svasdssvasds

พระยาอนิรุทธเทวา เจ้าของบ้านพิษณุโลก เจ้าของตำนานมหาดเล็กผู้งามดั่งเทวดา

พระยาอนิรุทธเทวา เจ้าของบ้านพิษณุโลก เจ้าของตำนานมหาดเล็กผู้งามดั่งเทวดา

พระยาอนิรุทธเทวา เจ้าของบ้านพิษณุโลก เจ้าของตำนานมหาดเล็กผู้งามดั่งเทวดา มหาดเล็กคนโปรดของรัชกาลที่ 6 ถึงขนาดสร้างบ้านให้

SHORT CUT

  • บ้านพิษณุโลกเคยเป็นบ้านของพระยาอนิรุทธเทวา มหาดเล็กคนโปรดของรัชกาลที่ 6 ที่โปรดถึงขนาดสร้างบ้านให้อยู่เลยทีเดียว
  • แต่เดิมนั้นชื่อบ้านบรรทมสินธุ์ ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนชื่อในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
  • ปัจจุบันเป็นบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พระยาอนิรุทธเทวา เจ้าของบ้านพิษณุโลก เจ้าของตำนานมหาดเล็กผู้งามดั่งเทวดา มหาดเล็กคนโปรดของรัชกาลที่ 6 ถึงขนาดสร้างบ้านให้

ภายหลัง แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เคาะแต่งตั้งทีมกุนซือ เตรียมรื้อฟื้นทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีแห่งบ้านพิษณุโลกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ทำให้ชื่อบ้านพิษณุโลกกลับมาเป็นที่สนใจ ว่าสถานที่แห่งนี้มีที่มาเป็นอย่างไร

พระยาอนิรุทธเทวา เจ้าของบ้านพิษณุโลก เจ้าของตำนานมหาดเล็กผู้งามดั่งเทวดา

เพราะด้วยพื้นที่ที่กว้างขวางใจกลางเมืองหลวง แถมมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม สะท้อนว่าที่แห่งนี้ไม่ใช่สถานที่ธรรมดา

แต่เคยเป็นบ้านของพระยาอนิรุทธเทวา มหาดเล็กคนโปรดของรัชกาลที่ 6 ที่โปรดถึงขนาดสร้างบ้านให้อยู่เลยทีเดียว

มหาดเล็กผู้นี้ยังมีตำนานอีกว่ารูปงามดั่งเทวา ซึ่งในสมัยนั้นยากที่จะหาใครเปรียบเทียบความงามได้ ว่าแล้วเราไปรู้จัก พระยาอนิรุทธเทวา เจ้าของบ้านพิษณุโลก และตำนานมหาดเล็กผู้งามดั่งเทวดากัน

พระยาอนิรุทธเทวา เจ้าของบ้านพิษณุโลก เจ้าของตำนานมหาดเล็กผู้งามดั่งเทวดา

พระยาอนิรุทธเทวาคือใคร

พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา หรือ หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 เป็นบุตรของ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ) กับพระนมทัต พึ่งบุญ ณ อยุธยา พระนมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

มีพี่ชายคือ เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ทั้งคู่ได้ถวายงานสนองเบื้องพระยุคลบาทรัชกาลที่ 6 ตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร

พระยาอนิรุทธเทวาถวายตัวพร้อมกับพี่ชายเมื่อ ค.ศ. 1906 หลังรัชกาลที่ 6 เสด็จนิวัติจากทวีปยุโรปคืนสู่พระนคร

จากนั้นหน้าที่การงานได้เจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปี ค.ศ. 1911 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น นายสมุทรมโนมัย ชั้นหุ้มแพร มีหน้าที่เป็นนายม้าต้นสังกัดกรมพระอัศวราช นายสมุททรมโนมัย ขณะนั้นมีชื่อเสียงเรื่องลือว่า มีความสามารถด้านขี่ม้ามากยากจะหาใครเทียมในยุคนั้น

ในที่สุดในปี ค.ศ. 1916 หรืออีก 5 ปีต่อมา ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาอนิรุทธเทวา” ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ เช่น อธิบดีกรมมหาดเล็กและผู้บัญชาการกรมมหรสพ และเป็นมหาดเล็กส่วนพระองค์ถวายงานสนองเบื้องพระยุคลบาทเรื่อยมา เรียกได้ว่าเป็นบุคคลที่เติบโตในหน้าที่การงานอย่างรวดเร็วฃ

งามดั่งเทวดา

ความงามของพระยาอนิรุทธเทวา นอกจากจะมีรูปภาพที่เป็นหลักฐานแล้วยังเห็นได้จากบันทึกหลายๆ ฉบับ

พระยาอนิรุทธเทวา เจ้าของบ้านพิษณุโลก เจ้าของตำนานมหาดเล็กผู้งามดั่งเทวดา

เช่น บันทึกของ หม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ บันทึกไว้ว่าว่าเมื่อครั้งที่ท่านไปงานที่วังสราญรมย์ ท่านได้ไปเจอ “ชายงาม” ที่ทำให้ท่านติดตาติดใจ หลับตาก็ยังเห็นภาพของชายผู้นั้น ทุกคนต่างชมว่าชายผู้นั้นงาม “งามเหมือนเทวามาจากสวรรค์ 

เป็นผู้ชายใส่เครื่องเพชรทั้งตัวงามวูบวาบไปหมด มองดูกลับไม่น่าเกลียด กลับเห็นเป็นน่ารัก แม้จะใส่สร้อยเพชรที่ข้อเท้า ก็ดูเก๋ดีออกจะตาย หน้าท่านก็ขาวสวย ผมก็ดำสนิทหยักศกสวย ลูกตาใสแวววาว ดูไปทั้งตัวสวยไปทั้งนั้น สมแล้วที่ท่านชื่ออนิรุทธเทวา แสดงว่าเทวดาจุติมาจากสวรรค์”  

ส่วนบันทึกของหม่อมเจ้าพูนพิศมัยทรงบันทึกไว้ว่า “พวกที่ไม่ชอบก็ไม่มีอะไรจะติเตียนนอกจากหัวเราะกันว่าพระยาอนิรุทธฯ ชอบแต่งตัวใกล้ ๆ ผู้หญิง” อย่างไรก็ตาม พระยาอนิรุทธเทวามิได้แต่งกายเป็นหญิงทุกวัน หากแต่แต่งตามโอกาสสำคัญเท่านั้น ถึงอย่างนั้นก็มิพ้นคำนินทา 

เมื่อมีเสียงชมก็ต้องมีเสียงตำหนิ เป็นสัจธรรมของมนุษย์ “จนใคร ๆ พากันโจษว่าท่านเป็นกะเทย” ซึ่งคุณหญิงเฉลาปฏิเสธเรื่องดังกล่าว โดยอธิบายว่า “จนใคร ๆ นึกว่าพ่อใจเป็นผู้หญิง ชอบเลียนแบบอย่างผู้หญิง เพราะพ่อเป็นคนเอวบางร่างน้อย จริตกิริยาเหมือนผู้หญิง แต่แท้จริงพ่อเป็นสุภาพบุรุษที่มีใจเข้มแข็ง บึกบึน เด็ดเดี่ยว มั่นคง อดทน กล้าหาญไม่แพ้ชายชาติชาตรีทั้งหลาย

มหาดเล็กคนโปรด

มีข้อสังเกตจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าพระยาอนิรุทธเทวา เป็นมหาดเล็กที่รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดอย่างมาก

เห็นได้จากพระยาอนิรุทธเทวาเป็นมหาดเล็กที่ถวายงานรับใช้รัชกาลที่ 6 อย่างใกล้ชิดเสมอมา เช่นครั้งที่เสด็จบางปะอิน ถ้ารัชกาลที่ 6 ทรงเรือกรรเชียง พระยาอนิรุทธเทวาจะนั่งเรือลำเดียวกับพระองค์ ส่วนเจ้าพระยารามราฆพจะแล่นเรือยนต์โฉบไปมาเพื่อตรวจตราความเรียบร้อย ขณะที่มหาดเล็กคนอื่นจะตามเสด็จด้วยเรือกรรเชียงลำอื่น จึงแสดงให้เห็นถึงการเป็นมหาดเล็กคนโปรด

ขณะที่พระยาอนิรุทธเทวามีหน้าที่ที่ต้องถวายงานรับใช้อย่างใกล้ชิด เช่น หน้าที่ตัดแต่งพระนขา (เล็บ) ปลงพระมัสสุ (โกนหนวด) ซึ่งไม่มีใครถวายงานนี้ได้ดีเท่าท่าน และนอนอยู่ใกล้ชิดห้องพระบรรทมหรือพื้นปลายพระแท่น (เตียง) เพื่อถวายอารักขา ครั้นเมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงตื่นบรรทมจะมีรับสั่งว่า “ฟื้น พ่อตื่นแล้ว” นอกจากนี้ท่านยังได้ร่วมโต๊ะเสวยกับรัชกาลที่ 6 อีกด้วย

พระยาอนิรุทธเทวา เจ้าของบ้านพิษณุโลก เจ้าของตำนานมหาดเล็กผู้งามดั่งเทวดา

สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคนสนิทที่ได้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการเติบโตในหน้าที่การงานของพระยาอนิรุทธเทวา มีรัชกาลที่ 6 เป็นหนึ่งในปัจจัย

โปรดมากถึงสร้างบ้านบรรทมสินธุ์ให้

รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดพระยาอนิรุทธเทวามากถึงขนาดสร้างบ้านบรรทมสินธุ์ จากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ในปี ค.ศ. 1922 บนที่ดินประมาณ 50 ไร่

แรกเริ่ม “บ้านบรรทมสินธุ์” ไม่ได้เป็นดังเช่น “บ้านพิษณุโลก” ที่เราเห็นในปัจจุบัน หากแต่เป็น “บ้านสวน” อันร่มรื่นแถวชานกรุงติดกับกรมอัศวราช (กรมพิธีแห่นำตามเสด็จ) ที่เป็นสนามม้าชานเมืองชายพระนคร เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลจากความเป็นเมือง

การคมนาคมไม่สะดวกสบายเหมือนเวลานี้ รถราไม่ยอมไปเพราะเปลี่ยว ถนนจึงเป็นที่สำหรับปั่นจักรยานและม้าเดิน

พระยาอนิรุทธเทวา เจ้าของบ้านพิษณุโลก เจ้าของตำนานมหาดเล็กผู้งามดั่งเทวดา

การก่อสร้าง “บ้านบรรทมสินธุ์” ต้องขี่ม้าไปดูสถานที่ และขุดสระใหญ่เอาดินขึ้นมาถมที่ปลูกบ้าน และขนหินบางส่วนจากราชบุรีกับสระบุรีมาเป็นฐานสร้างตึกใหญ่ ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทรงเลือกแบบจากฝีมือนายช่างสถาปนิกชาวอิตาลีที่ว่างจากการมาก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมในสมัยนั้น

จากข้อมูลเป็นหลักฐานชั้นดีเลยทีเดียวว่ามหาดเล็กท่านนี้เป็นที่โปรดปรานอย่างมาก ถึงขนาดสร้างบ้านจากทรัพย์สินของพระองค์เลย รวมถึงการออกแบบบ้านด้วยสถาปัตยกรรมแบบยุโรป และใช้พื้นที่ชานเมือง ในสมัยนั้น ซึ่งเป็นรสนิยมที่รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเนื่องจากพระองค์ใช้ชีวิตที่ยุโรปรวมถึงอังกฤษมานาน

จากบ้านบรรทมสินธุ์ถึงบ้านพิษณุโลก

ต้องบอกก่อนว่าเดิมนั้นบ้านพิษณุโลก มีชื่อเดิมว่าบ้านบรรทมสินธุ์ ซึ่งต่อมาเมื่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลง จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ล้วนมีผลต่อบ้านหลังนี้ด้วย

กล่าวคือหลังสิ้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตระกูลอนิรุทธเทวา ก็ไม่ได้มีบทบาททางการเมืองมากนัก เพราะถือว่าเป็นตระกูลใกล้ชิดระบอบเก่า เรียกได้ว่าตระกูลอนิรุทธเทวาอยู่อย่างสงบเรื่อยมาไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมากนัก

จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้น ตระกูลอนิรุทธเทวา ได้อพยพไปอยู่ต่างจังหวัดเพื่อหนีภัยสงคราม ประกอบกับรัฐบาลไทยในยุคนั้นคือยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ตัดสินใจจับมือกับญี่ปุ่นกระโดดเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1942 ได้มีการซื้อบ้านบรรทมสินธุ์ในราคา 500,000 บาท เป็นที่ประสานงานระหว่างไทยและญี่ปุ่น ในที่สุดได้มีการเปลี่ยนชื่อจากบ้านบรรทมสินธุ์ เป็นบ้านพิษณุโลกนับตั้งแต่นั้นมา โดยตั้งชื่อตามถนนพิษณุโลกที่ตัดผ่านหน้าบ้าน

หลังจากนั้นไม่นานในปี ค.ศ.1951 หรืออีก 9 ปี ต่อมาพระยาอนิรุทธเทวาป่วยด้วยโรคหัวใจพิการ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 11 มกราคม สิริอายุ 58 ปี

ปิดตำนานเจ้าของบ้านพิษณุโลกเดิม เหลือไว้เพียงความทรงจำและตัวบ้านซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมหาดเล็กคนโปรดที่ต่อมาบ้านดังกล่าวกลายเป็นบ้านพักประจำตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี

อ้างอิง

SilpaMag1 / SilpaMag2 / BBC /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related