การบำรุงรักษาอากาศยานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีความสำคัญสูงสุดเพราะภารกิจฝนหลวงต้องใช้สารเคมีที่ส่งผลต่อโครงสร้างและระบบอากาศยาน การบำรุงรักษาจึงต้องทำตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด
โดยตรวจซ่อมบำรุงทั้งตามชั่วโมงบินและตามรอบการซ่อมพิเศษประจำปี จะช่วยให้อากาศยานพร้อมใช้งานและปลอดภัยในการบินตลอดเวลา
นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีอากาศยานกรมฝนหลวงและการบินเกษตร 40 ลำ ซึ่งที่เหมาะสมควรมีอย่างน้อย 200 ลำ จะทำให้ฝนตกและแก้ภัยแล้งได้สมบูรณ์
ทั้งนี้การจัดหาเครื่องบินฝนหลวงต้องเป็นไปตามมาตรฐานองค์กรความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) และองค์การบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐ (FAA) หรือองค์กรอื่นที่มีมาตรฐานรับรองระบบ ซึ่งมีหลายขั้นตอนและใช้เวลา ดังนั้นอาจใช้วิธีเช่าเหมือนธุรกิจการบินที่ใช้วิธีการเช่า ซึ่งจะกำหนดการใช้งานได้ตามที่ต้องการ ใช้งบซ่อมบำรุงน้อยลงและไม่มีโอกาสคอร์รัปชั่น
สำหรับเครื่องบินทั้งหมด 40 ลำเป็นเครื่องบินปีกตรึง 32 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ 8 ลำ โดยเครื่องบินปีกตรึงมี 4 แบบ ประกอบด้วยเครื่องบิน CESSNA CARAVAN เครื่องบิน CASA, NC212i เครื่องบิน CN-235 เครื่องบิน SKA-350
ส่วนเฮลิคอปเตอร์ มีทั้งหมด 5 แบบ ประกอบด้วย เฮลิคอปเตอร์ BELL 206 B3, เฮลิคอปเตอร์ AS350 B2, เฮลิคอปเตอร์ แบบ BELL 412 EP, เฮลิคอปเตอร์ แบบ BELL 407 และ BELL 407 GXP, เฮลิคอปเตอร์ แบบ AIRBUS H130
การตรวจซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบินปีกตรึงต้องทำตามคู่มือของเครื่องบินแต่ละแบบ โดยมีภารกิจหลักปฏิบัติการฝนหลวงและบินวิจัยฝนหลวง ซึ่งสารฝนหลวงที่ใช้ปฏิบัติการจะทำปฏิกิริยากับลำตัวอากาศยานและระบบอากาศยาน การดูแลบำรุงรักษาอากาศยานแต่ละวันต้องใส่ใจรายละเอียดมากกว่าอากาศยานที่ใช้ภารกิจอื่น
เครื่องบิน CESSNA CARAVAN ตรวจซ่อมทุก 100 ชั่วโมงบิน, เครื่องบิน CASA,NC212i ตรวจซ่อมทุก 150 ชั่วโมงบิน, เครื่องบิน CN-235 ตรวจซ่อมทุก 200 ชั่วโมงบิน, เครื่องบิน SKA-350 ตรวจซ่อมทุก 200 ชั่วโมงบิน เพราะเครื่องบินปีกตรึงต้องปฏิบัติการฝนหลวงโดยบรรทุกและโปรยสารฝนหลวงจึงทำปฏิกิริยากับเครื่องบินและระบบ ซึ่งต้องตรวจซ่อมพิเศษประจำปีระหว่างเดือน พ.ย.- ม.ค.ทุกปี โดยตรวจซ่อมและทำความสะอาด แก้ข้อขัดข้องทุกระบบของอากาศยาน การถอดประกอบติดตั้งต้องเป็นไปตามคู่มือเทคนิค
การตรวจซ่อมบำรุงรักษาเครื่องเฮลิคอปเตอร์ต้องเป็นไปตามคู่มือเทคนิคแต่ละแบบ ภารกิจหลักที่บินปฏิบัติการเน้นบินสำรวจพื้นที่การเกษตร สนับสนุนการบินวิจัย และสนับสนุนภารกิจการบินตามที่ได้รับมอบหมาย การดูแลบำรุงรักษาอากาศยานแต่ละวันต้องตรวจก่อนบิน ตรวจหลังบิน และการตรวจซ่อมตามคู่มือเทคนิคกำหนดเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยในการบิน
สำหรับการดูแลและบำรุงรักษาอากาศยานเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย ซึ่ง
เครื่องบินปีกตรึง CESSNA CARAVAN ใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวงและภารกิจสนับสนุนอื่นๆ CASA, NC212i ใช้ในการขนส่งสารฝนหลวงและเครื่องมือวิจัย, CN-235 ใช้ในการขนส่งและปฏิบัติการฝนหลวงที่ต้องการบรรทุกน้ำหนักมาก
ขณะที่เครื่องบิน SKA-350 ใช้สำหรับปฏิบัติการฝนหลวงและวิจัยการบำรุงรักษาเครื่องบินปีกตรึง ต้องดำเนินการตามคู่มือเทคนิคเฉพาะของแต่ละแบบ
ทั้งนี้เครื่องบินต้องการโปรยสารฝนหลวง ซึ่งอาจทำปฏิกิริยากับโครงสร้างและระบบของอากาศยาน การบำรุงรักษาในแต่ละวันจึงมีความเข้มงวดเป็นพิเศษ โดยมีการตรวจสภาพก่อนและหลังการบินทุกครั้ง พร้อมกับการล้างทำความสะอาดเพื่อขจัดคราบสารฝนหลวงหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในแต่ละวันรอบการตรวจซ่อมบำรุงรักษาตามชั่วโมงบิน
เช่นเดียวกับการบำรุงรักษาเฮลิคอปเตอร์ได้เน้นการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงและโครงสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ต้องทำความสะอาดภายในและภายนอกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อขจัดคราบสารฝนหลวงและสิ่งสกปรกที่อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบ