svasdssvasds

รู้หรือไม่? สงครามไครเมียฆ่าชีวิตผู้คนมากกว่าประชากร สระบุรีทั้งจังหวัด

รู้หรือไม่? สงครามไครเมียฆ่าชีวิตผู้คนมากกว่าประชากร สระบุรีทั้งจังหวัด

รู้หรือไม่? สงครามไครเมียฆ่าชีวิตผู้คนมากกว่าประชากร สระบุรีทั้งจังหวัด โดยคาดว่ามีผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้เกือบ 7 แสนคน

SHORT CUT

  • สงครามไครเมียเป็นสงครามที่เรียกได้ว่าเป็นสงคราม นานาชาติที่เกือบเป็นสงครามโลกก็ว่าได้เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในภาคพื้นทวีปยุโรป เป็นการสู้รบตั้งแต่ ค.ศ.1853 – ค.ศ. 1856
  • มีการคาดการณ์ตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากสงครามไครเมียสูงถึง 673,638 คน
  • มากกว่าประชากรทั้งจังหวัดของจังหวัดสระบุรีเสียอีก เพราะจังหวัดสระบุรีมีประชากร 638,698 คน

รู้หรือไม่? สงครามไครเมียฆ่าชีวิตผู้คนมากกว่าประชากร สระบุรีทั้งจังหวัด โดยคาดว่ามีผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้เกือบ 7 แสนคน

2 กรกฎาคม เป็นวันที่กองทัพจักรวรรดิรัสเซีย เริ่มยาตราทัพสู่จักรวรรดิออตโตมัน เหตุการณ์นี้ได้สร้างการรับรู้ให้กับโลกเป็นอย่างมากว่าหากใครเทคโนโลยีล้าหลัง ไม่พัฒนาและปรับตัว เขาผู้นั้นอาจเป็นพ่ายแพ้ให้กับสงครามได้ทุกเมื่อ

รู้หรือไม่? สงครามไครเมียฆ่าชีวิตผู้คนมากกว่าประชากร สระบุรีทั้งจังหวัด

สงครามไครเมียเป็นสงครามที่เรียกได้ว่าเป็นสงคราม นานาชาติที่เกือบเป็นสงครามโลกก็ว่าได้เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในภาคพื้นทวีปยุโรป เป็นการสู้รบตั้งแต่ ค.ศ.1853 – ค.ศ. 1856 ระหว่างรัสเซียและฝ่ายสัมพันธมิตรที่เป็นฝ่ายได้รับชนะในตอนท้ายของจักรวรรดิออตโตมัน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย-ปีเยมอน

รู้หรือไม่? สงครามไครเมียฆ่าชีวิตผู้คนมากกว่าประชากร สระบุรีทั้งจังหวัด

สาเหตุของสงครามเกิดจากออตโตมันเริ่มอ่อนแอ และรัสเซียต้องการขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของออตโตมัน

สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ณ ขณะนั้นให้ความสำคัญในการปกป้องจักรวรรดิออตโตมันเพื่อรักษาสมดุลแห่งอำนาจในยุโรป ส่งผลให้เกิดการปะทะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับจักรวรรดิรัสเซีย

คู่สงครามมีใครบ้าง

คู่สงครามครั้งนี้ประกอบด้วยพระเจ้านิโคลัสที่ 1 แห่งจักรวรรดิรัสเซีย เป็นผู้เปิดฉากสงครามบุกเข้าไปในดินแดนของตุรกี ฝ่ายตั้งรับคือสุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน ในช่วงแรกของสงครามเรียกได้ว่าจักรวรรดิออตโตมันแพ้ไม่เป็นท่า เนื่องมาจากปัญหาการเมืองภายในจากการแย่งอำนาจกันภายในราชสำนักออตโตมัน ประกอบกับออตโตมันเองเริ่มเป็นคนป่วยของยุโรป เพราะพัฒนาการที่ล้าหลังทางด้านเทคโนโลยี ตามไม่ทันยุโรปภายหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งผลให้แพ้จักรวรรดิรัสเซียที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า

รู้หรือไม่? สงครามไครเมียฆ่าชีวิตผู้คนมากกว่าประชากร สระบุรีทั้งจังหวัด

ชาติตะวันตกเริ่มเล็งเห็นแล้วว่าออตโตมันไม่มีทางสู้รัสเซียได้ จึงได้ให้การช่วยเหลือ (ผู้นำจักรวรรดิฝรั่งเศสคือจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 และสหราชอาณาจักรคือสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) โดยในปี ค.ศ. 1854 กองทัพเรือของสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส มุ่งสู่ทางเหนือสู่วาร์นาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1854 และมาถึงทันเวลาที่รัสเซียจะละทิ้งซิลิสตรา ในทะเลบอลติก ใกล้กับเมืองหลวงของรัสเซียอย่างเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก กองเรือ สหราชอาณาจักร-ฝรั่งเศส ได้จัดตั้งการปิดล้อมทางทะเลและปิดกั้นกองเรือบอลติกของรัสเซียที่มีจำนวนมากกว่า ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียโดยการปิดกั้นการค้า ในขณะเดียวกันยังได้บีบบังคับให้รัสเซียเก็บกองทัพขนาดใหญ่ไว้เพื่อพิทักษ์เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจากการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรที่อาจเป็นไปได้

สงครามได้กินเวลายืดเยื้อจนถึงเหตุการณ์เซวัสโตปอลถูกตีแตกในที่สุดหลังสิบเอ็ดเดือน โดยฝรั่งเศสได้เข้าโจมตีป้อมมาลาคอฟฟ์ รัสเซียไม่อาจต้านทานได้จึงได้ร้องขอสันติภาพในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1856 ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรยินดีกับสถานการณ์เป็นอย่างยิ่ง เพราะเกิดความขัดแย้งของประเทศของตนเอง จึงได้ลงนามสนธิสัญญาปารีส เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1856 ซึ่งเป็นอันสิ้นสุดสงคราม โดยสั่งห้ามรัสเซียตั้งฐานทัพเรือในทะเลดำ รัฐประเทศราชของออตโตมันแห่งวอลเลเกียและมอลดาเวียได้รับอิสรภาพ และชาวคริสเตียนในจักรวรรดิออตโตมันได้รับฐานะที่เสมอภาคอย่างเป็นทางการ

จำนวนตัวเลขที่น่าสนใจ

โดยกองทัพของฝ่ายพันธมิตรที่ประกอบไปด้วยจักรวรรดิออตโตมัน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรและ ราชอาณาจักรปีเยมอนเต-ซาร์ดิเนีย รวม 673,900 นาย ขณะที่ฝ่ายรัสเซียมีจำนวน 889,000 นาย

รู้หรือไม่? สงครามไครเมียฆ่าชีวิตผู้คนมากกว่าประชากร สระบุรีทั้งจังหวัด

และมีการคาดการณ์ตัวเลขของผู้เสียชีวิตรวมทั้ง 2 ฝ่ายจากสงครามไครเมียสูงถึง 673,638 คน ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วมากกว่าประชากรทั้งจังหวัดของจังหวัดสระบุรีเสียอีก เพราะจังหวัดสระบุรีมีประชากร 638,698 คน

สะท้อนให้เราเห็นว่าสงครามไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร แต่ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพยากร และประชากร ซึ่งไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดๆ เลยนอกไปจากความสูญเสีย

อ้างอิง

IWM / SilpaMag / สารานุกรมเสรี /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง