โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องใกล้ตัวคนเรามากกว่าที่คิด หนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยก็คือ โรคมะเร็ง โดยเฉพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งในประเทศไทยพบมากเป็นอันดับที่ 3 และมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง โรคนี้เกิดได้อย่างไร มีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาช่วยรักษาแล้วมั้ย
ในไทยมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ค่อนข้างสูง เพราะกว่าที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้ตัวก็มักเข้าสู่ระยะกระจายตัวของโรคแล้ว
แต่ข่าวดีก็คือ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยใหม่มากมายที่ช่วยตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ทำให้อัตราการเสียชีวิตลดน้อยลง เพราะโรคนี้ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่มและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โอกาสที่จะหายขาดก็มีมากขึ้น
มะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากอะไร?
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและแบ่งตัวอย่างต่อเนื่องจนไม่สามารถควบคุมได้ และกลายเป็นก้อนหรือเนื้องอก ซึ่งในระยะแรกอาจเป็นเป็นเพียงติ่งเนื้อเล็กๆ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยที่ไม่ได้รักษาหรือตัดทิ้งก็อาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
จากนั้นเซลล์มะเร็งสามารถลุกลามไปยังลำไส้และแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้
ปัจจัยของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่มักไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าจะถึงระยะแพร่กระจายโรค ซึ่งมักพบอาการที่สำคัญๆ ดังนี้
สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ก็คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นการตรวจหาระยะก่อนการเกิดมะเร็งและตรวจหาเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยังช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตได้อีกด้วย โดยมีเกณฑ์ดังนี้
กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง
วิธีตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถตรวจพบติ่งเนื้อได้แม่นยำ และหากพบติ่งเนื้อที่มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปในขณะส่องกล้อง ก็สามารถตัดติ่งเนื้อได้ทันที มีข้อมูลที่น่าสนใจพบว่า 90% ของการตรวจพบมะเร็งสำไส้ใหญ่ จะเริ่มจากการพบติ่งเนื้อขนาดเล็ก ซึ่งถือเป็นระยะก่อนมะเร็ง โดยจะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี ก่อนที่เซลล์จะพัฒนาจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ การสวนแป้งเอกซเรย์ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ หรือจะเข้ารับการตรวจคัดกรองโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ก็ได้
เทคนิคการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI)
โรงพยาบาลสมิติเวชได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลซาโนในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงระดับโลกและเป็นที่ยอมรับเรื่องความเชี่ยวชาญในการตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่ในลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ด้วยเทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โดยทีมแพทย์ของโรงพยาบาลสมิติเวชได้เดินทางไปเรียนรู้เทคนิค และฝึกทักษะด้านการส่องกล้องและการผ่าตัด รวมถึงมีคุณหมอจากญี่ปุ่นเดินทางมาให้ความรู้และทำ case study ให้กับผู้ป่วยที่สมิติเวชอย่างต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ปี 2558
โดยเทคนิคดังกล่าวมีชื่อว่า Narrow Band Image (NBI) ซึ่งเป็นการฉายรังสีไปที่ผนังลำไส้ที่ดูดซึมสารเข้าไป เพื่อให้เห็นภาพของเส้นเลือดที่ผิวเยื่อบุทางเดินอาหารได้ชัดเจน โดยเทคนิคนี้ จะทำให้เห็นลักษณะของผิวเยื่อบุที่เปลี่ยนไป รวมถึงลักษณะของเส้นเลือดฝอยที่ผิดปกติได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การตรวจด้วยเทคนิค NBI จะช่วยให้สามารถตรวจพบติ่งเนื้อแบบแบนราบที่มีลักษณะคล้ายกับผิวของลำไส้ได้อีกด้วย
เทคโนโลยี AI รักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างไร
ในปัจจุบัน โรงพยาบาลสมิติเวชได้นำเทคนิค NBI มาใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial intelligence: AI) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาคุณภาพในการตรวจหารอยโรคในการส่องกล้องทางเดินอาหาร โดยเรียกเทคนิคนี้ว่า ENDOBRAIN ทำให้สามารถเห็นติ่งเนื้อได้ชัดกว่าเทคนิคทั่วไปถึง 1.5 เท่า
โดยเทคนิค ENDOBRAIN เป็นการจับภาพการส่องกล้องแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้สามารถมองเห็นติ่งเนื้อที่มีขนาดเล็กหรือติ่งเนื้อที่อยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ยาก ทำให้แพทย์สามารถตรวจพบติ่งเนื้อที่มีขนาดเล็กได้มากขึ้น รวมถึงสามารถตัดติ่งเนื้อออกได้ทันทีในขณะที่ตรวจ ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัวและผ่าตัดเกินความจำเป็น
การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธี
วิธีดูแลตัวเองหลังจากรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
แม้ว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จะสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นซ้ำได้เช่นกัน ทั้งตรงจุดเดิมและบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนอื่นๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการตรวจติดตามโรคเป็นระยะ
โดยในช่วง 2 ปีแรก แพทย์อาจนัดติดตามอาการทุก 2 เดือน โดยจะมีการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุก 6 เดือน และเอกซเรย์ช่องท้องทุก 3-6 เดือนในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งหากตรวจไม่พบ แพทย์ก็อาจเปลี่ยนเป็นนัดตรวจมะเร็งทุกปี ภายในระยะเวลา 3 ปี
ซึ่งนอกจากการเข้ารับการตรวจคัดกรองแล้ว ผู้ป่วยก็ควรลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จำกัดการรับประทานเนื้อแดงและอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้และอาหารที่มีกากใย เพื่อช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี