SHORT CUT
อ้างอิง
BBC / BBC / ทัศนา พุทธประสาท /
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วิบากกรรม 2 สตรีผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี “โดนัลด์ ทรัมป์” ความไม่เท่าเทียมทางการเมืองที่ส่งผลต่อการเมืองในอเมริกา
ในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ล้วนมีแต่ผู้ชายโผล่ขึ้นมาขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี นับตั้งแต่ประธานาธิบดีคนแรกอย่าง จอร์จ วอชิงตัน จนถึงว่าที่ประธานาธิบดีอย่าง โดนัล ทรัมป์ ล้วนแต่เป็นผู้ชายขึ้นมามีบทบาทในหน้าประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น
แต่ความเป็นจริงแล้วในโฉมหน้าการเมืองของสหรัฐอเมริกา มีผู้หญิงลุกขึ้นมาท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกับผู้ชายด้วย
โดยบุคคลที่น่าสนใจและร่วมสมัย คือ ฮิลลาลี คลินตัน ฮิลลารี ไดแอน ร็อดแดม คลินตัน เกิด 26 ตุลาคม ค.ศ. 1947) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 67 ในรัฐบาลประธานาธิบดีบารัก โอบามา เธอเคยเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐนิวยอร์กในระหว่างปี 2001 - 2009 และ อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009
คลินตันเป็นภริยาบิล คลินตัน ประธานาธิบดีคนที่ 42 แห่งสหรัฐอเมริกา เธอจึงเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 1993 - 2001 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008 เธอเคยลงสมัครเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตชิงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วย แต่พ่ายแพ้ให้บารัก โอบามา ในครั้งนั้น ต่อมาในปี 2016 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2016 เธอได้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต และช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกับโดนัลด์ ทรัมป์ นักธุรกิจจากรัฐนิวยอร์ก นับเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นตัวแทนพรรคการเมืองหลักในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
กมลา เทวี แฮร์ริส เกิด 20 ตุลาคม ค.ศ. 1964 เป็นนักการเมืองและอัยการชาวอเมริกัน เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 49 ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2021 ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี โจ ไบเดน เธอเป็นรองประธานาธิบดีหญิงคนแรก อีกทั้งยังเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาและชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้ ก่อนหน้านี้เธอเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สังกัดพรรคเดโมแครต
กมลา แฮร์ริส เกิดที่เมืองโอกแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นบุตรของนายดอนัลด์ เจ. แฮร์ริส นักเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ชาวอเมริกันเชื้อสายจาเมกา กับนางศยามลา โคปาลัน นักชีวการแพทย์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 เธอได้รับชัยชนะเหนือลอเร็ตตา ซันเชซ ในการเลือกตั้งวุฒิสภาของปีนั้น ส่งผลให้แฮร์ริสเป็นวุฒิสมาชิกสตรีคนที่สามจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สตรีเชื้อสายแอฟริกาคนที่สอง และสตรีเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ
ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา เธอสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ การยกเลิกสถานะยาเสพติดของกัญชาในระดับประเทศ การช่วยเหลือให้ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารได้รับสถานะพลเมืองสหรัฐ รัฐบัญญัติดรีม การห้ามใช้อาวุธสังหาร และการปฏิวัติการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า เธอเป็นที่จดจำในระดับชาติภายหลังเธอได้ตั้งคำถามที่เฉียบแหลมต่อเจ้าหน้าที่ภายใต้การบริหารของทรัมป์ระหว่างการรับฟังโดยวุฒิสภา ซึ่งรวมถึงอัยการสูงสุดเจฟฟ์ เซชชันส์ และวิลเลียม บาร์
เธอได้สมัครเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 2020 ก่อนยุติการชิงตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2019 อย่างไรก็ตาม เธอได้รับการสนับสนุนให้เป็นคู่ท้าชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต คู่กับอดีตรองประธานาธิบดี โจ ไบเดน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2020 ส่งผลให้เธอเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาและชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้หาเสียงเคียงคู่กับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งคนสำคัญของพรรคฯ และเป็นสตรีคนที่สามที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งดังกล่าว ถัดจากเจรัลดีน เฟอร์ราโร (ในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 1984) และแซราห์ เพลิน (ในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2008)
ในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 โจ ไบเดน ได้ระบุในคำประกาศถอนตัวจากการเสนอชื่อรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ให้แฮร์ริสเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของพรรคเดโมแครตแทนตนเอง
ในหน้าประวัติศาสตร์เรามักพูดกันว่าประวัติศาสตร์มักวนกลับมาซ้ำรอยเสมอๆ ทั้ง คลินตัน และ แฮร์ริส ต่างเป็นสตรีที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับ โดนัล ทรัมป์ ทั้ง 2 คน ยังเป็นตัวแทนจากพรรคเดโมแครต ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี รวมถึงเป็นสมาชิกวุฒิสภา และอยู่ในคณะรัฐมนตรีด้วยกันทั้งคู่
สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของผู้หญิงที่ก้าวเข้าสู่วงการการเมืองในสหรัฐอเมริกา แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อยอยู่ เพราะความเป็นจริงสหรัฐอเมริกาก็ยังเป็นประเทศที่การเมืองถูกอธิบายหรือกำหนดด้วยผู้ชาย
เห็นได้จาก ท่ามกลางเสียงการรายงานและการวิเคราะห์ เสียงรบกวนกลับดังขึ้นมา เสียงโจมตีตัวตนของแฮร์ริส เล่นมุกตลกหยาบโลนเกี่ยวกับเซ็กซ์ การปรามาสว่าที่ว่าเธอขึ้นมาอยู่ในที่ที่เธออยู่ได้จนทุกวันนี้มาจากการ ‘ใช้มารยาหญิง’ และ ‘โควตาจ้างงานคนผิวสี’ ไม่ใช่การทำงานอย่างหนัก การขุดคุ้ยภาพถ่ายและประวัติที่ฝั่งต่อต้านเรียกว่า ‘ไม่สมเป็นผู้หญิง’ ออกมา เช่น การมีเซ็กซ์ไลฟ์ทั่วๆ ไป การแต่งชุดออกงานทั่วๆ ไป หรือแม้แต่เสียงหัวเราะของเธอ
หากมองย้อนกลับไป มองย้อนกลับไปชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2016 นักวิชาการมากมายใช้ห้วงเวลาดังกล่าวเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับความเป็นหญิงและการเมือง ในตอนนั้น ฮิลลารี คลินตัน มีประสบการณ์การทำงานการเมืองมา 30 กว่าปี แต่เธอกลับแพ้ให้นักการเมืองหน้าใหม่แบบทรัมป์ มันเกิดอะไรขึ้น?
“ผู้หญิงเจอกับการเลือกปฏิบัติทางเพศอย่างสม่ำเสมอในทุกแง่มุมชีวิต แต่โดยเฉพาะการเมือง ที่เป็นอย่างนั้นเพราะความเชื่อที่ว่าผู้หญิงเหมาะสมกับการทำงานในพื้นที่ลับตา แต่ผู้ชายเก่งกาจในการแสดงตัวในที่แจ้ง นั่นหมายถึงการรับตำแหน่งทางการเมืองด้วย” เคทลิน คอนเนอร์ นักวิจัยจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Union College เขียนในธีสิสของเธอ ชื่อว่า “She Just Doesn’t Have the Presidential Look”: The Effects of Sexism on Hillary Clinton’s Loss in the 2016 Election, and How Donald Trump’s Misogynistic Brand Contributed.
บทบาททางเพศล้าหลังที่นำมาสู่ความเชื่อนั้นๆ บอกว่าผู้หญิงทำหน้าที่ผู้ดูแล ผู้สนับสนุน และคนที่อยู่บ้าน ในขณะที่พวกเขาบอกว่าผู้ชายคือคนที่เป็นผู้นำและเข้มแข็งกว่า แต่ในการเมือง ทุกสิ่งสามารถถูกนำมาบิดใช้ได้ทั้งสิ้น ในการวิเคราะห์ของคอนเนอร์ เธอบอกว่าฝั่งตรงข้ามเลือกนำเสนอคลินตันในฐานะคนที่เป็นหญิงในแบบที่แย่ที่สุด และไม่เป็นหญิงพอไปพร้อมๆ กัน
หมายความว่าพวกเขาวาดภาพคลินตันในฐานะคนที่ไม่น่าเชื่อถือ ดูไม่เป็นผู้นำเท่า และดูจะใช้อารมณ์เหนือกว่าเหตุผล ในขณะเดียวกัน การทำงานในสายการเมืองด้วยลุคของหญิงแกร่ง ฉลาด และมีสถานะทางสังคมสูง นั้นสะท้อนภาพของความไม่ตรงขนบเพศของเธอ ข้อถกเถียงที่คนอเมริกันฝ่ายขวายอมรับ ในปี ค.ศ. 2016
การเหยียดผู้หญิงทางการเมือง เป็นปัญหาที่ยังคงมีอยู่ทั่วโลก รวมถึงในสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะมีความพยายามผลักดันให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในเวทีการเมืองมากขึ้น แต่ก็ยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ ที่เกิดจากอคติทางเพศและโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เท่าเทียม
การโจมตีรูปลักษณ์: ผู้หญิงมักถูกวิจารณ์เรื่องรูปลักษณ์ การแต่งกาย หรืออายุ มากกว่าความสามารถและนโยบาย
การลดทอนความสามารถ: มีการมองว่าผู้หญิงไม่มีความสามารถในการเป็นผู้นำเท่าผู้ชาย หรือถูกมองว่าเป็นเพียง "ตุ๊กตา" ทางการเมือง
การคุกคามและความรุนแรง: ผู้หญิงในวงการเมืองมักเผชิญกับการคุกคามทางออนไลน์และความรุนแรงทางกาย
การตั้งคำถามถึงความเป็นส่วนตัว: ชีวิตส่วนตัวของผู้หญิงมักถูกขุดคุ้ยและนำมาวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าผู้ชาย
การสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นลบ: มีการสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นลบเกี่ยวกับผู้หญิงในวงการเมือง เช่น อ่อนแอ อารมณ์แปรปรวน หรือไม่เหมาะสมกับบทบาทผู้นำ
ปัจจัยดังกล่าวในสหรัฐอเมริกาล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเหยียดผู้หญิงในวงการการเมืองด้วย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเหยียดผู้หญิงทางการเมือง
อคติทางเพศ: ความเชื่อที่ว่าผู้ชายเหมาะสมกับบทบาทผู้นำมากกว่าผู้หญิง
โครงสร้างทางสังคม: โครงสร้างทางสังคมที่ยังคงแบ่งแยกบทบาทระหว่างเพศชายและเพศหญิง
สื่อมวลชน: สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ของนักการเมือง และมักจะให้ความสำคัญกับเรื่องส่วนตัวของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
วัฒนธรรมการเมือง: วัฒนธรรมการเมืองที่มุ่งเน้นการแข่งขันและความก้าวร้าว อาจไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของผู้หญิง
เป็นทางออกในการแก้ปัญหาที่ทุกส่วนของสังคมต้องช่วยเหลือกัน เพราะคำว่าเสรีภาพไม่ใช่แต่เพียงคำพูด แต่ต้องเป็นการกระทำ หนึ่งในนั้นก็การสร้างความเท่าเทียมให้ผู้หญิงทัดเทียมผู้ชายในสังคมการเมืองที่เป็นของทุกคน