svasdssvasds

"ปธ.ศาลรธน."มองโลกสื่อดิจิทัลวุ่นวาย แบ่งฝั่งแบ่งฝ่าย

"ปธ.ศาลรธน."มองโลกสื่อดิจิทัลวุ่นวาย แบ่งฝั่งแบ่งฝ่าย

"ปธ.ศาลรธน."มองโลกสื่อดิจิทัลวุ่นวาย แบ่งฝั่งแบ่งฝ่าย ขาดจรรยาบรรณ ชี้ไม่ควบคุมจะเป็น “คณาธิปไตย” แจงนัดประชุมคดีการเมือง 18 มิ.ย.ไม่ได้ซับซ้อน แค่ตุลาการไม่ว่าง

SHORT CUT

  • "ปธ.ศาลรธน."มองโลกสื่อดิจิทัลวุ่นวาย แบ่งฝั่งแบ่งฝ่าย ขาดจรรยาบรรณ
  • ชี้ต้องควบคุมไม่เช่นนั้นจะเป็นคณาธิปไตย แต่ควบคุมมากจะเป็นเผด็จการ
  • เผยศาลเป็นองค์กรที่อยู่กับความลับ บางเรื่องเปิดเผยไม่ได้จริงๆ ต้องอยู่บนความพอเหมาะพอควร อย่าสุดโต่ง ระหว่างความโปร่งใสตรวจสอบได้กับความลับที่จะมีผลต่อความเสียหาย และความมั่นคงของประเทศ

"ปธ.ศาลรธน."มองโลกสื่อดิจิทัลวุ่นวาย แบ่งฝั่งแบ่งฝ่าย ขาดจรรยาบรรณ ชี้ไม่ควบคุมจะเป็น “คณาธิปไตย” แจงนัดประชุมคดีการเมือง 18 มิ.ย.ไม่ได้ซับซ้อน แค่ตุลาการไม่ว่าง

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนแวนชั่น กรุงเทพฯ  ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวเปิดโครงการศาลรัฐธรรมนูญพบสื่อมวลชนประจำปี 2567 พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ" บทบาทของสื่อในสังคมข้อมูลข่าวสารยุคดิจิทัล" ตอนหนึ่งว่า ข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัลมันยุ่งเหยิงมาก ศาลต้องใช้สื่ออย่างน้อยต้องมีจดหมายข่าว และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกบีบโดยสื่อ ซึ่งล้วนแต่มีผลต่อการตัดสินใจของศาลในบางลักษณะ จะมากหรือน้อย แล้วแต่ดุลพินิจของตุลาการแต่ละคน 

แน่นนอนสังคมไทยสื่ออยู่บนพื้นฐานสิทธิเสรีภาพพอสมควร และถือว่ามากถ้าเปรียบกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่อยากชวนคิดว่าสื่อในยุคดิจิทัล หน้าตาเป็นอย่างไร หาคำจำกัดความได้ยาก 

ดังนั้นอยากจัดออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1.สื่อที่มีเจ้าของหรือเจ้าของสื่อ ทุกองค์กรณ์ มีสื่อของตนเองเช่นศาลมีจดหมายข่าวมีแถลงข่าว แต่สื่อที่มีเจ้าของปัจจุบันเปลี่ยนไป เพราะบุคคลธรรมดาสามารถเป็นเจ้าของสื่อได้ด้วยตนเอง เช่น การรายงานข่าวภาคสนามอาจจะรายงานโดยประชาชน

ฉะนั้นความหมายของสื่อมันกว้างพร้อมยกตัวอย่างกรณีที่ศาลมีการนัดประชุมปรึกษาคดีเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ว่า ความจริงไม่มีอะไรซับซ้อน แค่มีที่ปรึกษาอาวุโสของลาไว้นานแล้ว จะประชุม 19 มิถุนายน ก็ไม่ได้ แต่ด้วยองค์กร ไม่สามารถที่จะสื่อสารให้ทราบทั้งหมดได้ 

2.การว่างจ้างสื่อ ข่าวที่นำเสนอด้วยสื่อนี้จะมีความแตกต่างจากข่าวปกติ 

3.สื่อที่ไม่ทำเองไม่ว่าจ้าง เป็นการนำเสนอข่าวจากองค์กรโดยไม่ต้องว่าจ้างเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอาจจะเป็นเพราะข่าวมีความสำคัญ  เพราะเราสามารถสื่อสารได้โดยไม่ต้องว่าจ้าง 

เมื่อเกิดสื่อดิจิทัลขึ้นมา ทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แม้จะทำให้เกิดการสื่อสารที่รวดเร็ว คำถามคือจรรยาบรรณ ของสื่อโลกดิจิตอลอยู่ตรงไหน สมัยก่อนเราจัดอบรม แต่ปัจจุบันจะจับบุคคลที่รายงานข่าวมาตักเตือนอย่างไร คงจะทำได้แค่ตักเตือนตนเอง หรือผู้ใหญ่ตักเตือนกันบ้าง ซึ่งถ้าไม่ควบคุมกันเลยก็จะกลายเป็นสังคมอนาธิปไตย 

"ศาลเป็นองค์กรที่อยู่กับความลับ บางเรื่องเปิดเผยไม่ได้จริงๆ ต้องอยู่บนความพอเหมาะพอควร อย่าสุดโต่ง ระหว่างความโปร่งใสตรวจสอบได้กับความลับที่จะมีผลต่อความเสียหาย และความมั่นคงของประเทศ“

 

related