svasdssvasds

เกาะกูด เสียดินแดนกี่โมง กรณีพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด

เกาะกูด เสียดินแดนกี่โมง กรณีพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด

เกาะกูด เสียดินแดนกี่โมง กรณีพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด ไทย กัมพูชา รากเหง้าความขัดแย้งจากฝรั่งเศสหรือเพียงกระแสปลุกปั่น

SHORT CUT

  • กาะกูด ได้กลายมาเป็นประเด็นร้อนที่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา เมื่อพรรคร่วมรัฐบาลได้ยก MOU 2544 หรือบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ทับซ้อนในไหล่ทวีป 2544 มาชี้ว่าอาจเป็นชนวนทำให้ไทยเสียเกาะกูดให้กัมพูชา
  • ในส่วนเขตแดนทางทะเล ฮุน มาเนตกล่าวว่ากัมพูชาและไทยยังไม่เคยบรรลุข้อตกลงในส่วนนี้ แม้จะมีการเจรจาหลายครั้ง การไม่มีข้อตกลงหมายความว่าไม่มีการสูญเสียดินแดน ดังนั้น ในประเด็นที่มีการกดดันให้รัฐบาลยื่นเรื่องต่อ ICJ จึงเป็นอันตกไป
  • แต่ไม่ว่าข้อพิพาทที่ยืดเยื้อนี้จะจบลงอย่างไร รัฐบาลทั้งสองประเทศล้วนแสดงจุดยืนเน้นย้ำการใช้กลไกทางการทูตและสันติวิธีในการจัดการพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว เพื่อรักษาเสถียรภาพและไม่ทำพื้นที่พิพาท 26,000 กิโลเมตรนี้ กลายเป็นชนวนความขัดแย้งที่บานปลาย

เกาะกูด เสียดินแดนกี่โมง กรณีพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด ไทย กัมพูชา รากเหง้าความขัดแย้งจากฝรั่งเศสหรือเพียงกระแสปลุกปั่น

ช่วงเดือนที่ผ่านมา เกาะกูด ได้กลายมาเป็นประเด็นร้อนที่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา เมื่อพรรคร่วมรัฐบาลได้ยก MOU 2544 หรือบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ทับซ้อนในไหล่ทวีป 2544 มาชี้ว่าอาจเป็นชนวนทำให้ไทยเสียเกาะกูดให้กัมพูชา และเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก MOU ดังกล่าว พร้อมจุดกระแสสังคมให้สนใจประเด็นความล่าช้าในการดำเนินการเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างสองอาณาจักร ซึ่งยืดเยื้อมายาวนาน ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้เสียที ประเด็นเรื่องเกาะกูดและพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ยังถูกใช้เป็นเชื้อไฟในข่าวปลอมมากมายที่อ้างว่า ไทยอาจจะกำลังเสียอธิปไตยให้กัมพูชา
เกาะกูด เสียดินแดนกี่โมง กรณีพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด

ในความเป็นจริง เกาะกูด ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 65,625 ไร่  ตั้งอยู่ในทะเลอ่าวไทยทางตะวันออกของจังหวัดตราด ใกล้ชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ไม่ใช่ “พื้นที่ทับซ้อน” ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างสองประเทศ เพียงถูกใช้เป็นจุดสังเกตในการระบุอาณาเขตทางทะเลเท่านั้น โดยกัมพูชาเองก็ยอมรับตามแผนผังแนบท้าย MOU 2544 ที่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเกาะกูดอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย ส่วนพื้นที่ที่เป็นข้อพิพาทที่ทั้งสองประเทศอ้างสิทธิ์ คือ “พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล” ที่มีขนาดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร โดยทั้งสองประเทศ ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้แม้มีการเจรจามายาวนานตั้งแต่ความพยายามครั้งแรกในปี 2513

เกาะกูด เสียดินแดนกี่โมง กรณีพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด

MOU ที่ถูกเซ็นเมื่อปี 2544 ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ไม่ใช่การยอมรับการอ้างสิทธิ์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นเพียงจุดตั้งต้นที่ทั้งสองประเทศใช้ในการเจรจาการเจรจาเพื่อพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนและเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การเจรจาทางการยังคงยืดเยื้อมากว่า 20 ปี โดยหนึ่งในสาเหตุที่การตกลงพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเป็นไปได้อย่างยากลำบากก็เนื่องมาจากศักยภาพทางทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น ก๊าซธรรมชาติ ที่คาดการณ์ว่าอาจมีมูลค่าเป็นหลักล้านล้านบาท – ผลประโยชน์มหาศาลใต้พื้นที่ทับซ้อนนี้ ยังไม่สามารถถูกนำขึ้นมาใช้ได้โดยฝ่ายใด

เกาะกูด เสียดินแดนกี่โมง กรณีพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด

ที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งกลไกการเจรจาอย่างเป็นทางการหลังจากเซ็น MOU เช่น คณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วม (JBC) ที่รับผิดชอบเขตแดนทางบก และคณะกรรมการเทคนิคร่วม (JTC) สำหรับเขตแดนทางทะเล แม้การเจรจาจะไม่มีการบรรลุข้อตกลง แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไทยและกัมพูชาจัดการกรณีดังกล่าวโดยสันติวิธี โดยใช้แนวทางทางการทูตและการเจรจาทางการ เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ

ไทยยืนยัน “เกาะกูด” ของไทย 100%

ความขัดแย้งและข่าวปลอมชาตินิยมที่กระทุ้งให้คนตื่นกลัวว่าไทยจะเสียดินแดนให้กัมพูชา ทำให้รัฐบาลทั้งสองประเทศต้องออกมารับมือกับประเด็นร้อนดังกล่าว ในฝั่งไทย แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ย้ำว่าเกาะกูดเป็นของไทย โดยทั้งสองประเทศ รับรู้ร่วมกันมายาวนานตั้งแต่สนธิสัญญาที่ฝรั่งเศสทำไว้เมื่อปี 2450 นางสาวแพทองธารย้ำว่า รัฐบาลจะไม่ยอมเสียพื้นที่ของประเทศไทยแม้แต่ตารางนิ้วเดียวไปให้ใครก็ตาม

“เกาะกูด ไม่เคยมีปัญหากับทางกัมพูชา และไม่เคยมีข้อสงสัยในเรื่องนี้ อาจจะเกิดความเข้าใจผิดกันของคนในประเทศไทยเอง  ซึ่งความจริงแล้วขอให้มั่นใจได้ว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย “ นายกรัฐมนตรีกล่าว

เกาะกูด เสียดินแดนกี่โมง กรณีพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด

นอกจากนี้ นายกฯ ยังได้ตอบโต้ขอเรียกร้องที่ให้ยกเลิก MOU  44 โดยระบุว่า MOU 44 เป็นกรอบให้ทั้งสองประเทศเจรจากันอย่างเท่าเทียม และเป็นข้อตกลงระหว่างไทยและกัมพูชา ไม่สามารถยกเลิกได้โดยฝ่ายเดียว เนื่องจากจะขัดต่อกฎหมายและอาจถูกกัมพูชาฟ้องร้อง ยืนยันว่าการยกเลิกไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเข้าใจหลักการและข้อเท็จจริง

กัมพูชาย้ำยึดการเจรจาทางการทูต

ขณะที่ในกัมพูชา ก็มีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศว่าเกาะกูด อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา อย่างไรก็ตามรัฐบาลกัมพูชาเลือกที่จะสงวนท่าทีต่อประเด็นดังกล่าว เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน มาเนต ได้กล่าวว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกัมพูชา ต้องได้รับการจัดการอย่างรอบคอบ แม้รัฐบาลกัมพูชาจะถูกบางฝ่ายกดดันให้นำเรื่องเข้าสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) แต่ฮุน มาเนตย้ำว่า รัฐบาลเลือกที่จะสงวนท่าที ไม่แสดงออกใด ๆ เพราะรัฐบาลยืนอยู่บนสองหลักการ คือ ความเป็นผู้ใหญ่ทางการเมือง (political maturity) และความรับผิดชอบต่อชาติ (national responsibility)

ฮุน มาเนตเน้นย้ำความสำคัญของการเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่างสองประเทศในเรื่องการปักปันเขตแดน และชี้ว่าเรื่องที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้ควรได้รับการจัดการผ่านช่องทางที่เป็นทางการ ไม่ใช่ผ่านสื่อหรือสื่อสังคมออนไลน์

เกาะกูด เสียดินแดนกี่โมง กรณีพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด

“คำพูดของรัฐบาลมีน้ำหนัก เราควรไปยุ่งกับกิจการของประเทศอื่นหรือไม่ พวกเขาปกป้องสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นของพวกเขา ฝ่ายหนึ่งบอกว่าตนเสียดินแดนไป อีกฝ่ายบอกว่าไม่ ทำไมเราต้องเพิ่มปัญหาเข้ามาในบ้านของเราเองโดยไม่จำเป็น การกระทำอย่างบุ่มบ่ามอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งโดยไม่จำเป็น" ฮุน มาเนตกล่าว

นายกรัฐมนตรีกัมพูชาระบุว่ากัมพูชาและไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมสองชุดเป็นกลไกเหล่านี้ในการเจรจาอย่างเป็นทางการ คือ คณะกรรมการเขตแดนร่วม Joint Border Commission (JBC) สำหรับพรมแดนทางบก และคณะกรรมการเทคนิคร่วม Joint Technical Committee (JTC) สำหรับพรมแดนทางทะเล

ฮุน มาเนตยังเผยว่าการเจรจาพรมแดนทางบกตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยามปี 2450 ครอบคลุม 805 กิโลเมตร และ 73 หลักเขตแดน โดยตกลงได้แล้ว 42 หลักจาก 18 ปีของการเจรจา อีก 31 หลักยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

เกาะกูด เสียดินแดนกี่โมง กรณีพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด

ในส่วนเขตแดนทางทะเล ฮุน มาเนตกล่าวว่ากัมพูชาและไทยยังไม่เคยบรรลุข้อตกลงในส่วนนี้ แม้จะมีการเจรจาหลายครั้ง การไม่มีข้อตกลงหมายความว่าไม่มีการสูญเสียดินแดน ดังนั้น ในประเด็นที่มีการกดดันให้รัฐบาลยื่นเรื่องต่อ ICJ จึงเป็นอันตกไป พร้อมย้ำว่ารัฐบาลมุ่งมั่นปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพของดินแดนผ่านกลไกสันติภาพและการใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค และชี้ว่าสำนักเลขาธิการกิจการชายแดนมีความพร้อมในการเจรจากับไทยอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกัมพูชายังระบุว่าพื้นที่ดินแดนของกัมพูชาอาจใหญ่กว่าตัวเลขอย่างเป็นทางการที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร โดยอ้างผลการทดลองวัด GPS ในปี 2012 ที่ชี้ว่าอาจมีขนาดถึง 181,436 ตารางกิโลเมตร.

แต่ไม่ว่าข้อพิพาทที่ยืดเยื้อนี้จะจบลงอย่างไร รัฐบาลทั้งสองประเทศล้วนแสดงจุดยืนเน้นย้ำการใช้กลไกทางการทูตและสันติวิธีในการจัดการพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว เพื่อรักษาเสถียรภาพและไม่ทำพื้นที่พิพาท 26,000 กิโลเมตรนี้ กลายเป็นชนวนความขัดแย้งที่บานปลายไปกว่านี้ หลายฝ่ายยมองว่าทางออกที่เป็นไปได้อีกทาง คือ จัดการเหมือนกรณีข้อพิพาทไทย-มาเลเซีย ซึ่งแม้จะไม่สามารถตกลงกำหนดเขตไหล่ทวีปได้ แต่ก็ลงนามแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันได้

อ้างอิง

ฐานเศรษฐกิจ / รัฐบาลไทย / PhnompenhPost1PhnompenhPost2 /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related