svasdssvasds

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0 หมายมั่นปั้นมือสนาม อบจ. นี้เพื่อไทยแพ้ไม่ได้

SHORT CUT

  • การเมืองศรีสะเกษมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากอดีตที่เคยมีตระกูลใหญ่อย่าง วัชราภรณ์ และ วีสมหมาย มีบทบาทสำคัญ
  • แต่ต่อมาเมื่อ ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยเข้ามา ก็ทำให้ตระกูลเหล่านี้หมดอำนาจลง และมีกลุ่มทุนท้องถิ่นใหม่ ๆ เช่น ตระกูลไตรสรณกุล เข้ามามีบทบาทแทน
  • ตระกูลนี้เคยสนับสนุนพรรคเพื่อไทย แต่ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย ทำให้เกิดการแข่งขันทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทยอย่างเข้มข้น

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0 หมายมั่นปั้นมือสนาม อบจ. นี้เพื่อไทยแพ้ไม่ได้

การเมืองศรีสะเกษเป็นสมรภูมิที่ขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด โดยมีตระกูลการเมืองใหญ่หลายตระกูลผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมามีบทบาทสำคัญ ในอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตระกูลวัชราภรณ์และวีสมหมายเป็นสองตระกูลที่โดดเด่นทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ตระกูลวัชราภรณ์นำโดยสง่า วัชราภรณ์ ผู้เป็น สส. ถึง 7 สมัย และมีลูกชายสองคนคือ ปิยะณัฐและดนัยฤทธิ์ ที่เดินตามรอยทางการเมืองของบิดา ปิยะณัฐเป็น สส. ถึง 10 สมัย และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง 

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

ส่วนตระกูลวีสมหมายก็มีสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งทั้ง สส. และ สว. บุญชง วีสมหมาย เป็น ส.ส. หลายสมัย และเคยดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ภรรยาของเขา กรองกาญจน์ วีสมหมาย ก็เป็น สส. และ สว. หลายสมัยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยในปี 2544 ได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมืองในศรีสะเกษอย่างสิ้นเชิง ตระกูลการเมืองเก่าแก่เหล่านี้เริ่มหมดอำนาจลง และกลุ่มทุนท้องถิ่นใหม่ๆ เช่น ตระกูลไตรสรณกุลก็เข้ามามีบทบาทแทน

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

ศรีสะเกษยุคบ้านใหญ่ “วัชราภรณ์” และ “วีสมหมาย”

ในอดีตตั้งแต่ยุค พ.ศ. 2500 การเมืองศรีสะเกษเป็นเรื่องของ 2 ตระกูลใหญ่ที่โดดเด่นทั้งการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นอยู่ 2 ตระกูลคือ ตระกูล วัชราภรร์ และ วีสมหมาย

วัชราภรณ์ตระกูลบ้านใหญ่เก่าแก่

บทบาททางการเมืองของตระกูลวัชราภรณ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีสมาชิกในครอบครัวหลายคนที่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับชาติ สง่า วัชราภรณ์ เป็นผู้เริ่มต้นเส้นทางการเมืองของตระกูล โดยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษถึง 7 สมัย นอกจากนี้ยังมีบุตรชายสองคนคือ ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ อดีตรัฐมนตรีและอดีต สส.ศรีสะเกษ 10 สมัย และ ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ อดีต สส.ศรีสะเกษ 5 สมัย ที่เดินตามรอยเท้าของบิดาเข้าสู่วงการเมือง

สง่า วัชราภรณ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 7 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ปี พ.ศ. 2535 รวมระยะเวลาในการมีบทบาททางการเมืองกว่า 35 ปี มีบุตรเป็นนักการเมือง 2 คน คือ ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ อดีตรัฐมนตรีและอดีต สส.ศรีสะเกษ และ ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ อดีต สส.ศรีสะเกษ

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

สง่า ลาออกจากราชการและลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.ศรีสะเกษ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ผลปรากฏว่าได้คะแนนลำดับที่ 16 จากผู้สมัคร 31 คน

หลังจากนั้นเขาได้รับเลือกตั้งเป็น สส.ศรีสะเกษ 7 สมัย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคธรรมสังคม, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคเสรีธรรม, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรครวมไทย และสมัยสุดท้ายคือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคกิจสังคม

สง่า เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ เมื่อปี พ.ศ. 2529

สง่า วางมือทางการเมือง หลังจากที่ไม่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535

อีกคนหนึ่งคือ ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ (เกิด 13 เมษายน พ.ศ. 2492) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 10 สมัย อดีตรัฐมนตรีหลายสมัย และอดีตรองหัวหน้าพรรคเอกภาพ เจ้าของวลีทางการเมือง "เก็บอุดมการณ์ใส่ลิ้นชัก" และเป็นนักการเมืองที่ได้รับการยอมรับในเรื่องการพูด จนได้รับฉายา "ดาวสภา" และเคยทำหน้าที่โฆษกพรรคกิจสังคม

ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ ประกอบอาชีพทนายความ และเข้าสู่งานการเมืองในปี พ.ศ. 2518 โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคธรรมสังคม ซึ่งมีนายทวิช กลิ่นประทุม เป็นหัวหน้าพรรค จากนั้นเขาได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีกหนึ่งสมัยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคธรรมสังคมเช่นเดิม ต่อมาเขาย้ายไปสังกัดพรรคเสรีธรรมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 จากนั้นเขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคประชาราษฎร์ ซึ่งนำโดยนายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์

ต่อมาย้ายไปพรรคชาติไทยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 ย้ายไปพรรครวมไทยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 พรรคเอกภาพ พ.ศ. 2531 และพรรคกิจสังคมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 ทั้งสองครั้ง จากนั้นได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคชาติไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2538 และสังกัดพรรคความหวังใหม่ พ.ศ. 2539

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

ปิยะณัฐ เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2518 และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2519 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฏร ในปี พ.ศ. 2526

ต่อมาในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2534) กระทั่งสิ้นสุดลงจากการยึดอำนาจของ รสช. จนเป็นที่มาของวลีทางการเมืองที่นายปิยะณัฐ กล่าวไว้ว่า

“ผมหมดหวังทางการเมืองแล้ว ที่เล่นการเมืองต่อไปก็เพื่อประคับประคองไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงกว่านี้ ตอนนี้ไม่มีอะไรมากกว่าการรักษาอำนาจเอาไว้ เรื่องของอุดมคติ อุดมการณ์ เก็บไว้ในลิ้นชักก่อน”

ต่อมาเขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา และในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จนกระทั่งเขาประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ และลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในที่สุด

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย ลำดับที่ 33 และได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 11 แม้ว่าเขาจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาล แต่ก็ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีฝ่ายเดียวกัน รวมทั้งยังร่วมกับฝ่ายค้านในการลงชื่อยื่นถอดถอน กรรมการ ปปช. อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมกับนักการเมืองหลายคนในการจัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อพรรคพลังพลเมืองไทย

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 นายปิยะณัฐได้ลาออกจากสมาชิกพรรคพลังพลเมืองไทยและได้ย้ายมาสมัครเป็นสมาชิก พรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 11 สมัย คือ

พรรคธรรมสังคม 2 สมัย พรรคเสรีธรรม 1 สมัย พรรคชาติไทย 2 สมัย พรรครวมไทย 2 สมัย พรรคกิจสังคม 2 สมัย พรรคความหวังใหม่ 1 สมัย และพรรคไทยรักไทยอีก 1 สมัย

ด้าน ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 5 สมัย เป็นบุตรของ สง่า วัชราภรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ

ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษสมัยแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคกิจสังคม คู่กับสง่า วัชราภรณ์ บิดา ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคกิจสังคมเช่นเดียวกั

ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 รวมทั้งในปี พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ จากนั้นในปี พ.ศ. 2543 ได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส.สมัยที่ 5 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แต่ต่อมาถูกสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง)

ในปี 2561 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังพลเมืองไทย ของสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ และรับตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค แต่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ตระกูลวัชราภรณ์เป็นตระกูลนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในจังหวัดศรีสะเกษมาอย่างยาวนาน โดย สง่า วัชราภรณ์ เป็นผู้บุกเบิกเส้นทางนี้ ด้วยการเป็น สส. ถึง 7 สมัย และมีลูกชายสองคนที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางการเมืองเช่นกัน ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์มากมาย โดยเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงและได้รับฉายาว่า "ดาวสภา" ส่วน ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ ก็เป็น สส. หลายสมัยเช่นกัน ทั้งนี้ สมาชิกในตระกูลวัชราภรณ์ได้ย้ายสังกัดพรรคการเมืองหลายครั้ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในภูมิทัศน์ทางการเมืองของไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ตระกูลวีสมหมาย

อีกตระกูลหนึ่งคือตระกูล วีสมหมาย มีบทบาททางการเมืองที่โดดเด่นในประเทศไทย โดยมีสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาหลายสมัย บทบาททางการเมืองของตระกูลนี้มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยมีทั้งสามีภรรยาที่ต่างทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

บุญชง วีสมหมาย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. 2519 เป็นสมัยแรก ในสังกัดพรรคกิจสังคม เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2523 และได้กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก 4 สมัย สังกัดพรรคความหวังใหม่ จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี พ.ศ. 2538 และเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2539 ต่อมาจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 จนกระทั่งถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 บุญชงต้องสิ้นสภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการชั่วคราว ทำให้ตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ต้องสิ้นสุดลงตามไปด้วย

ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายบุญชง วีสมหมาย ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสำคัญหลายฉบับ อาทิ พระราชบัญญัติระเบียบการปฏิบัติราชการของทบวงมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ

ทันตแพทย์หญิง กรองกาญจน์ วีสมหมาย (เกิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2482) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 5 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ เป็นภริยาของบุญชง วีสมหมาย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร

กรองกาญจน์ วีสมหมาย เริ่มเข้าสู่งานการเมืองในปี พ.ศ. 2522 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 ในนามพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง 4 สมัย โดยไม่ย้ายพรรคเลย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จึงย้ายไปสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 5

กรองกาญจน์ เคยเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2534

ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 7 และในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกในประเทศไทย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กรองกาญจน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 กรองกาญจน์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.ระบบสัดส่วน ในนามพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ทักษิณตีแตกยุคแดงเรืองอำนาจล้างบางบ้านใหญ่เดิม

แต่การเมืองนั้นไม่มีอะไรแน่นอน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 การเมืองในศรีสะเกษได้พลิกโฉมหน้าใหม่ เมื่อทักษิณ ชินวัตร ปักธงไทยรักไทย พร้อมกับนโยบายประชานิยม จึงมีนักการเมืองหน้าใหม่เกิดขึ้นหลายคน ปิดฉากระบอบบ้านใหญ่ ตระกูลวีสมหมาย และวัชราภรณ์ ได้หายไปจากทำเนียบ สส. จนถึงวันนี้

กลุ่มทุนท้องถิ่นอย่าง ตระกูลไตรสรณกุล, เครือรัตน์ และแซ่จึง แห่ซบทักษิณ เหลือเพียง ตระกูลอังคสกุลเกียรติ ที่ปักหลักอยู่พรรคชาติไทย ยืนต้านกระแสประชานิยมอย่างเหนียวแน่น

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

นับตั้งแต่ปี 2544 การเมืองในศรีสะเกษได้พลิกโฉมหน้าใหม่ เมื่อทักษิณ ชินวัตร ปักธงไทยรักไทย พร้อมกับนโยบายประชานิยม จึงมีนักการเมืองหน้าใหม่เกิดขึ้นหลายคน ปิดฉากระบอบบ้านใหญ่ ตระกูลวีสมหมาย และวัชราภรณ์ ได้หายไปจากทำเนียบ สส. จนถึงวันนี้

กลุ่มทุนท้องถิ่นอย่าง ตระกูลไตรสรณกุล, เครือรัตน์ และแซ่จึง แห่ซบทักษิณ เหลือเพียง ตระกูลอังคสกุลเกียรติ ที่ปักหลักอยู่พรรคชาติไทย ยืนต้านกระแสประชานิยมอย่างเหนียวแน่น

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - 2554 ถือได้ว่าเป็นปีทองของค่ายแดงที่มนต์ขลังของทักษิณยังทรงพลังในศรีษะเกษ ส่งผลให้เกือบ 10 ปีที่ผ่านมาศรีษะเกษมี สส. พรรคไทยรักไทย-เพื่อไทย เกือบยกจังหวัดก็ว่าได้

ไตรสรณกุล บ้านใหญ่คอนเนคชั่นแน่น

ตระกูลไตรสรณกุลเป็นตระกูลที่มีบทบาทสำคัญในการเมืองศรีสะเกษ โดยมีเครือข่ายและเครือญาติที่เกี่ยวข้องหลายคน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเมืองในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

ต้นตระกูลไตรสรณกุล เริ่มต้นจาก ฮวด ไตรสรณกุล เป็นผู้กุมธุรกิจการเกษตรใน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ และเคยเป็น ส.จ.ศรีสะเกษ ในปี พ.ศ.  2518

เนื่องจากข้อจำกัดด้านคุณสมบัติทางการเมืองในปี พ.ศ. 2522 ฮวดจึงส่งต่อภารกิจทางการเมืองให้ลูกชายคนโตคือ วีระ ไตรสรณกุล

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

โดย วิชิต ไตรสรณกุล ลูกชายของฮวด, เคยเป็น ส.จ.ศรีสะเกษ และได้รับเลือกเป็นนายก อบจ.ศรีสะเกษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมา 6 สมัย

ขณะที่ ธีระ ไตรสรณกุล ลูกชายคนที่ 2 ของฮวด เป็น สส.ศรีสะเกษ 3 สมัย สังกัดพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย

ด้าน อุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ ลูกสาวคนเล็กของฮวด เป็นภรรยาของ จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ก็เคยเป็น สส.ศรีสะเกษ สังกัดพรรคภูมิใจไทย

ดังนั้น จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ จึงเป็นดองกับตระกูล ไตรสรณกุล โดยเป็นสามีของอุดมลักษณ์ จาตุรงค์ เองยังเคยเป็น สส. ศรีสะเกษ สังกัดพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย

ขณะที่นักการเมืองคลื่นลุกใหม่อย่าง ไตรศุลี ไตรสรณกุล (กวาง) ลูกสาวของวิชิต ไตรสรณกุล ดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาเป็นเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เคยลงสมัคร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

มองไปที่ ชิตพล ไตรสรณกุล ลูกชายของวิชิต เคยเป็น ส.อบจ.ศรีสะเกษ เขต อ.กันทรลักษ์

จินณ์ตวรรณ ไตรสรณกุล (อีฟ) ลูกสาวของธีระ ไตรสรณกุล ทำงานเป็นผู้ช่วย สส.ในพื้นที่ อ.ขุนหาญ และ อ.ภูสิงห์

ทำให้เห็นถึงบทบาทของตระกูล ไตรสรณกุล ที่มีผลต่อการเมืองศรีสะเกษ ไม่ว่าจะเป็นการผูกขาดตำแหน่งนายก อบจ.ของ วิชิต ไตรสรณกุล ดำรงตำแหน่งนายก อบจ.ศรีสะเกษมายาวนานกว่า 20 ปี

ขณะเดียวกันเองได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงขั้วทางการเมือง ตระกูลไตรสรณกุลเคยสนับสนุนพรรคเพื่อไทย แต่ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย

แต่กระนั้นตระกูลไตรสรณกุลมีเครือข่ายที่เข้มแข็งในพื้นที่ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ มีการส่งต่อบทบาททางการเมืองจากรุ่นสู่รุ่น

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

ขณะเดียวกันการที่ตระกูลไตรสรณกุลย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย ทำให้เกิดการแข่งขันทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทยอย่างเข้มข้น

บ้านใหญ่ใต้ร่มธงภูมิใจไทย

ขณะที่ตระกูล ไตรสรณกุล เสมือนเป็นตระกูลใหญ่แต่ก็ไม่ใช่บ้านใหญ่หรือตระกูลใหญ่แค่หนึ่งเดียวในศรีษะเกษ ประสานกับอีกหลายตระกูลผนึกกำลังเป็นฐานเสียงให้กับพรรคภูมิใจไทย ไม่ว่าจะเป็น

ตระกูลแซ่จึง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตระกูลไตรสรณกุล โดย ปวีณ แซ่จึง ได้ย้ายจากพรรคเพื่อไทยมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

โดย ปวีณ แซ่จึง เป็นลูกชายของเป่งยู-หมุ่ย แซ่จึง เช่นเดียวกับอาคม แซ่จึง ลูกชายของงี้ยง-กิมเอง แซ่จึง 

ขณะที่ภรรยาของ ปวีณ ก็มีดีกรีเป็นอดีต สส. ศรีสะเกษ หลายสมัยเช่นเดียวกัน

ขณะเดียวกันอาคม แซ่จึง หรือในวันนี้คือ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีคลัง ซึ่งมักจะออกงานร่วมกับสาวศรีสะเกษ ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกรัฐบาล อยู่บ่อยๆ เนื่องจากเป็นเครือญาติเดียวกัน

