เฟซบุ๊กลดพลาสติกไทยแลนด์ (Less Plastic Thailand) เดินหน้าสานต่อโครงการแยกขวดช่วยหมอสู้โควิด ระดมทุน ระดมทีม ระดมขวดพลาสติกเพื่อนำไปรีไซเคิลทำเป็นชุด PPE ส่งต่อให้คุณหมอ พยาบาล หวังให้บุคลากรด่านหน้าปลอดภัยจากโควิด 19
จากการแพร่ระบาดโควิด-19 สู่การควบคุมการระบาดชีวิตวิถีใหม่ New Normal หลายคนทำงานที่บ้าน ใช้บริการ Food Delivery รวมทั้งพัสดุต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้น ปริมาณขยะพลาสติกจึงเพิ่มสูงขึ้น
ขยะพลาสติกช่วงโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เปรียบเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 พบว่า ช่วงสถานการณ์ปกติ เดือน ม.ค. – ธ.ค. ของปี 2562 เราสร้างขยะพลาสติกเฉลี่ย 96 กรัม/คน/วัน ส่วนในช่วงโควิด-19 เดือน ม.ค. – ธ.ค. ของปี 2563 มีขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมถึง 40% เฉลี่ย 134 กรัม/คน/วัน และล่าสุดในการระบาดระลอกใหม่นี้ ตัวเลขเดือน เม.ย. 2564 จำนวนขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น 45% หรือเฉลี่ย 139 กรัม/คน/วัน
สัดส่วนของขยะพลาสติกในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 เพิ่มขึ้นจากภาวะปกติ โดยเฉพาะสัดส่วนเดือนเมษายน 2564 เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2564 กว่า 7.61% ในส่วนของขยะติดเชื้อในสถานการณ์โควิด-19 เพิ่มมากขึ้นเกือบ 20 ตัน/วัน ตั้งแต่เดือน ม.ค. - เม.ย.2564 เพิ่มขึ้นจากเดิม 22.9% หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 28.4 ตัน/วัน
เรื่องที่ต้องปรบมือให้ก็คือปริมาณขยะของกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมลดลงจากปริมาณขยะสูงสุดในรอบ 30 ปี เมื่อปี 2561 มีปริมาณขยะ 10,700 ตัน/วัน ปี 2562 มีปริมาณขยะ 10,500 ตัน/วัน ปี 2563 มีปริมาณขยะ 9,500 ตัน/วัน ปี 2563 และช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2564 เหลือ 8,800 ตันต่อวัน นั้นแสดงว่าเรามาถูกทางแล้ว แต่ด้วยสถานการณ์โควิดบางครั้งก็เลี่ยงยาก โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ หีบห่อต่าง ๆ ที่มากับอาหารที่เราสั่งล้วนเป็นพลาสติกทั้งสิ้น แต่วิธีที่จะลดปริมาณขยะพลาสติกลงไปอีก คือการแยกขยะ ให้พลาสติกถูกนำกลับไปใช้ซ้ำ และจะดีแค่ไหนถ้าสามารถลดปริมาณขยะพลาสติก ลดปริมาณขยะติดเชื้อ ลดการขาดแคลนชุด PPE แล้วยัง #ช่วยหมอสู้โควิด ด้วยการแยกขวดพลาสติก PET นำไปบริจาคให้โครงการ "แยกขวดช่วยหมอ" นำไปรีโซเคิลผลิตเป็นชุด PPE ส่งต่อให้คุณหมอสู้สงครามโควิด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“โครงการ แยกขวด ช่วยหมอ” ระดมขวด PET ไปตัดชุด PPE ให้บุคลากรทางการแพทย์
เปลี่ยนขยะให้เป็นเงินด้วยการแยกขยะ Green2Get Application ช่วยจัดการขยะ
อาร์ต พศุตม์ ส่งชุด PPE เจลล้างมือ ช่วยอีก 4 เรือนจำในต่างจังหวัด
สธ. ชี้ โควิด-19 สร้างขยะติดเชื้อสูงขึ้น เฉลี่ยถึง 178 ตันต่อวัน
คุณเมธา เสนทอง ผู้ประสานงานเครือข่ายลดพลาสติกไทยแลนด์ เล่าให้ฟังถึงที่มาของการทำโครงแยกขวดช่วยหมอว่า "โครงการนี้เคยทำมาแล้ว 3 ครั้ง สามารถส่งต่อชุด PPE ให้กับคุณหมอไปแล้วกว่า 20,000 ชุด 200 โรงพยาบาลทั่วประเทศ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 และอยู่ในขั้นตอนการระดมทุน ระดมทีม ระดมขวดพลาสติก หากใครสนใจเข้าร่วมบริจาค สามารถตรวจสอบจุด Drop Point ใกล้คุณได้ที่ https://bit.ly/3f38Uu1
เครือข่ายลดพลาสติกไทยแลนด์ริเริ่มจัดทำโครงการนี้ เพราะเล็งเห็นประโยชน์ของการรีไซเคิลขวดพลาสติก และตระหนักว่า ในสถานการณ์โควิด-19 ระบาดเช่นนี้ แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์มีความจำเป็นต้องใช้ชุด PPE ในการปฏิบัติหน้าที่
นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่สามารถผลิตชุด PPE ด้วยเส้นใยที่รีไซเคิลมาจากขวดน้ำดื่มพลาสติกได้ ที่ผ่านมาเราต้องนำเข้าเส้นใยจากต่างประเทศเท่านั้น สุดยอดในทุกด้านทั้งลดปริมาณขยะพลาสติก ด้วยการนำเอาขวด PET มีรีไซเคิลเป็นชุด PPE ให้คุณหมอได้ใช้ประโยชน์ แถมลดการเกิดขยะติดเชื้อได้อีก เพราะสามารถใช้ซ้ำได้ถึง 20 ครั้ง ครบวงจรลดขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม และเกิดประโยชน์สูงสุดทำให้เห็นว่า สามารถนำขยะพลาสติกมาใช้ในฐานะวัสดุที่ช่วยเพิ่มสุขอนามัยได้ด้วย เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุด
ส่วนรายละเอียดและขั้นตอนกระบวนผลิตจากขวด PET ไปเป็นชุด PPE จะเป็นอย่างไร ดูคลิปเต็มที่ลิงค์ด้านล่าง และสามารถติดตามรายการอยากเห็นเมืองไทยดีกว่านี้ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. ทางเนชั่นทีวีช่อง 22 และสปริงออนไลน์