ขณะนี้ 97% ของพื้นที่ทั่วโลกได้พบกับมลภาวะทางอากาศและหลีกหนีไม่พ้น สถิติได้ทำให้เราเห็นว่าทั่วโลกกำลังอยู่กับอากาศอันตราย เนื่องจากไม่มีประเทศใดที่บรรลุมาตรฐานคุณภาพอากาศของ WHO ในปี 2564
มลภาวะทางอากาศปฎิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถยนต์หรือยานพาหนะ การเผาไหม้ขยะ พื้นที่การเกษตร จนย้อนกลับมาเป็นมลภาวะสิ่งแวดล้อม
องค์กรอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่า 9 ใน 10 ของประชากรโลก ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐาน โดยคุณรู้หรือไม่ว่ามีคนเสียชีวิตกว่า 1 ล้านคนต่อปี จากมลภาวะทางอากาศ
ซึ่งทำให้เราเห็นว่า โครงการต่างๆที่รณรงค์เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศหรือนโยบายต่างๆที่ช่วยให้อากาศสะอาดขึ้นนี้สามารถช่วยยืดอายุของผู้คนได้
ยิ่งในประเทศไทย มีการศึกษาชี้ว่า มลพิษทางอากาศคือภัยคุกคามใหญ่ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับ โฮจิมินห์และจาร์กาตา
ค่ามาตรฐานในบรรยากาศทั่วไปของ PM 2.5 เฉลี่ยรายปีของประเทศไทยอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนองค์การอนามัยโลก(WHO)เสนอให้ค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ซึ่งเป็นเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของมนุษย์ให้มากที่สุดจากฝุ่น PM2.5 ขณะเดียวกันจะช่วยยืดอายุขัยมนุษย์เฉลี่ย 2.2 ปี
การศึกษาเตือนว่ามลภาวะในอากาศถูกละเลยในฐานะปัญหาด้านสาธารณสุข โดยเงินทุนในการแก้ไขปัญหายังไม่เพียงพอและหากยังเป็นแบบนี้อาจหาทางแก้ไม่ทัน และเกิดการเสียชีวิตขึ้นได้ในอนาคต
เครือข่ายอากาศสะอาดประเทศไทย ภาคีเครือข่าย สหภาพ ชุมชน เอกชน นักวิชาการ และประชาชน จะนำแถลงการณ์เรียกร้องอย่าปัดตกร่างพรบ.อากาศสะอาดฉบับเครือข่ายอากาศสะอาดฯ ไปยื่นให้ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อพัฒนาอากาศในประเทศไทยให้ดีขึ้นกว่าเดิม
แม้ว่าเรายังจะไม่ได้แก้ไขได้ทันท่วงที ประชาชนก็หันมาใช้พลังงานทางเลือกแทนพลังงานเดิมได้ไม่ยากแล้วในปัจจุบัน เช่น หันมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ติดแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้าน ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งผลิตเดิม ใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม และอื่นๆอีกมากมายที่ลงมือทำได้ทันที