จบกันไปแล้วกับการประชุม COP26 เพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนของเหล่าผู้นำโลก ใครยังไม่รู้ว่า COP26 คืออะไร? หรือมันเกิดอะไรขึ้นบ้าง Springnews ขอสรุปให้
วันสุดท้ายแห่งการประชุม COP26 (United Nations Climate Change Conference) การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปีพ.ศ.2564 ที่ได้เริ่มต้นการประชุมมาตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.จนถึงวันที่ 12 พ.ย.เป็นวันที่ผู้นำโลกได้มารวมตัวกันเพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ในขณะเดียวกัน นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมก็ได้ออกมารวมตัวกันเรียกร้องให้ผู้นำทั้งหลายมีการตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของปัญหาภาวะโลกร้อนและลงมือทำสักที อย่ามัวแต่พูดและมองหาแต่เม็ดเงิน
วันนี้เราลองมาดูหัวข้อและข้อสรุปของการแก้ไขวิกฤตตลอดระยะเวลา 11 วันที่ผ่านมากันว่ามีข้อตกลงอะไรบ้าง
1.เก็บพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไว้ใต้ดินดังเดิม
การเผาพลังงานฟอสซิลอย่าง น้ำมัน ก๊าซ และพลังงานถ่านหิน เป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ และเป็นตัวการที่จะเพิ่มอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้น
ประเด็นนี้เป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญเพราะมีโอกาสที่กิจกรรมเหล่านี้จะนำโลกแตะอุณหภูมิเกิน 1.5 องศาเซลเซียสในเร็ววัน ซึ่งเป็นระดับอุณหภูมิอันตรายที่จะนำพาให้มวลมนุษย์เผชิญกับวิกฤตร้ายแรงในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่มีกำลังผลิตพลังงานถ่านหินเป็นหลัก อย่าง ออสเตรเลีย สหรัฐฯ จีนและอินเดีย ปฏิเสธไม่ได้ที่จะไม่ลงนามทำข้อตกลงในการประชุมครั้งนี้ เพื่อยุติการเผาผลาญแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ในทศวรรษหน้า
2.ควบคุมการปล่อยก๊าซมีเทน
รายงานจาก UN ฉบับล่าสุดได้แนะนำให้ทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซมีเทน ที่เป็นตัวการสำคัญในการแก้ปัญหาภาวะฉุกเฉินของดาวเคราะห์ดวงนี้ ปริมาณมีเทนส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติในระหว่างการสกัดน้ำมัน และการกำจัดขยะให้ถูกวิธี เพราะการฝังกลบขยะเป็นแหล่งสะสมก๊าซมีเทนชั้นดีขนาดใหญ่อีกแหล่งหนึ่ง รวมไปถึงการทำปศุสัตว์ อย่างที่ทุกคนทราบกันว่าการเลี้ยงวัวมีส่วนทำให้เกิดก๊าซมีเทนสะสมด้วยเช่นกัน จาก “ตด” ของวัวและอาหารหลากหลายประเภทที่นำไปเลี้ยงสัตว์จำเป็นที่จะต้องใช้พันธุ์พืชจำนวนมหาศาลที่ส่งผลต่อการเพิ่มก๊าซมีเทน
ในการประชุม COP26 เกือบ 100 ประเทศตกลงที่จะลดการปล่อยก๊าซมีเทน นำโดยสหรัฐฯและสหภาพยุโรป Global Methane Pledge ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซมีเทน 30% จากสถิติล่าสุดในปี 2020 ภายในปี 2030
3.หันไปใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น
การผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนสร้างผลกระทบอันมหาศาลต่อวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน มากกว่าภาคเศรษฐกิจใดๆ
เราต้องเปลี่ยนระบบพลังงานทั่วโลกจากระบบพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีสะอาดเป็นหลักแทน หรือที่เรียกว่า Decarbonisation การใช้พลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอน ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศในปัจจุบัน
พลังงานลมและโซลาร์เซลล์จะถูกนำมาใช้มากขึ้นในปี 2050 ร่วมไปกับพลังงานอื่นๆ ถ้าประเทศต่างๆกำลังเดินทางไปยังเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็น 0 ได้ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ท้าทายมากๆ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีปริมาณลมที่น้อยลง นั่นหมายความว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าก็จะลดลง ซึ่งมีความเสี่ยงเช่นกัน แต่หากมีเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ดีกว่า จะสามารถช่วยเรากักเก็บพลังงานส่วนเกินจากพลังงานหมุนเวียนได้ และพร้อมที่จะปล่อยออกมาให้ใช้ได้เมื่อยามจำเป็น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
SHEIN โตเร็วสวนกระแส จนโดนจับตามองดำเนินธุรกิจที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
โลกร้อน ไม่ใช่ Fakenews เหมือนใน Facebook หลังชาวเมืองลาปาซกำลังถูกเผา
รัฐมนตรีตูวาลูแถลงข่าวในทะเล สะท้อนโลกร้อนที่อาจทำให้น้ำท่วมทั้งประเทศ
เกรต้า ธันเบิร์ก ซัดแรง ประชุม "COP26" แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็แค่งาน PR ผู้นำ
4.ละทิ้งเบนซิลและดีเซล
เรายังต้องเปลี่ยนวิธีขับเคลื่อนยานพาหนะที่เราใช้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการเดินทางบนบก ในน้ำและอากาศ การเลิกใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล เพื่อเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นเรื่องสำคัญ แม้กระทั่งรถบรรทุกและรถโดยสารก็สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนได้
ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังค้นหาพลังงานเชื้อเพลิงแบบใหม่ที่สะอาดกว่าสำหรับเครื่องบิน แม้ว่าจะมีกลุ่มคนรณรงค์เรียกร้องให้สายการบินลดเที่ยวบินลงเพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิง
5.ปลูกต้นไม้มากขึ้น
รายงานจาก UN ปี 2018 เผยว่า เพื่อให้การรักษาอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เราจะต้องกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศเสียก่อน
ต้นไม้เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศชั้นดี นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่นักเคลื่อนไหวและนักวิทยาศาสตร์เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปกป้องโลกด้วยธรรมชาติ ด้วยการลดการตัดไม้ทำลายป่า โครงการปลูกต้นไม้ชดเชยถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ที่โลกจะถูกฟื้นฟูด้วยธรรมชาติที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง
6. กำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากอากาศ
เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากนี้จะต้องสามารถกำจัดคาร์บอนหรือไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ ในปัจจุบันมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการดักจับคาร์บอนในอากาศโดยตรงจำนวนหนึ่ง รวมถึงโรงงานที่สร้างโดย Carbon Engineerind ในเท็กซัส และ Climateworks ในสวิตเซอร์แลนด์ ก็ทำงานโดยใช้พัดลมขนาดใหญ่ดันอากาศให้ผ่านตัวกรองเคมีเพื่อดุดซับคาร์บอน
อีกวิธีหนึ่งคือการดักจับและกักเก็บคาร์บอน ซึ่งจะมีการตั้งเครื่องดักจับคาร์บอนที่แหล่งกำเนิดจุดผลิตคาร์บอน เช่น โรงงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น
แต่ในทางกลับกัน เทคโนโลยีเหล่านี้มีราคาที่แพง และเป็นข้อขัดแย้ง เนื่องจากนักวิจารณ์มองว่ามันจะช่วยให้เราพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อไป
7.ประเทศร่ำรวยต้องสนุบสนุนเงินทุนให้กับประเทศยากจน
ในการประชุม COP ที่โคเปนเฮเกนเมื่อปี 2009 ประเทศร่ำรวยได้ให้คำมั่นไว้ว่าจะมอบเงิน 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯให้กับประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาภายในปี 2020 โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาประเทศเหล่านั้นให้สามารถปรับตัวกับวิกฤตภาวะโลกร้อนได้
แต่จนแล้วจนเล่า ปีนี้ปี 2021 แล้ว คำสัญญานั้นก็ยังไม่ได้ถูกชำระแต่อย่างใด รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี COP จึงได้ทำการจัดทำแผนการจัดหาเงินทุนอีกครั้งให้ได้ภายในปี 2023
ประเทศที่พึ่งพาพลังงานถ่านหินหลายแห่งกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายต่อการฟื้นตัวจากโควิดและส่งผลกระทบต่อคนที่มีฐานะยากจนและมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
ทั้ง 7 ข้อนี้เป็นหัวข้อหลักๆของการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ในระหว่างการประชุมทั้ง 11 วันนั้นมีประเด็นย่อยๆกระจายอยู่อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นในที่ประชุมและนอกห้องประชุม เช่น
ประเทศไทยเองก็พยายามจะปรับตัวให้ทันและมุ่งเป้าเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนด้วยเช่นกัน อาทิ สนับสนุนให้คนไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น 30% ภายในปี 2030 ซึ่งอาจทำให้ผู้ทำธุรกิจน้ำมันอาจจะต้องหาทางออกและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเทคโนโลยีสะอาดในอนาคต รวมไปถึงนโยบายลดการตัดไม้ทำลายป่าและการเพิ่มจำนวนต้นไม้เพื่อทดแทนปริมาณที่เสียไป เป็นต้น
แม้ว่าการประชุมนี้จะจบลงไป แต่เรายังคงต้องติดตามกันต่อไปว่าในอนาคตผู้นำประเทศจะเดินตามแผนที่วางเอาไว้เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตามเป้าที่วางไว้ได้หรือไม่และเราเองจะปรับตัวเพื่อช่วยให้โลกของเราปลอดภัยขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน
ที่มาข้อมูล BBC