เรียกได้ว่าสายสัมพันธ์ระหว่างคนแซ่จึง รวมถึง เติมพิทยาไพสิฐ ล้วนเหนียวแน่นกับ ไตรสรณกุล นั่นเอง

ตระกูลอังคสกุลเกียรติ: มีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับตระกูลไตรสรณกุล โดย สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ เป็น สส.ศรีสะเกษ สังกัดพรรคภูมิใจไทย

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

ตระกูลสรรณ์ไตรภพ  มีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับตระกูลไตรสรณกุล โดย อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ เป็น สส.ศรีสะเกษ สังกัดพรรคภูมิใจไทย

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

การเลือกตั้งในอนาคต

การเลือกตั้ง นายก อบจ. ในอนาคตจะเป็นการเดิมพันครั้งสำคัญของตระกูลไตรสรณกุล เพื่อรักษาตำแหน่งที่ผูกขาดมาอย่างยาวนาน

ตระกูลไตรสรณกุลมีเป้าหมายที่จะส่งทายาทรุ่นใหม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อสืบทอดอำนาจทางการเมือง

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

โดยรวมแล้ว ตระกูลไตรสรณกุลเป็นตระกูลที่มีบทบาทสำคัญในการเมืองศรีสะเกษ มีเครือข่ายและเครือญาติที่เข้มแข็ง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของตระกูลนี้ส่งผลต่อการแข่งขันทางการเมืองในพื้นที่อย่างมาก

กระแสแลนสไลด์ถล่มค่ายน้ำเงิน

ในการเลือกตั้ง สส. ในปี พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยได้เปิดตัวแคมเปญ "ไล่หนูตีงูเห่า" ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีเป้าหมายเพื่อขับไล่พรรคภูมิใจไทยออกจากพื้นที่ และตอบโต้กรณีที่ สส. ของพรรคเพื่อไทยจำนวนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ธีระ ไตรสรณกุล ผ่องศรี แซ่จึง โหวตสวนมติพรรคและเตรียมย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย

ที่มาของแคมเปญ เกิดจาก สส. ของพรรคเพื่อไทยในจังหวัดศรีสะเกษ 3 คน โหวตสวนมติพรรคหลายครั้ง ซึ่งถูกเปรียบเปรยว่าเป็น "งูเห่า" ขณะเดียวกันมีกระแสข่าวว่า สส. เหล่านี้เตรียมย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีหัวหน้าพรรคชื่อ อนุทิน ชาญวีรกูล ซึ่งมีชื่อเล่นว่า "หนู" พรรคเพื่อไทยมองว่า พรรคภูมิใจไทยกำลังดึง สส. ของตนไป โดยมีเป้าหมายของแคมเปญคือการขับไล่พรรคภูมิใจไทยออกจากศรีสะเกษ และต้องการชนะการเลือกตั้งแบบยกจังหวัด

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

พรรคเพื่อไทยจึงระดมนักการเมืองคนสำคัญมาปราศรัยที่ศรีสะเกษ โดยมีสโลแกน "ไล่หนูตีงูเห่า" ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ขึ้นปราศรัยโจมตีพรรคภูมิใจไทย โดยกล่าวว่า สส. ที่ย้ายพรรคจะทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ต่อไปอีก 4 ปี พรรคเพื่อไทยต้องการสื่อสารว่า สส. งูเห่าจะไม่ใช่คนของพรรคอีกต่อไป

การจัดกิจกรรม "ไล่หนูตีงูเห่า" มีเป้าหมายเพื่อทำลายความนิยมของ สส. พื้นที่เดิมที่ย้ายพรรค เป็นการตอบโต้จากพรรคภูมิใจไทย

ส่งผลให้ถึงในการเลือกตั้งปี 2566 พรรคเพื่อไทยสามารถกวาดที่นั่ง สส. ในจังหวัดศรีสะเกษได้ 7 เขต จากทั้งหมด 9 เขต ส่วนพรรคภูมิใจไทยได้ สส. เพียง 2 เขต เท่านั้น

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

ผู้สมัคร สส. จากพรรคเพื่อไทยที่ได้รับเลือก ได้แก่ ธเนศ เครือรัตน์, สุรชาติ ชาญประดิษฐ์, ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ, อมรเทพ สมหมาย, วีระพล จิตสัมฤทธิ์, วิลดา อินฉัตร และ นุชนาถ จารุวงษ์เสถียร

ขณะที่ สส. จากพรรคภูมิใจไทยที่ได้รับเลือก ได้แก่ ธนา กิจไพบูลย์ชัย และอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ

แต่แคมเปญ "ไล่หนูตีงูเห่า" ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้งเมื่อพรรคเพื่อไทยตัดสินใจร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคภูมิใจไทย ผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยรู้สึกเหมือนถูกหลอก เนื่องจากแคมเปญหาเสียงทำให้เชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่จับมือกับพรรคภูมิใจไทย ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ณ ขณะนั้น ชี้แจงว่า เป็นเพียงเทคนิคการหาเสียง และพรรคไม่เคยประกาศว่าเป็นศัตรูกับใคร

ยุทธการ "ไล่หนูตีงูเห่า" ของพรรคเพื่อไทย เป็นแคมเปญที่มุ่งเป้าไปที่การขับไล่พรรคภูมิใจไทยออกจากจังหวัดศรีสะเกษ และตอบโต้การย้ายพรรคของ สส. แม้ว่าแคมเปญนี้จะทำให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งในศรีสะเกษได้ สส. เกือบยกจังหวัด แต่กลับกลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เมื่อพรรคเพื่อไทยตัดสินใจร่วมรัฐบาลกับพรรคภูมิใจไทยในภายหลัง

ไล่หนูตีงูเห่า 2.0 เขย่าเก้าอี้นายก อบจ.

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ศรีสะเกษ เป็นสนามการแข่งขันที่น่าจับตา โดยเป็นการวัดพลังกันระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันคือการล้มบ้านใหญ่ตระกูลไตรสรณกุลที่ครองอำนาจในพื้นที่มายาวนาน

ภูมิหลังและความสำคัญของการเลือกตั้ง

การครองอำนาจของบ้านใหญ่ ตระกูลไตรสรณกุลผูกขาดเก้าอี้นายก อบจ. ศรีสะเกษ มาเกือบ 3 ทศวรรษ โดยใช้วิธีการเมืองแบบแยกส่วน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

ยุทธการ "ตีงูเห่า" โดยพรรคเพื่อไทยเคยใช้ยุทธการ "ไล่หนูตีงูเห่า" เพื่อหวังล้มบ้านใหญ่ตระกูลไตรสรณกุลในการเลือกตั้ง สส. ปี พ.ศ. 2566 ซึ่งประสบความสำเร็จในการกวาดที่นั่ง สส. ไปได้ 7 จาก 9 เขต

การเลือกตั้งนายก อบจ. เป็นภาคต่อ เพราะ การเลือกตั้งนายก อบจ. ศรีสะเกษ ครั้งนี้จึงเปรียบเสมือน "ตีงูเห่าภาค 2" โดยมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มอำนาจของตระกูลไตรสรณกุลอย่างเบ็ดเสร็จ

การวัดพลังระหว่างพรรค เป็นการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการวัดพลังระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย (ถึงแม้พรรคภูมิใจจะไม่เปิดหน้าชก) ในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นฐานเสียงที่สำคัญของทั้งสองพรรค

โดยพรรคเพื่อไทย ส่ง วิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ อดีต สส. ศรีสะเกษ เป็นผู้สมัคร โดยมี สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นพี่เลี้ยง และ ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ช่วยหาเสียง

ด้านพรรคภูมิใจไทยภึงแม้จะประกาศว่าไม่ส่งผู้สมัครสนาม อบจ. แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า วิชิต ไตรสรณกุล เจ้าของเก้าอี้นายก อบจ. เดิม ซึ่งครองตำแหน่งมายาวนานถึง 30 ปี ลงสมัครอีกครั้ง อยู่ฟากภูมิใจไทย

เรียกได้ว่ามีดีกันคนละแบบ เพราะ ฟาก วิวัฒน์ชัยมีผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่ง เช่น สุริยะ และ ทักษิณ ทำให้วิวัฒน์ชัยมีความได้เปรียบในการหาเสียง ในขณะที่วิชิตก็มีฐานเสียงที่มั่นคงในท้องถิ่น

การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการทวงคืนพื้นที่คืน เพราะพรรคเพื่อไทยต้องการทวงคืนพื้นที่ศรีสะเกษ หลังจากที่เสียที่นั่ง สส. บางส่วนให้พรรคภูมิใจไทยในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

ยังตั้งเป้าล้มบ้านใหญ่ โดยพรรคเพื่อไทยมีเป้าหมายที่จะล้มบ้านใหญ่ตระกูลไตรสรณกุล โดยมองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเดิมพันที่สำคัญ

“ทักษิณ” เดินเกมรุก “บุกถิ่นหนูตีงูเห่า\" เขย่าการเมืองศรีสะเกษ 2.0

วิชิต ไตรสรณกุล จึงต้อง เน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีผู้นำที่เข้าใจท้องถิ่นและเติบโตมาจากผืนดินศรีสะเกษเอง

ผลกระทบต่อการเมืองระดับชาติ ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อการเมืองสนามใหญ่ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกตั้ง ส.ส. ที่กำลังจะมาถึง

ทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทยต่างต้องการช่วงชิงความได้เปรียบในการเลือกตั้งท้องถิ่น เพื่อที่จะเป็นฐานในการขยายอำนาจในการเลือกตั้งระดับชาติ พรรคเพื่อไทยตั้งเป้าที่จะได้ สส. มากกว่า 200 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งหน้า โดยเฉพาะในภาคอีสานที่ต้องได้มากกว่า 100 ที่นั่ง

การเลือกตั้งนายก อบจ. ศรีสะเกษ เป็นการแข่งขันที่เข้มข้นระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย โดยพรรคเพื่อไทยมีเป้าหมายล้มบ้านใหญ่ตระกูลไตรสรณกุล การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการวัดพลังของทั้งสองพรรค แต่ยังส่งผลกระทบต่อการเมืองระดับชาติในอนาคตอีกด้วย โดยมีปัจจัยสำคัญคือการสนับสนุนจากบุคคลสำคัญ, กลยุทธ์ที่ใช้, และการเดิมพันทางการเมืองที่สูงของทุกฝ่าย

จะเห็นได้ว่าการเมืองศรีสะเกษได้เปลี่ยนจากยุคของบ้านใหญ่แบบดั้งเดิม มาสู่ยุคที่พรรคการเมืองและกลุ่มทุนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ตระกูลไตรสรณกุลเป็นตระกูลที่มีเครือข่ายกว้างขวางและมีอิทธิพลอย่างมากในศรีสะเกษ โดยมีสมาชิกในตระกูลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายคน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ วิชิต ไตรสรณกุล เป็นนายก อบจ. ศรีสะเกษติดต่อกันหลายสมัย ขณะที่ ธีระ ไตรสรณกุล และ จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ก็เคยเป็น สส. สังกัดพรรคเพื่อไทยและภูมิใจไทย 

แต่ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยได้เปิดแคมเปญ “ไล่หนูตีงูเห่า” เพื่อหวังจะล้มบ้านใหญ่เหล่านี้ และประสบความสำเร็จในการกวาดที่นั่ง สส. ไปได้ถึง 7 จาก 9 เขต อย่างไรก็ตาม การที่พรรคเพื่อไทยตัดสินใจร่วมรัฐบาลกับพรรคภูมิใจไทยภายหลัง ก็ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก 

การเลือกตั้งนายก อบจ. ศรีสะเกษ จึงกลายเป็นสนามประลองกำลังครั้งสำคัญระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย โดยพรรคเพื่อไทยส่ง วิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ ลงสมัคร โดยมีเป้าหมายที่จะล้มบ้านใหญ่ตระกูลไตรสรณกุล และทวงคืนพื้นที่คืน ในขณะที่ วิชิต ไตรสรณกุล ก็ลงสมัครอีกครั้งเพื่อรักษาตำแหน่งที่ครองมานาน การเมืองศรีสะเกษจึงยังคงเป็นการต่อสู้ที่เข้มข้นระหว่างอำนาจเก่าและอำนาจใหม่ ซึ่งมีผลต่อการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

อ้างอิง

คมชัดลึก1 / ทักษิณ / คมชัดลึก2 / ฐานเศรษฐกิจ / วิชิต / กรุงเทพธุรกิจ1 / กรุงเทพธุรกิจ2 / กรุงเทพธุรกิจ3 / กรุงเทพธุรกิจ4 / กรุงเทพธุรกิจ5 / กรุงเทพธุรกิจ6 /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related