svasdssvasds

ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เผย ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมศาล รธน. โลก

ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เผย ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมศาล รธน. โลก

ประธานศาล รธน. เผย ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมศาลรัฐธรรมนูญแห่งเอเชีย ชี้เป็นงานใหญ่ระดับโลก มีประธานศาล และตุลาการ ร่วมงานไม่น้อยกว่า 300 คน

SHORT CUT

  • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เผย ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมศาล รธน. โลก
  • เป็นงานใหญ่ระดับโลก มีประธานศาล และตุลาการ ร่วมงานไม่น้อยกว่า 300 คน

  • สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการมีศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ใช่แค่ประเทศไทย

ประธานศาล รธน. เผย ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมศาลรัฐธรรมนูญแห่งเอเชีย ชี้เป็นงานใหญ่ระดับโลก มีประธานศาล และตุลาการ ร่วมงานไม่น้อยกว่า 300 คน

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยนายนภดล เทพพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ร่วมแถลงข่าว "การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (AACC) ครั้งที่ 6 ของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"

โดยในปีนี้ เป็นโอกาสสำคัญที่ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในฐานะประธานสมาคม

ศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (AACC) ระหว่างปี 2566-2568 ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (AACC) ครั้งที่ ระหว่างวันที่ 17-21 กันยายน 2567 ภายใต้หัวข้อหลัก "The Constitutional Courts and Equivalent Institutions in Strengthening Constitutional Justice for Sustainable Society : ศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าในการเสริมสร้างความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมที่ยั่งยืน" 

ซึ่งเชื่อมโยงและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนากระบวนการ ยุติธรรมที่ยั่งยืนในเรื่องการส่งเสริมหลักนิติธรรมทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ การสร้างหลักประกันการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามกฎหมายภายในประเทศและ ข้อตกลงระหว่างประเทศ และการบังคับใช้กฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ การกำหนดหัวข้อหลักดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้ความสำคัญต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในมิติของการพัฒนาทาง สังคม และการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันโดยการอภิปรายแลกเปลี่ยนมุมมองทางความคิดและแนวทางปฏิบัติร่วมกันอันนำไปสู่ "เป้าหมายร่วมกัน" (Collective Goals) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ดังนั้น การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6 จึงมีความสำคัญในเวทีการประชุมทางวิชาการระดับภูมิภาคเอเชีย การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านการนำเสนอกรณีศึกษา คำวินิจฉัย และบรรทัดฐานคดีรัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกที่มีความเป็นกลาง โปร่งใส เที่ยงธรรม สามารถตรวจสอบได้ย่อมส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรตุลาการ และการยกระดับมาตรฐานทางกระบวนการยุติธรรมการพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ การพัฒนาองค์ความรู้ทางรัฐธรรมนูญสู่ความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ 

นอกจากบรรดาประเทศสมาชิกสมาคม AACC ในภูมิภาคเอเชียจะเข้าร่วมการประชุมแล้ว สมาชิกของการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโลก (World Conference on Constitutional Justice: WCCI) จะเข้าร่วมประชุมในฐานะแขกรับเชิญด้วย ส่งผลให้การจัดประชุมใหญ่ในครั้งนี้มีได้จากัดเพียงการประชุมในระดับภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในเวทีวิชาการระดับสากลด้วย ซึ่งประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญและประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นประธานสมาคม AACC และเจ้าภาพจัดการประชุม มีดังนี้

1.จากประเทศสมาชิก AACC จำนวน 21 ประเทศ ประเทศไทยได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ประธาน

สมาคม AACCและเจ้าภาพการประชุม แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นที่ยอมรับไว้วางใจจากประเทศสมาชิก

ในความมีมาตรฐานของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การที่ประเทศไทยได้ทำหน้าที่ประธานดังกล่าวทำให้ประเทศไทยอยู่ในสายตาต่างประเทศ และสร้างบทบาทของการเป็นผู้นำประชาธิปไตยกลับสู่สายตาต่างประเทศอีกครั้งหลังจากปี 2558

การประชุมในครั้งนี้ จะไม่เป็นเพียงการประชุมเฉพาะประเทศสมาชิกสมาคม AACC ในภูมิภาค

เอเชียเท่านั้น สมาชิกของการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโลก (World Conference on Constitutional Justice: WCC) ซึ่งเป็นต้นแบบของยุโรปที่มีการตอบรับเข้าร่วมการประชุม ได้แก่ ภูมิภาคแอฟริกา (CCJA) ภูมิภาคยุโรป (CECC) ภูมิภาคไอเบอโร - อเมริกา (CIC) และภูมิภาคยูเรเซีย (EACRB) ถือได้ว่าประเทศไทยได้รับการยอมรับไม่เพียงในระดับภูมิภาคเอเชียแต่เป็นการยอมรับในระดับสากล

2.หัวข้อหลักของการประชุมใหญ่ที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดในการจัดประชุมครั้งนี้ เป็นหัวข้อ

ที่ได้รับการยอมรับภายใต้หัวข้อหลัก "The Constitutional Courts and Equivalent Institutions in Strengthening Constitutional Justice for Sustainable Society : ศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าในการเสริมสร้างความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมที่ยั่งยืน" การกำหนดหัวข้อให้ความสำคัญในเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญประเทศไทย มีวิสัยทัศน์ที่ตระหนักถึงการปกครองในระบบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของสหประชาชาติที่มุ่งหมายต่อการพัฒนาอันยั่งยืน ย่อมเป็นหลักประกันต่อการเคารพในหลักนิติธรรม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ขั้นพื้นฐาน

3.ประเทศไทยในฐานะประธานสมาคม AACC และเจ้าภาพการประชุม มีความคาดหวังที่จะออกประกาศปฏิญญากรุงเทพมหานคร (Bangkok Declaration) ถือเป็นเอกสารรับรองจากบรรดาประเทศสมาชิกสมาคม AACC รวมจำนวน๒๑ ประเทศ ที่ให้ความเห็นชอบร่วมกันต่อการพัฒนาความร่วมมืออย่างเป็น รูปธรรม เพื่อการปรับใช้หลักนิติธรรม หลักประชาธิปไตย และหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ให้บรรลุเป้าประสงค์ความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญที่ยั่งยืน

4.การจัดการประชุมนานาชาติครั้งนี้ ย่อมส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวโดยผลพลอยได้จากการจัดประชุมในครั้งนี้คือ การส่งเสริม และแนะนำการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการต่อยอด กับแนวนโยบายของรัฐบาล และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประเทศต่าง ๆ จะกลับมาเยือนประเทศไทยด้วยความประทับใจ