การจะเป็น Smart City หรือ เมืองนวัตกรรมแห่งอนาคต จำเป็นต้องมีระบบการจัดการที่สมบูรณ์แบบและเพียบพร้อม วันนี้จะพาไปชมศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ หรือ Intelligent Operation Center: IOC ที่ถือเป็นศูนย์กลางการควบคุม สั่งการของ วังจันทร์วัลเล่ย์
จากเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่ "วังจันทร์วัลเลย์" ให้กลายเป็น Smart City เมืองนวัตกรรมแห่งอนาคต ที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation หรือ EECi) เพื่อรองรับการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์กับประเทศ
ด้วยเหตุนี้การบริหารจัดการระบบต่าง ๆ ภายในพื้นที่ "วังจันทร์วัลเลย์" จำเป็นต้องมีศูนย์กลางในการบริหารได้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center: IOC) เพื่อเป็นศูนย์กลางดูแล, ควบคุม, สั่งการ และบริหารจัดการระบบต่าง ๆ ภายในพื้นที่
โดยภายใน ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (IOC) มีลักษณะเป็นอาคาร 3 ชั้น พร้อมพื้นที่ใช้สอยรวมกว่า 3,700 ตารางเมตร มีห้องสัมมนาขนาดใหญ่ ห้องประชุม ห้องควบคุมปฏิบัติการ (Control Room) พื้นที่สำนักงาน และห้องน้ำสำหรับผู้พิการทุกชั้น ออกแบบและก่อสร้างตามมาตรฐาน LEED ในระดับ Certified ซึ่งเป็นระบบอาคารเขียวที่ถูกนำมาใช้ทั่วโลก เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยคุณสมบัติประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดการเป็นศูนย์กลางในการเฝ้าระวัง, ประสานและสั่งการ บริหารจัดการเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นแก่หน่วยงานและผู้คนที่ปฏิบัติงานและอาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการ
ซึ่งวันนี้เราจะพามาดู "ระบบอัจฉริยะภายในตัวอาคาร" แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ เริ่มจาก
สำหรับควบคุมและสั่งการระบบปฏิบัติการต่าง ๆ โดยมีระบบปฏิบัติการที่สำคัญ ได้แก่
- ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ แบบ Real-time ไม่ว่าจะเป็น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบรวบรวมน้ำเสีย
- แสดงปริมาณการรับจ่ายสาธารณูปโภคแบบ Real-time โดยรับข้อมูลมาจาก Smart Meter ที่ติดตั้งใน Tie-in Building และสามารถคำนวณค่าบริการรวมถึงออกใบแจ้งหนี้
- ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์งานระบบของอาคาร เช่น ระบบปรับอากาศ Access Control ระบบลิฟต์ ระบบไฟส่องสว่าง ระบบ Fire Alarm ระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบ Public Address
- แสดงผลควบคุมและสั่งการ ระบบ CCTV ระบบ Fire Alarm ระบบ Smart Parking ระบบ Network Monitoring System ระบบ Bus Tracking ระบบ Environmental Monitoring System ระบบ Emergency Phone
- ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบจำหน่ายไฟฟ้าภายใน Substation
- มีลักษณะเป็นห้องประชุม ความจุ 40 คน มีระบบประชุมทางไกล พร้อมจุดเด่นคือกระจกไฟฟ้าที่เปลี่ยนสถานะจากใสเป็นขุ่นเพื่อให้ผู้ประชุมสามารถมองทะลุมายังห้อง Control Room ได้ ซึ่งภายในห้องได้ถูกออกแบบให้มีอุปกรณ์ล้ำสมัยที่ให้การประชุมเป็นไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็น จอ Video Wall แบบ 3x3 ขนาดจอ 55 นิ้วและจอแสดงผลขนาด 75 นิ้ว 2 ชุด และจอ Smart Touch-screen Interactive Display ขนาด 70 นิ้ว สามารถเขียนหน้าจอและบันทึกลงคอมพิวเตอร์ หรือส่งทางอีเมล์ได้ แสดงผลบนจอภาพโดยการเชื่อมต่อแบบไร้สายกับคอมพิวเตอร์ Tablet โทรศัพท์มือถือ สั่งงานอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเสียงหรือระบบไร้สายผ่าน Tablet เช่น ลำโพง สวิตช์ควบคุมไฟแสงสว่าง
อย่างไรก็ตาม "วังจันทร์วัลเลย์" ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยกลุ่ม ปตท. ภายใต้แนวคิด Smart Natural Innovation Platform เพื่อเป็น Smart City เมืองนวัตกรรมแห่งอนาคต ที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกของประเทศไทย ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่น่าสนใจภายในโครงการ หากใครที่มีความสนใจสามารถขับรถออกจาก กรุงเทพฯ ด้วยระยะทางเพียง 160 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (บ้านบึง-แกลง) กิโลเมตรที่ 66 ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง