SHORT CUT
‘ชัยธวัช’ ร่ายยาว 9 ข้อต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล ย้ำศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้อง ซัดการกระทำ กกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย้อน พ.ร.ป. พรรคการเมืองไม่ได้เพิ่มขอบเขตอำนาจศาล ยันพฤติกรรมลูกพรรคเอี่ยวคดี 112 ไม่ใช่ในนามพรรค
สรุป 9 ข้อต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล ย้ำ กกต.ยื่นยุบไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฯไม่มีอำนาจรับคำร้อง และแม้ยุบพรรคได้ก็ไม่มีอำนาจตัดสิทธิ กก.บห. ตามเจตจำนงรัฐธรรมนูญ
ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลง 9 ข้อต่อสู้ในเอกสารคำแถลงปิดคดี ที่พรรคก้าวไกลส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกล 7 ส.ค.
1.การพิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ พรรคก้าวไกลยืนยันว่า ศาลไม่มีอำนาจในการรับคำร้องไว้วินิจฉัย เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอำนาจเฉพาะเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด การตีความเขตอำนาจค้องตีความอย่างเคร่งครัด
2.การยื่นคำร้องคดีนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะโดยไม่เปิดโอกาสให้ก้าวไกลได้ชี้แจงโต้แย้งพยานหลักฐานในชั้น กกต. ก่อนการเสนอคดีต่อศาล ซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
3.คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ไม่มีผลผูกพันในการวินิจฉัยคดีนี้ กรณีที่ กกต.อาศัยเป็นหลักคือกล่าวหาว่าพรรคก้าวไกลกระทำการล้มล้างการปกครอง ดังนั้นนี่จึงถือเป็นข้อหาใหม่ที่ศาลไม่เคยวินิจฉัยมาก่อน ซึ่งคำร้องทั้งสองคดีแตกต่างกันดังนั้นไม่มีผลผูกพัน และศาลจะต้องพิจารณาคดีนี้ใหม่
4.นอกจากการเสนอนโนบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 แล้ว การกระทำอื่นๆตามคำร้องมิได้เป็นการกระทำของพรรคก้าวไกล ซึ่งพรรคยืนยันว่านอกจากการเสนอนโยบาย 112 ในการหาเสียงแล้ว การกระทำอื่นๆทั้ง กรณีที่มี สส.ไปปรากฎตัวอยู่ที่ชุมนุม กรณีที่ สส.ไปเป็นนายประกัน ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยคดี112 หรือ กรณีสมาชิกพรรคที่ไปเสนอและยกเลิกให้ยกเลิก ม.112 ล้วนไม่ได้เป็นการกระทำของพรรค
5.การกระทำตามที่ กกต.กล่าวหามิได้เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเป็นการกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวมีการผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ
6.ศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรยุบพรรคก้าวไกล การยุบพรรคต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัดระมัดระวังและให้ได้สัดส่วนของพฤติการณ์ของพรรคกาคเมือง และต้องเป็นมารตรการสุดท้ายเมื่อไม่มีมาตรการอื่นยับยั้งการกระทำได้ทันท่วงที พรรคก้าวไกลไม่ใช้อำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในรูปแบบอื่น ดังนั้นการกระทำของพรรคก้าวไกลจึงไม่ได้เป็นการกระทำที่รุนแรงอันสมควรเป็นเหตุต้องทำการยุบพรรค และศาลรัฐธรรมนูญ3/2567 มีคำสั่งแล้วจึงไม่มีความจำเป็นต้องยุบพรรคก้าวไกล
.
7.แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งยุบพรรค ก็ไม่มีอำนาจกำหนดระยะเวลาการเพิกถอนสิทธิสมัครการเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค เพราะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเมื่อพิจารณาตามหลักของรัฐธรรมนูญจะจำกัดสิทธิมิได้ เพราะถ้าจะจำกัดสิทธิต้องเท่าที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่าตั้น
8.การกำหนดระยะเวลาเพิกถอนสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคต้องพอสมควรแก่เหตุ ก็คือควรกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ไม่ใช่ 10 ปีตามที่ กกต.ร้องขอ
9.การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องเพิกถอน เฉพาะของกรรมการบริหารพรรคที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
ทั้งนี้ พรรคก้าวไกลมิได้รู้หรือควรรู้ได้ว่า การกระทำในคดีนี้เป็นการกระทำต้องห้ามตามมาตรา 92 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง เนื่องจากก่อนหน้านี้ กกต. เคยวินิจฉัยยกคำร้องข้อกล่าวหาในลักษณะเดียวกันนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กกต.เองในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐก็ยัง เคยให้ความเห็นว่า ว่าการกระทำนี้ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งย่อมอยู่ในวิสัยที่สามารถเชื่อได้ว่า การกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นตามคำร้องในคดีนี้ ก็ย่อมชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน และการเพิกถอนนั้น ต้องเพิกถอนเฉพาะกรรมการบริหารพรรคที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด