"Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล" งานสัมมนาเพื่อส่งต่อความรู้และแชร์แนวทางที่แต่ละฝ่ายจะร่วมสร้างอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ จากความร่วมมือของสื่อในเครือเนชั่น ฐานเศรษฐกิจ, กรุงเทพธุรกิจ และสปริงนิวส์
เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจประเทศ แต่อนาคตของประเทศไทยจากการพัฒนา เศรษฐกิจดิจิทัล จะก้าวไปในทิศทางใด? งานสัมมนา Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 จะทำให้คุณเข้าใจความเปลี่ยนแปลงและเห็นภาพอนาคตที่เปลี่ยนไปจากการใช้เครื่องมือดิจิทัล ผ่านการปาฐกถาพิเศษ "เศรษฐกิจดิจิทัล อนาคตประเทศไทย" โดย ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า
- เสาหลักของเศรษฐกิจประเทศไทยคือ เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งในไทยมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ทั้งไฟเบอร์ บรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้การใช้ชีวิต การทำงาน ทำธุรกิจ เปลี่ยนไป เช่น การนำคลาวด์มาใช้ประโยชน์ มีระบบบล็อกเชน และในอนาคตก็จะมี Web 3.0
- เนื่องจากมีการใช้เครื่องมือดิจิทัลเพิ่มขึ้นทั่วโลก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ก็เข้าโจมตีทุกระดับ แต่ด้วยการกำกับดูแล ป้องกันภัยคุกคาม แม้ประเทศไทยเคยประสบปัญหาด้านไซเบอร์แต่ก็ไม่ถึงขั้นทำให้ประเทศต้องหยุดชะงัก
- Metaverse จะทำให้โลกเปลี่ยนไป ภายในไม่กี่ปีนี้จะมีการติดต่อสื่อสาร ทำธุรกิจใน Metaverse มีการใช้คริปโทเคอร์เรนซี โดยในขณะนี้ ภาครัฐและเอกชนเริ่มพัฒนา Metaverse นำร่องที่ภูเก็ต ให้ผู้สนใจเข้าไปซื้อสินค้าได้ ทำธุรกิจได้ ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลได้ และเพื่อไม่ให้เอารัดเอาเปรียบกันก็จะมีการออกกฎหมายมารองรับการใช้ชีวิตในโลกเสมือน
Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล เราจะได้อะไรจากภาครัฐ?
dbook แพลตฟอร์มเสริมทักษะความรู้ด้านดิจิทัล เตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอม
- กระทรวงดิจิทัลฯ กำลังทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการพัฒนา Digital ID เพื่อให้ประชาชนทำทุกอย่างผ่านทางออนไลน์ได้ภายในปีนี้ และการกำกับดูแล Digital Platform ต่างประเทศ เช่น Lazada, Shopee ทั้งเรื่องจดแจ้งการประกอบธุรกิจ การออกมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคชาวไทย
- ในด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงฯ ร่วมส่งเสริมสตาร์ทอัพด้วยการจัดทำ บัญชีนวัตกรรมไทย โดยสตาร์ทอัพที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมสามารถนำผลิตภัณฑ์ไปขายให้แก่หน่วยงานรัฐได้โดยไม่ต้องยื่นเรื่องหรือเขียน TOR โครงการจัดจ้าง เช่น สตาร์ทอัพ QueQ ที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมภาครัฐแล้ว หน่วยงานรัฐ เช่น อุทยานแห่งชาติ สามารถซื้อบริการจากสตาร์ทอัพได้ทันที เป็นการลดขั้นตอนการทำงานและอำนวยความสะดวกให้ประชาชน
- เรื่องล่าสุดที่รัฐบาลทำ คือ ยกเลิก Capital Gain Tax เนื่องจากนักลงทุนที่ได้กำไรจากหุ้นในไทยต้องเสียภาษี 15% ในขณะที่สิงคโปร์ไม่เก็บภาษีนี้ สตาร์ทอัพไทยจึงไปจดทะเบียนที่สิงคโปร์กันมาก นักลงทุนหลายชาติก็ไปลงทุนในสิงคโปร์เช่นกัน รัฐบาลจึงมีมติให้ยกเลิก Capital Gain Tax เพื่อส่งเสริมให้เกิดการระดมทุนในสตาร์ทอัพไทยมากขึ้น ร่วมกับการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ
หลังจากจบปาฐกถาก็เข้าสู่ช่วง Special Talk ต่อด้วย Panel Discussion และปิดท้ายด้วย Special Talk อีกครั้งโดยผู้บริหารองค์กรเอกชนเบอร์ต้นๆ ของประเทศ
Special Talk : Digital Global Trend โดย อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บจ.หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย)
Panel Discussion : Digital Thailand Competitiveness นำโดย
- ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
- พล.อ.ท. ดร. ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
และ Special Talk : Digital Transformation Empower your Business โดย
- ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป AIS
- ฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค
- เอกราช ปัญจวีณิน กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจดิจิทัลโซลูชัน บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด
- พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บลูบิค กรุ๊ป (Bluebik)
- ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด
- ปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย