ห้องสมุดอินโดนีเซียส่งเสริมเยาวชนอ่านหนังสือในช่วงการระบาดของโควิด-19ด้วยการรับแลกขยะกับการยืมหนังสือไปอ่าน เพื่อลดการเสพติดโลกออนไลน์ในกลุ่มเยาวชน
บรรณารักษ์ของห้องสมุดบนเกาะชวา อินโดนีเซียให้เด็กๆยืมหนังสือเพื่อแลกกับขยะ เป็นไอเดียการแลกเปลี่ยนรูปแบบใหม่ในการร่วมกันของชุมชนในการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้เด็กๆอ่านหนังสือมากขึ้น
ในแต่ละวัน ราเดน โรโร เฮนดาร์ตี (Raden Roro Hendarti) จะขี่รถสามล้อของเธอพร้อมหนังสือกองโตที่จัดเรียงอยู่บนรถตระเวนไปหาเด็กๆในหมู่บ้าน มันตัง (Muntang) เพื่อแลกกับถ้วยพลาสติก กระเป๋าและขยะอื่นๆที่เด็กๆนำมาแลกกับหนังสือ
เธอบอกว่าเธอกำลังปลูกฝังการอ่านให้กับเด็กๆและทำให้พวกเขาตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย ทันทีที่เธอปรากฎตัวขึ้น เด็กๆและพ่อแม่หลายคนจะวิ่งมาล้อม “ห้องสมุดขยะ” ของเธอทันทีพร้อมเสียงโห่ร้องยินดี
เราจะเห็นพวกเขาแต่ละคนถือถุงขยะคนละถุงสองถุง หลังจากนั้นรถสามล้อของเธอก็ถูกเติมเต็มไปด้วยขยะอย่างรวดเร็วพร้อมกับหนังสือเล่มแล้วเล่มเล่าที่ส่งออกไป เธอดีใจมากที่เด็กๆจะได้ใช้เวลาไปกับเกมออนไลน์น้อยลงและจับหนังสือมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนดู The boy who harnessed the wind พลังของการศึกษาที่นำมาซึ่งความหวัง
อย.เผย ATK ผลบวกลวง รร.คำสร้อยพิทยาสรรพ์ ได้จากการบริจาค ไม่ผ่านการอนุญาต
ผลตรวจATKรอดทุกคน รร.คำสร้อยพิทยาสรรค์ กักตัวครู นักเรียน ตรวจโควิด 1,200 คน
เกรต้า ธันเบิร์ก ซัดแรง ประชุม "COP26" แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็แค่งาน PR ผู้นำ
กรมควบคุมโรค แนะ นักเรียนไม่ควรนั่งติดกัน ย้ำมาตรการ 6-6-7 ลดความเสี่ยง
“ให้เราสร้างวัฒนธรรมการรู้หนังสือจากการกระทำของเยาวชน เพื่อลดอันตรายของโลกออนไลน์ เราควรจัดการของเสียของเราไปพร้อมกับการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและปกป้องโลกจากขยะจำนวนมาก”
เธอเก็บขยะได้ประมาณ 100 กิโลกรัมในแต่ละสัปดาห์ จากนั้นเพื่อนร่วมงานของเธอจำคัดแยกและส่งไปรีไซเคิลหรือขาย เธอมีหนังสือให้เด็กๆยืมกว่า 6,000 เล่มและต้องการขยายการบริการไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆด้วย
เควิน (Kevin Alamsyah) นักอ่านวัย 11 ขวบ แฟนตัวยงของรถหนังสือ เขามักจะออกเสาะหาขยะที่อยู่ในหมู่บ้านมาแลกกับหนังสือ เควินกล่าวว่า “เมื่อมีขยะมากเกินไป สภาพแวดล้อมของเราจะสกปรกและส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพของเรา นั่นคือเหตุผลที่ผมมองหาขยะเพื่อนำไปยืมหนังสือ”
Jiah Palupi หัวหน้าห้องสมุดสาธารณะหลักของหมู่บ้านกล่าวว่า งานของราเดนช่วยเติมเต็มความต้องการของพวกเขาก่อนหน้าในการช่วยเหลือเยาวชนจากการเสพติดเกมออนไลน์และยังส่งเสริมการอ่าน อย่างที่พวกเหล่าบรรณารักษ์ในห้องสมุดเคยตั้งใจไว้ก่อนหน้านั้น
อัตราการรู้หนังสือสำหรับเด็กอายุมากกว่า 15 ปีในอินโดนีเซียอยู่ที่ประมาณ 96% แต่รายงานของธนาคารโลกในเดือนกันยายนเตือนว่า การระบาดของโควิด-19จะทำให้เด็กๆอายุ 15 ปีมากกว่า 80% มีความสามารถในการอ่านอยู่ในขั้นต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็นและเด็กเริ่มหันเหไปหาโลกออนไลน์มากขึ้น
ในประเทศไทยเราเองก็ประสบปัญหาเป็นวงกว้างเช่นกัน ในเรื่องของการที่เด็กขาดการเรียนรู้แบบที่ควรจะได้รับในห้องเรียนแต่กลับได้เรียนออนไลน์เป็นระยะเวลานานจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะเด็กในวัยที่กำลังจะเข้าเรียนเตรียมอนุบาลที่เสี่ยงต่อการพัฒนาอย่างมาก หากต้องอยู่แต่การเรียนออนไลน์นานๆ สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสร้างสรรค์ เสริมสร้างจินตนาการของเด็กๆ รวมไปถึงเด็กวัยโตที่ต้องอยู่แต่หน้าจอทั้งวันสภาพของการเรียนรู้ถดถอยลงและสภาพจิตใจย่ำแย่ เด็กหลายคนจึงหันเหไปหาโลกออนไลน์แทนซะเยอะ และอาจก่อให้เกิดการเสพติดได้ด้วยเช่นกัน ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19ในเด็กนั้นมีอยู่อีกหลายประเด็นที่เป็นปัจจัยให้เยาวชนเบื่อหน่ายและซึมเศร้าจากการเรียนออนไลน์ไปเลยก็ได้ในบางกรณี เราจึงต้องเร่งหาทางแก้ไขให้โดยเร็วที่สุดเพื่อให้เด็กกลับไปเรียนในโรงเรียนดังสภาวะปกติที่เคยเป็นมา
ที่มาข้อมูล REUTERS