svasdssvasds

คณะก้าวหน้า จัดแถลงข่าวเตรียมเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น"

คณะก้าวหน้า จัดแถลงข่าวเตรียมเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น"

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะ ก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. …. หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมเตรียมเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น"

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ที่อาคารอนาคตใหม่ แขวงหัวหมาก เขตบางกระปิ กรุงเทพฯ คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัว ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. …. หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเตรียมยื่นต่อประธานรัฐสภาพร้อมรายชื่อผู้เชิญชวน ไม่น้อยกว่า 20 คน  ตาม พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2564 และเตรียมเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น" เริ่มเข้าชื่อทั้งในรูปแบบการเดินสายไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ และทั้งแบบออนไลน์ในวันที่ 1 เมษายน นี้

คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น"

คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น" คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น" คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น"

ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวว่า ประเทศไทยพูดเรื่องกระจายอำนาจมากนานกว่า 30 ปี  รัฐธรรมนูญ 2540 ได้วางหลักการกระจายอำนาจไว้จนถึงวันนี้ 25 ปีแล้ว แต่การกระจายอำนาจยังไปไม่ถึงไหน โดยรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้ทำให้การกระจายสะดุดลง ขณะที่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ได้ทำให้เรื่องการกระจายอำนาจถอยหลังลงคลอง และรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นผลพวงจากรัฐประหารครั้งล่าสุดนั้น แม้จะมีหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละมาตราแล้ว หลักการกระจายอำนาจ หลักความเป็นอิสระ การปกครองตนเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่อาจเกิดขึ้นได้จริงหากเดินตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แม้ที่ผ่านมาจะมีการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท). มาทุกระดับ และในปลายเดือนพฤษภาคมนี้จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและนายกเมืองพัทยา แต่การเลือกตั้งท้องถิ่นเพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าการกระจายอำนาจสมบูรณ์หรือไม่ เพราะต้องดูเรื่องความเป็นอิสระ เรื่องอำนาจหน้าที่การจัดทำบริการสาธารณะ เรื่องงบประมาณการเงินการคลัง และเรื่องการที่ราชการส่วนกลางแค่กำกับดูแลไม่ใช่บังคับบัญชาหรือสั่งการอย่างที่เป็นอยู่ในตอนนี้ด้วย

คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น" คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น" คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น" คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น" คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น"

ด้าน ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า กล่าวว่า ถ้าถามว่าทำไมเราต้องรณรงค์เรื่องกระจายอำนาจ ตนอยากตอบด้วยภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในประเทศไทย ที่ปัจจุบันบริหารโดย อปท. ทุกที่มีมาตรฐานเดียวกันหมด คือ หนังสือนิทานเก่า ขาด, สนามเด็กเล่นเก่า อันตราย, ครัวสกปรก ห้องน้ำไม่มีชักโครกสำหรับเด็ก ฯลฯ แต่ถ้าลองดูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในประเทศเกาหลีใต้ จะเห็นว่าสะอาด น่าใช้งาน ปลอดภัย มีไฟส่องสว่าง ประชาชนเข้าถึงได้ทุกคน  ทั้งๆ ที่บริหารโดยท้องถิ่นเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยเราถ้าจะเห็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแบบนี้ก็มี แต่ทว่าเป็นของเอกชน นั่นหมายความว่า จะมีแต่ลูกหลานคนมีฐานะเท่านั้น ต้องเป็นคนร่ำรวยเท่านั้นถึงจะเข้าถึงบริการแบบนี้ได้ ทั้งนี้ เราคงเคยได้ยินหลายคนพูดกันว่าเด็กปฐมวัย เป็นวัยที่สำคัญต่อพัฒนาการ การเจริญโตทั้งร่างกายสติปัญา ต้องลงทุนกับเด็กปฐมวัยจึงจะตอบโจทย์ที่สุด แต่เมื่อดูสิ่งที่เกิดขึ้น เหมือนนี่จะเป็นแค่คำพูดสวยหรู เป็นแค่สโลแกนแปะข้างฝา คำถามคือ อะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรคทำให้เราสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแบบต่างประเทศไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องเงิน เพราะใช้ 3-4 ล้านลงทุนก็สามารถทำได้เท่ากับประเทศมาตรฐานแล้ว  เราเชื่อว่าสิ่งที่เป็นปัญหา เป็นอุปสรรค คือโครงสร้างรัฐที่เป็นปัญหา  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ถนนหนทาง สวนสาธารณะ การจัดการขยะ การจัดการสิ่งแวดล้อม การป้องกันสาธารณภัย การจัดงานประเพณีท้องถิ่น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ดีกว่านี้ได้ เทียบเคียงประเทศพัฒนาแล้วได้ ถ้ามีการปฏิรูประบบรัฐราชการ และนี่คือเหตุผลที่ทำให้เรารณรงค์ในครั้งนี้

คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น" คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น" คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น" คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น" คณะก้าวหน้า แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ "ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น"

related