แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ มิจฉาชีพทางโทรศัพท์ มักมีวิธีการหรือรูปแบบการโทรหลอกลวงเหยื่อที่หลากหลาย แต่ก็มีจุดคล้ายกันอยู่บ้าง หากเรารู้ทัน ก็ช่วยให้เรามีสติและไม่ตกเป็นเหยื่อเมื่อต้องเผชิญได้ รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้ เดี๋ยวโอ๋สรุปให้
แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ มักใช้กลโกงจากคำพูดต่างๆนาๆหว่านล้อมเหยื่อให้หลงกลมากมาย แต่จริงๆจะมีรูปแบบที่คล้ายๆกันอยู่ หากเรารู้ทันก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อ
แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ มักเล่นกับคำ 3 คำ ของเหยื่อ คือ
ความตกใจ ความโลภ และความรู้ไม่เท่าทัน หากเรามีสติและฉุกคิดทันก็จะทำให้เราไม่หลงกล และตกเป็นเหยื่อ เสียค่าโง่พวกมันอีกราย
รูปแบบการหลอก แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ มักมี 3 Steps
1.เปิดด้วยประโยคให้เราตกใจโดยใช้ความโลภ
ตัวอย่างที่หลายคนเคยได้ยิน เช่น
หากพบเจอประมาณนี้ ให้ตั้งสติไว้ก่อนเลยว่า มิจฉาชีพเล่นงานเราแล้ว
2.หลอกขอข้อมูลส่วนตัวแบบไม่ให้เวลา
เพราะเมื่อ แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ไม่ให้เวลาเหยื่อได้ตั้งสติถามคนอื่น คิดคนเดียว รีบตัดสินใจทำให้ผิดพลาดเรื่องง่ายๆได้ เพราะความตกใจไปโดยพลการ
3.ปิดท้าย Action บางอย่าง
เช่น ให้รีบไปที่ตู้ ATM ตอนนี้ด่วนๆ หรือ โอนเงิน หรือ คลิกlink Email ไปยังเว็บไซต์อันตราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นิวเคลียร์ หรรษา เล่าเหตุการณ์สาวบุกบ้าน ไม่แน่ใจจิตไม่ปกติหรือมิจฉาชีพ
รองโฆษก ตร.เตือนภัย แก๊งมิจฉาชีพหลอกปล่อยเงินกู้นอกระบบออนไลน์
5 วิธีรับมือ เมื่อเผชิญกับ แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์
1.ตั้งสติเมื่อเจอสายแปลก
ไม่ไหลไปตาม ค่อยๆคิดทบทวนว่าเรื่องที่เขาพูดเกี่ยวกับเรา มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
2.จำไว้ว่าธนาคารไม่โทรขอข้อมูลสำคัญผ่านCall center
สถาบันการเงินต่างๆ ไม่มีนโยบายโทรมาสอบถาม ข้อมูลส่วนตัวลูกค้า หรือให้ลูกค้าโอนเงิน ผ่าน Call center เด็ดขาด!
3.อย่าให้ข้อมูลส่วนตัว หรือ สิ่งที่ปลายสายต้องการ
อย่างที่บอกว่าสถาบันการเงินไม่มีทางทำอะไรแบบนี้ หรือให้เราโอนเงินผ่านทางโทรศัพท์ เมื่อไม่ใช่แม่ ไม่ใช่ญาติ ห้ามให้ข้อมูลหรือโอนเงินให้ใครง่ายๆ
4.เงินอยู่กับเราปลอดภัยที่สุด
อย่าหลงกลโอนเงินให้ใครง่ายๆเด็ดขาด
5. เช็กไปยังแหล่งที่มา
การหลอกลวงจะแนบเนียนขึ้นเมื่ออ้างสถาบันที่ทุกคนเชื่อถือ มิจฉาชีพมักอ้างบริษัท ธนาคาบัน ที่เป็นที่รู้จัก ก่อนหลงเชื่อให้เราบอกปลายสายไปเลยว่า โอเค เราเข้าใจแล้ว แต่ขอติดต่อสอบถามไปยังต้นทางเองอีกทีก่อนนะ แค่นี้หล่ะถ้าเป็นมิจฉาชีพไม่ยอมแน่นอน ให้วางหูใส่ไปเลย
หากถูก แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ หลอกลวงไปแล้ว ทำอย่างไร?
1.รวบรวมหลักฐานและข้อมูลทุกอย่างที่หาได้ เช่น สลิปโอนเงิน บันทึกสนทนา
2.ติดต่อผ่านบริการลูกค้าของสถาบันการเงิน เพื่อระงับการโอนและการถอนเงิน
3.แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมทั้งลงบันทึกประจำวัน ณ ท้องที่เกิดเหตุ
4.แจ้งระงับการถอนเงินออกจากบัญชีที่โอนไป
5.แจ้งเบาะแสไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)
6.ทำใจ...เพราะส่วนมาก อ้อยเข้าปากช้าง ยากจะคาย คือเมื่อมิจฉาชีพได้รับเงินไป มักจะรีบกดเงินออกจากบัญชีแปลงเป็นเงินสดและเอาไปใช้สอยต่อทันที แม้จับตัวได้แต่เงินก็อาจจะไม่ได้คืน รู้แบบนี้อย่าลืมย้อนกลับไปอ่าน 5 ข้อบน เตรียมพร้อมรับมือกับ แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ เอาไว้ จะได้ไม่เสียค่าโง่ ตกเป็นเหยื่อ ด้วยความหวังดีนะคะ