SHORT CUT
พิธา เปิด 9 ข้อต่อสู่คดี "ยุบพรรคก้าวไกล" ย้ำไม่มีเจตนาล้มล้าง-เป็นปฏิปักษ์การปกครอง ชี้ศาล รธน.ไม่มีอำนาจพิจารณาคดี- กกต.ทำผิดระเบียบตัวเอง ไม่สามารถนำคำวินิจฉัยคดีล้มล้างมาใช้ยุบพรรคได้เพราะน้ำหนักโทษต่างกันมาก
วันนี้ (9 มิ.ย. 67) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.แบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลง 9 ข้อต่อสู้ในคดีการยุบพรรคก้าวไกล ว่า ตนเองจะนำเสนอข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายของคดี ที่สอดคล้องกับข้อกังวลของศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่อยากให้แสดงความเห็นที่จะชี้นำสังคม ได้แก่
เนื่องจาก ตามมาตรา 210 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ พิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย หรือร่างกฎหมาย, พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ และมีหน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งหน้าที่อื่นนั้นต้องเป็นไปตาม พรบ.วิธีพิจารณาความศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่บ่อเกิดแห่งอำนาจในการยุบพรรค
เนื่องจากผู้ถูกร้องไม่มีโอกาสรับทราบ โต้แย้ง หรือแสดงพยานหลักฐานของตน ขัดต่อระเบียบ กกต.ปี 2566 มาตรา 93 และ พรรคก้าวไกลเป็นพรรคแรกที่ถูกร้องยุบพรรคใต้ระเบียบนี้ จึงมิอาจเปรียบเทียบกับกรณีพรรคอื่น เช่น พรรคอนาคตใหม่ พรรคไทยรักไทย ได้
เนื่องจาก เป็นคนละคดีกัน หากการวินิจฉัยจะผูกพันต่อเนื่องกัน จะต้องเป็นข้อหาเดียวกันและระดับโทษใกล้เคียงกัน ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าต่างจุดประสงค์ และต่างข้อกฎหมาย โทษยุบพรรคเปรียบเหมือนโทษอาญา ต้องพิสูจน์จนสิ้นสงสัย
เช่น การแก้ไขกฎหมายก็สามารถถูกยับยั้งได้ในกระบวนการรัฐสภา
เช่น การไปเป็นนายประกันในคดีอาญา หรือการที่ สส.ถูกดำเนินคดี ม.112 ล้วนเป็นการกระทำในฐานะปัจเจคบุคคล
และไม่มีวิธีแก้ไขอื่น พร้อมย้ำว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเฉพาะ 3 ข้อ เท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นกฎหมายรอง ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจตัดสินคดีนี้ นายพิธา กล่าวว่า การสั่งยุบพรรคเกิดขึ้นได้แต่ต้องเป็นตามหลักประชาธิปไตย โดยยกคำวินิจฉัยกรณีเมื่อปี 2017 ของพรรคการเมืองเยอรมัน เคยแสดงออกด้วยอุดมการณ์นาซี และศาลตัดสินล้มล้างแต่ไม่ยุบพรรค เพราะไม่มีหลักฐานเป็นรูปธรรม ที่พิสูจน์ได้ว่ามีโอกาสจะประสบความสำเร็จ หรือจะส่งผลต่อการยุบพรรคได้
เพราะในกรณีนี้ กกต.ยื่นให้ตัดสิทธิ์ กก.บห.ถึง 3 ชุด ไม่เป็นธรรม