svasdssvasds

การแข่งขันฟุตบอลครั้งประวัติศาสตร์ อังกฤษ ให้ ‘ทีมคนดำ’ แข่งกับ ‘ทีมคนขาว’

การแข่งขันฟุตบอลครั้งประวัติศาสตร์ อังกฤษ ให้ ‘ทีมคนดำ’ แข่งกับ ‘ทีมคนขาว’

‘BLACK vs. WHITE’ แมตช์ฟุตบอลครั้งประวัติศาสตร์ เมื่ออังกฤษ ให้ ‘ทีมคนดำ’ แข่งกับ ‘ทีมคนขาว’ สุดท้ายนักฟุตบอลผิวดำคว้าชัยชนะ !

SHORT CUT

  • ปี 1970 “สโมสรฟุตบอล "เวสต์บรอมวิช (West Bromwich Albion)" จัดการแข่งขันฟุตบอลที่ ทีมคนผิวดำล้วน แข่งกับทีมคนผิวขาวล้วน
  • ผลที่ออกมาคือ ทีมผู้เล่นผิวขาว แพ้ให้กับที่ผู้เล่นผิวดำไป 3 ประตูต่อ 2 ซึ่งนับว่าพลิกล็อคจากที่ทุกฝ่ายคาดการณ์ไว้
  • ปัจจุบันผู้คนยังมีความคิดเรื่องเหยียดเชื้อชาตินักฟุตบอล ไม่ต่างอะไรกับ 50 ปีที่แล้ว เพียงแต่คนเหล่านี้เปลี่ยนจากแสดงออกในที่สาธารณะ ไปแสดงออกในโลกออนไลน์มากขึ้น

 

‘BLACK vs. WHITE’ แมตช์ฟุตบอลครั้งประวัติศาสตร์ เมื่ออังกฤษ ให้ ‘ทีมคนดำ’ แข่งกับ ‘ทีมคนขาว’ สุดท้ายนักฟุตบอลผิวดำคว้าชัยชนะ !

ฟุตบอลคือกีฬาที่เชื่อมคนทั้งโลกให้มาอยู่ใกล้กัน คือการแข่งขันที่เท่าเทียม ไม่แบ่งแยกชนชั้นหรือสีผิว แต่มีการแข่งขันครั้งหนึ่งในวงการฟุตบอลที่ต่างไปจากนิยามนั้น และไม่มีบันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์แม้แต่น้อย

แมตช์นั้นเกิดขึ้นที่อังกฤษปี 1979 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลสุดพิเศษ ที่หากเกิดขึ้นในเวลานี้ อาจทำให้เกิดการประท้วง หรือการจลาจลครั้งใหญ่ได้ เพราะเวลานั้น “สโมสรฟุตบอล "เวสต์บรอมวิช (West Bromwich Albion)" จัดการแข่งขันฟุตบอลที่ ทีมคนผิวดำล้วน แข่งกับทีมคนผิวขาวล้วน

โดยสาเหตุที่เกิดแมตช์นี้ยังคงเป็นปริศนา แต่บางข่าวบอกว่า เป็นเพราะเวสต์บรอมวิชต้องการจัดการแข่งขันภายในสโมสรเพื่อเป็นเกียรติแก่ “เล็น แคนเทลโล (Len Cantello)” นักเตะของเวสต์บรอมมิช ที่ลงแข่งให้กับสโมสรมากกว่า 300 ครั้ง

แต่ไม่ว่า ไอเดียการแข่งขันครั้งนี้จะมาจากอะไร การแบ่งผู้เล่นเป็นคนดำ 11 คน และคนขาว 11 คน ก็ดูเป็นการเหยียดเชื้อชาติชัดเจน แต่ในตอนนั้นทั้งผู้เล่นและแฟนบอล ต่างก็มองว่าเป็นเรื่องปกติ และเหตุการณ์กองเชียร์ผิวขาวเหยียดหยามผู้เล่นผิวดำในสนาม ก็ถือเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป 

ในการแข่งขันครั้งนั้น จึงเป็นเหมือนเกม ‘BLACK vs. WHITE’ โดยตรง ซึ่งสำหรับทีมขนขาว มันเป็นแค่เกมสนุกสนานเท่านั้น แต่สำหรับทีมคนดำเกมนี้อาจดูเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี เพราะมันชัดเจนว่าพวกเขาถูกแบ่งแยกผิวสี แม้จะอยู่ในสโมสรเดียวกัน ดังนั้นมันจึงเป็นเกมที่ต้องชนะเท่านั้น

