svasdssvasds

ชวนดู The boy who harnessed the wind พลังของการศึกษาที่นำมาซึ่งความหวัง

ชวนดู The boy who harnessed the wind พลังของการศึกษาที่นำมาซึ่งความหวัง

Springnews ชวนดู ชัยชนะของไอ้หนู The boy who harnessed the wind ภาพยนตร์แรงบันดาลใจที่สร้างมาจากเรื่องจริงของวิลเลียม เด็กชายวัย 13 ปี นักประดิษฐ์ตัวน้อยความหวังของหมู่บ้าน

“ฉันต้องสูญเสียมากแค่ไหนเหรอ ไทรเวลล์ ทุกที่ที่ฉันตามเธอไป ฉันต้องเสียอะไรสักอย่าง พ่อแม่ฉัน ตอนที่ฉันมาที่นี่ จากนั้นก็ที่ดิน จากนั้นเราก็เสียแอนนี่ไป”

“เธอโทษฉันเหรอ?”

“ฉันไม่ได้โทษเธอ ฉันถามเธอ เมื่อไหร่เราจะเลิกสูญเสียสักที ไม่มีอะไรที่เราทำสำเร็จสักอย่างเลย”

แอคเนสถามไทรเวลล์หลังรู้ว่าแอนนี่หนีออกจากบ้าน

เมื่อรัฐบริหารล้มเหลว ผู้คนหิวโหย ราคาพืชผลทางการเกษตรแพงขึ้น ผู้คนฟาดฟันกันเพื่อความอยู่รอด และการขาดภาวะของการเป็นผู้นำของผู้เป็นพ่อ

วิลเลียม แคมความบา เด็กชายวัย 13 ปี ที่สามารถผลิตกังหันลมทำปั๊มสูบน้ำจากบาดาลขึ้นมาจากใต้ดินและสามารถทำการเกษตรได้ ทำให้หมู่บ้านในมาลีวีของเขารอดพ้นจากวิกฤตภัยแล้ง

ช่วงนี้วิกฤตการณ์ภัยแล้งในประเทศแถบแอฟริกานั้นรุนแรงมากๆจนทำให้ผู้เขียนนึกถึงหนังเรื่องหนึ่งที่พวกเขาต้องต่อสู้กับภัยแล้ง ด้วยองค์ความรู้ที่เขาไขว่คว้ามาด้วยตัวเอง และยังอิงมาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงด้วย ภาพยนตร์ The Boy Who Harnessed the Wind เป็นภาพยนตร์แนวดราม่าของอังกฤษปี 2019 เขียนบท กำกับและนำแสดงโดย Chiwetel Ejiofor โดยชูวิเท็ลเผยว่าหนังเรื่องนี้คือผลงานกำกับเรื่องแรกของเขาด้วย

วิลเลี่ยมตัวจริง ผู้เป็นคนประดิษฐ์กังหันลมผลิตไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำจากบาดาลขึ้นมาทำการเกษตร และสร้างปาฏิหาริย์และความหวังให้กับคนในหมู่บ้าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เนื้อเรื่องจะแตะในหลายประเด็นที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะการเมือง การศึกษา ความรัก ความเชื่อใจและภาวะการเป็นผู้นำของผู้เป็นพ่อ ที่เกิดขึ้นในประเทศโลกที่ 3 หรือแถบฝั่งแอฟริกานั่นเอง ภาพความแห้งแล้งกลายเป็นภาพจำของพื้นที่เหล่านั้นไปเสียแล้ว เรื่องราวได้เจาะไปยังชีวิตของเด็กชายคนหนึ่งและครอบครัวของเขาที่ยากจน เด็กชายชื่อวิลเลียม มีอายุ 13 ปี เขาชอบที่จะได้ไปโรงเรียนมาก เพราะเขาชอบการศึกษาหาความรู้โดยเฉพาะเรื่องของการผลิตไฟฟ้า แต่ความฝันของเขาก็ถูกดับลงด้วยภาวะของเศรษฐกิจและการเงินของครอบครัวไม่สู้ดีนัก จนทำให้เขาต้องหยุดเรียนไปกลางคันเพราะพ่อไม่มีเงินส่งเขาเรียนอีกต่อไปแล้ว นั่นทำให้เขาเสียใจมากแต่วิลเลียมไม่เคยดับไฟแห่งความฝันของเขาลงได้

แม้จะไม่ได้เรียนเขาก็พยายามประดิษฐ์ ค้นคว้า แต่เพราะว่าสิ่งที่เขาทำรวมไปถึงวัยวุฒที่ผู้ใหญ่มักมองว่าสิ่งที่เขาทำมันไร้สาระและเป็นจริงไม่ได้ อีกอย่างวิลเลียมไม่ได้เรียนในโรงเรียนแล้วจะมีความรู้เรื่องพวกนี้ได้อย่างไร เรื่องนี้สอนใจได้อย่างดีในเรื่องของ “ต้นทุน” แต่ละคนที่มีไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่ทำให้เท่าเทียมกันได้คือการศึกษาที่เอาวิชาความรู้มาสู้กันเพื่อทำให้ทุกอย่างมันดีขึ้น รวมไปถึงความดื้อด้านของผู้ใหญ่ที่มักไม่ค่อยเห็นค่าของการศึกษาในยุคนั้นว่ามันจะสามารถเอามาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้อย่างไร รวมไปถึงบทเรียนของพ่อที่ไม่เชื่อมั่นในลูกของตัวเองว่ามุมานะขนาดไหนและไม่ยอมเชื่อว่าสิ่งประดิษฐ์ของเขามันจะได้ผลหรือไม่ จนทำให้บทบาทของผู้นำครอบครัวต้องสั่นครอน

ครอบครัวของวิลเลียมในวันที่พวกเขายังอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตาและวิลเลียมยังได้ใส่ชุดนักเรียนไปโรงเรียน

ในด้านของการเมืองที่ผู้คนเริ่มแสวงหาอาหารเพื่อประคับประคองความอยู่รอดของครอบครัวของตน ทำให้เกิดการแย่งชิง รวมไปถึงหน้าที่ของรัฐบาลที่ไม่สามารถจัดการความหิวโหยของผู้คนได้ และภัยแล้งระยะยาวที่ส่งผลกระทบต่อการปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างรายได้ให้คนในชุมชน แต่รัฐกลับบริหารไม่ได้

ภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศแถบแอฟริกานั้นอยู่ในขั้นวิกฤตที่รัฐและหลายประเทศทั่วโลกต้องยื่นมือลงมาช่วย รวมไปถึงการประชุม COP26 ที่มีการหารือเรื่องการช่วยเหลือประเทศเปราะบาง เพราะผลพวงจากการปล่อยมลพิษของประเทศมหาอำนาจทั้งหลายต้องชดใช้คืนแก่ประเทศเล็กๆเหล่านี้ ผู้คนหลายล้านคนเริ่มมีภาวะขาดสารอาหารโดยเฉพาะเด็กและสตรีมีครรภ์ จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนเหล่านี้ต้องประสบกับภัยที่พวกเขาไม่ได้เป็นคนสร้างและปัญหาที่รัฐไม่สามารถแก้ไขได้

รับชมภาพยนตร์ได้แล้วทาง Netflix

related