ดีแทค ประกาศผล 5 ทีมเยาวชนที่ผ่านการประชันสุดยอดไอเดีย "ใช้เทคโนโลยีจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์" จากเวที dtac Young Safe Internet Leaders’ Cyber Camp ปี 4 แต่ละทีมนั้น ไอเดียดีเลยทีเดียว
หลังจากที่เยาวชนทั้ง 200 คนจากผู้สมัครทั้งหมด 1,178 คน ได้เข้าแคมป์ Young Safe Internet Leader Cyber Camp ใน Metaverse 3 สัปดาห์ ผ่านการเรียนใน bootcamp และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาไอเดียสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมใน Cyber-security sandbox พบว่า เยาวชนที่มีโครงงานดีที่สุด และสามารถลงมือปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง และประกาศผล 5 ทีมที่ได้รับเลือกให้เป็นทีมผู้ชนะ ผ่านการ Pitching ใน Metaverse ดังนี้
เว็บแอปพลิเคชันที่ให้ผู้ใช้เข้ามาระบายอารมณ์และความรู้สึกผ่านการพิมพ์ข้อความ โดยมีเพียงผู้ที่ระบายความรู้สึกเห็นข้อความเหล่านั้นเพียงคนเดียว เพื่อความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและป้องกันปัญหาเรื่อง Negative Digital Footprint
แต่เว็บไซต์ไม่ได้เป็นเพียงช่องทางระบายความรู้สึกเท่านั้น เพราะระบบจะเปลี่ยนข้อความ Negative ให้เป็นรูปภาพ แล้วนำเรื่องของศิลปะเข้ามาดึงดูด - เบี่ยงเบนความสนใจเพื่อให้ความรู้สึกด้านลบของผู้ใช้งานหายไป
นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกต่างๆ เช่น คำคม กีฬา หนังสือ เพื่อเป็นการสร้างเสียงหัวเราะและเป็นการแนะนำและให้ความรู้กับผู้ที่เข้ามาใช้เว็บไซต์ร่วมด้วย
เนื่องจากผู้ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ถึง 95% ไม่อ่านข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้งาน คำแนะนำ และคู่มือที่มีหลายหน้ามาก ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ทีมจึงเสนอการแก้ปัญหาโดยการจัดระบบข้อมูลไปวางในหน้าเว็บไซต์นั้น และสร้าง PS TaC นวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านเพื่อทำความเข้าใจข้อกำหนดและเงื่อนไขได้ดียิ่งขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น
ปัญหาการแอบอ้างรับเงินบริจาค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินจำนวนไม่มาก ผู้บริจาคจึงให้โดยไม่คิดหรือหวังผลอะไร ทีมจึงคิดเว็บไซต์ที่เข้ามาช่วยเติมเต็มความช่วยเหลือ โดยการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องและช่วยตรวจสอบ รวบรวมข้อมูลผู้รับบริจาค เพื่อตัดมิจฉาชีพออกจากวงจรการบริจาค และให้ชื่อเว็บไซต์ ว่า เติมเต็ม
เติมเต็ม จะรวบรวมชื่อของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในตัวบุคคล (ไม่ใช่องค์กร/กิจกรรม) โดยข้อมูลผู้ต้องการรับบริจาคหรือรับความช่วยเหลือจะต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ต้องการรับบริจาค ชุมชน หรือผู้ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้อง เพื่อรับรองว่า ต้องการความช่วยเหลือจริง และเมื่อยื่นเรื่องผ่านข้อกำหนดก็จะมีการนำชื่อ/บัญชี/ยอด/รายละเอียด ไปลงในเว็บไซต์ต่อ เพื่อแสดงความโปร่งใส ร่วมกับการป้องกันหรืออุดช่องโหว่ที่มิจฉาชีพอาจลักลอบเข้ามาได้
ผลสำรวจจาก ETDA ในปี 2564 พบว่า Gen Z คือกลุ่มคนที่เล่นโซเชียลมีเดียมากที่สุด ซึ่งทำให้มีโอกาสถูกโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทีมดีแทคดีใจ จึงภูมิใจนำเสนอ เกม Simulation ในรูปแบบ Metaverse ที่ให้ผู้เล่นสามารถจำลองการใช้ชีวิตและสถานการณ์การถูกโจมตีทางไซเบอร์ผ่านสาขาอาชีพต่างๆ อาทิ YouTuber, Graphic Designer, Online Seller เพื่อให้ผู้เล่นสามารถเรียนรู้วิธีการป้องกันการถูกโจมตีทางไซเบอร์
ทั้งนี้ ทีมดีแทคดีใจยังชี้ให้เห็นถึง 3 เหตุผลที่เลือกพัฒนาเกมบนโลก Metaverse คือ หนึ่ง เพราะเป็นแพลตฟอร์มโลกเสมือนจริงที่ผู้ใช้งานสามารถจำลองสถานการณ์ได้ดีที่สุด สอง เป็นสื่อสมัยใหม่ที่มีความน่าสนใจ และสาม มีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคต
ทีมนี้เผยแพร่ข้อมูลจาก dtac Safe Internet ที่ระบุว่า 86.6% ของชาวเน็ตจำนวน 580 คน มักจะไม่ตรวจสอบ URL link ว่าเป็น URL จากมิจฉาชีพหรือไม่ ดังนั้น ทีมจึงนำเสนอนวัตกรรมในลักษณะ Bot และ Chatbot ชื่อ น้องเตือนใจ โดยจะฝังตัวอยู่ใน Chat Application ซึ่งจะคอยแจ้งเตือนทุกครั้งเมื่อ URL link ปลอม แฝงเข้ามาอยู่ในบทสนทนา
ยังไม่หมดเท่านี้ เพราะมีไอเดียน่าสนใจจาก 5 ทีมเยาวชนที่นำเสนอในงานและเราอยากให้คุณรู้ว่านี่คือไอเดียของเยาวชนไทย ได้แก่
1. 8สหาย84000เซลล์ - เชื่อมต่อเทคโนโลยี Biometric กับอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข
2. CyberGOAT – แอปพลิเคชันที่จะพาผู้ใช้งานท่องโลกความปลอดภัยทางไซเบอร์ในรูปแบบเกม 3 มิติ
3. Secure Security Society (SSS) – คอมมิวนิตี้ของคนรักกิจกรรมที่มอบ Reward ในรูปแบบ NFT certificate
4. Kab kab – นำเสนอควิซ Cyberpath วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งผ่านประเด็น Cybersecurity
5. นํ้าไหลไฟดูด – ซอฟต์แวร์ที่จะปกป้องทุกคนให้ปลอดภัยจาก Phishing