ผลที่ออกมาคือ ทีมผู้เล่นผิวขาว แพ้ให้กับที่ผู้เล่นผิวดำไป 3 ประตูต่อ 2 ซึ่งนับว่าพลิกล็อคจากที่ทุกฝ่ายคาดการณ์ไว้

ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนเผยว่า ช่วง 4 เดือนก่อนการแข่งขันเริ่ม ทางผู้ร่วมจัด เริ่มกังวลว่า เกมฟุตบอลคนผิวขาว พบ คนผิวดำครั้งนี้ อาจทำให้บางกลุ่มเกิดความไม่พอใจ และเวสต์บรอมวิชควรคิดหาวิธีทำเงินเข้ากระเป๋าให้เหมาะสมกว่านี้

แต่หลังจากการแข่งขันจบลง “เบรนดอน แบตสัน (Brendon Batson)” หนึ่งในผู้เล่นทีมผิวดำ ให้สัมภาษณ์ว่า ทีมของเขาไม่มีใครลังเล หรือรู้สึกไม่สบายใจระหว่างเล่นเกมนี้เลย ส่วน “การ์ธ ครุกส์ (Garth Crooks) ” เพื่อนในทีมอีกคนเผยว่า มันเป็นเพียงการเล่นฟุตบอลกับเพื่อนร่วมอาชีพเท่านั้น และเขาก็ภูมิใจมากที่ได้เล่นในแมตช์นั้น

ส่วนทางด้าน “บ็อบ ฮาเซลล์ (Bob Hazell) ” นักฟุตบอลผิวดำ ที่เวลานั้น สังกัดอยู่สโมสรฟุตบอลวูล์ฟแฮมตัน แต่ถูกเชิญมาร่วมเกม ‘BLACK vs. WHITE’ ด้วย ก็เล่าว่า เขารักอาชีพฟุตบอล และมีความสุขบนถนนสายนี้มาก ทุกครั้งที่โดนคนข้างสนามเหยียด เขาจะไม่เก็บเอาคิดให้เป็นแผลต่อที่บ้าน เพราะทุกครั้งที่เกมจบและก้าวเท้าออกจากสนาม เขาจะทิ้งคำเหยียดให้จบลงที่นั่น ไม่เอามาพกติดตัว”

การแข่งขันฟุตบอลครั้งประวัติศาสตร์ อังกฤษ ให้ ‘ทีมคนดำ’ แข่งกับ ‘ทีมคนขาว’

การเหยียดเชื้อชาติยังคงอยู่ในวงการฟุตบอล

แม้ปัจจุบันจะไม่มีการจัดแข่งขันแบบแยกผิวสีเหมือนในปี 1979 แล้ว แต่การเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติไม่ได้หายไปจากวงการฟุตบอลแต่อย่างใด

Kick It Out องค์กรเพื่อความเท่าเทียมในวงการฟุตบอลเผยว่า การเหยียดเชื้อชาติ ในเกมฟุตบอลระดับสมัครเล่น และเกมฟุตบอลอาชีพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ใน่ช่วงปี 2019 – 2020 โดยมีการล่วงละเมิดต่อบุคคลและการเหยียดเชื้อชาติทางออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย เพราะการระบาดของ “โควิด -19 (Covid-19)” ทำให้ไปดูบอลที่สนามไม่ได้

ในเกมฟุตบอลยูโรปี 2020 นักฟตุบอลทีมชาติอังกฤษ อย่าง ‘จาดอน ซานโช (Jadon Sancho)’ , ‘มาร์คัส แรชฟอร์ด (Marcus Rashford)’ และ ‘บูกาโย ซากา (Bukayo Saka)’ ต่างก็ถูกเหยียดจากเพื่อนร่วมชาติเพียงเพราะยิงจุดโทษไม่เข้า

ส่วนในปี 2022-2023 Kick It Out ได้รับรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติในวงการฟุตบอลถึง 1,007 ฉบับ ซึ่งเพิ่มขึ้น 65.1% จากฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งปัญหาการเหยียดเชื้อชาติ ยังคงเป็นรูปแบบการเลือกปฏิบัติที่พบบ่อยที่สุดในเกมฟุตบอลทุกระดับ

Kick It Out กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่ง ที่ผู้คนยังมีความคิดเรื่องเหยียดเชื้อชาตินักฟุตบอล ไม่ต่างอะไรกับ 50 ปีที่แล้ว เพียงแต่คนเหล่านี้เปลี่ยนจากแสดงออกในที่สาธารณะ ไปแสดงออกในโลกออนไลน์มากขึ้น

ที่มา : BBC / My London

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related