรับชมข้อมูลผ่านสตรีมมิ่งกำลังมา
คนรอดูและพร้อมจ่ายค่าบริการแม้ราคาจะสูง
มีข้อมูลจาก The mobile streaming report 2021 พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า
- คนกดเข้าไปใช้บริการสตรีมมิ่งผ่านสมาร์ทโฟน อย่างน้อยๆ วันละ 1 ครั้ง และใช้เวลาดูอย่างน้อยครั้งละ 1 ชั่วโมง
- ผู้ที่เคยใช้บริการเคเบิ้ลทีวี เปลี่ยนมาใช้บริการดูแบบสตรีมมิ่ง และพร้อมจ่ายค่าบริการ
- อุปกรณ์แบบ Connected TV (อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ Internet เพื่อรับชม เช่นสมาร์ททีวี) กำลังมาแรง
ผู้ใช้งานกว่า76% บอกว่า จะใช้งานควบคู่ไปกับสมาร์ทโฟนเสมอ
เอเชียแปซิฟิก พบว่า
มีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ประเทศที่มีการใช้งานสตรีมมิ่งมากที่สุดในโลกเรียงตามนี้
- ประเทศจีน มีการใช้บริการสตรีมมิ่งสูงที่สุด ตัวเลขใกล้เคียงกับ ตุรกี
รองลงมาคือ สิงคโปร์ เยอรมนี อเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
- ตุรกี เป็นประเทศที่น่าจับตา จากข้อมูลพบว่า มีการใช้สตรีมมิ่งทุกวัน
ถ้าดูข้อมูลแบบรายวัน ถือว่าเป็นอันดับ 1 ของโลก มากกว่าจีนอีก
ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า
เทรน หรือพฤติกรรมการรับข้อมูลของผู้คนทั้งโลก เริ่มเทไปที่แพลตฟอร์มเหล่านี้มากขึ้นเรื่อย ใช้เวลาอยู่กับโลกออนไลน์มากขึ้นแม้แต่ในประเทศไทยเอง ผู้คนก็เริ่มหันมาใช้บริการเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน น่าคิดเหมือนกันว่าผู้ให้บริการสตรีมมิ่ง แต่ละปีจะทำรายได้มากแค่ไหน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ลองมาดูข้อมูลของประเทศไทยกันบ้าง
สตรีมมิ่งไทยมี แต่ยังไม่ได้ไปไกลระดับโลก
แต่มีข้อมูลการค้าแบบออนไลน์ในระดับประเทศเท่านั้น
ลองดูสิว่า ประเทศไทย ทำรายได้มาก-น้อยแค่ไหน
นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้รายงานผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและผลักดันการส่งออก ในช่วงครึ่งปีแรก 2564 ทางช่องทางออนไลน์ ว่า ทำรายได้เข้าประเทศจากกิจกรรมที่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์กว่า 14,679.19 ล้านบาท
มาจาก
- การจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบ Mirror-Mirror
ที่ผู้ประกอบการไม่ต้องเดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้าแค่ส่งตัวอย่างสินค้าไปจัดแสดง
- งานแสดงสินค้าในรูปแบบเสมือนจริง
- งานแสดงสินค้า Multimedia Online Virtual Exhibition เป็นกิจกรรมการส่งออกด้านมัลติมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ แอนิเมชัน หรือว่าดิจิทัลคอนเทนต์
อู้หูว นี่เป็นแค่รายได้ของไทย จากการค้าขายสินค้าระหว่างประเทศทางออนไลน์ใน 6 เดือนเท่านั้น
แล้วถ้าประเทศไทย มีแพลตฟอร์มใหญ่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
สามารถให้บริการได้ทุกคนทั่วทั้งโลก แบบ Facebook หรือ Netflix บ้างจะเป็นอย่างไร?
จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่ไทยจะมีแพลตฟอร์มเป็นของตนเอง?
ถ้าสนใจในเรื่องราวเหล่านี้ มาหาคำตอบร่วมกันในงานสัมมนาออนไลน์ Virtual forum Thailand platform ฝันกลางวันหรือทำได้จริง? ศุกร์ที่ 15 ต.ค. 64 เวลา 14.00-16.00 น.
ติดตามชมได้ ทุกช่องทางของ SpringOnline