svasdssvasds

เช็กรายชื่อ 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดคำวินิจฉัย "พิธา" คดีหุ้นไอทีวี

เช็กรายชื่อ 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดคำวินิจฉัย "พิธา" คดีหุ้นไอทีวี

ด่วน ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย "พิธา" รอด มติ 8:1 สมาชิกภาพการเป็นสส.ไม่สิ้นุสดลง - ไอทีวีไม่ได้ประกอบกิจการสื่อ โดยตุลาการเสียงข้างน้อย 1 เสียง คือ นายนครินทร์. เมฆไตรรัตน์ เห็นว่าสมาชิกภาพสส.ของนายพิธา สิ้นสุดลง

วันที่ 24 มกราคม 2567 องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้เริ่มประชุมเพื่อแถลงด้วยวาจา ประชุมปรึกษาหารือ ลงมติและออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ร้อง) ส่งคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ถือหุ้นใน บมจ. ไอทีวีซึ่งประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อสารมวลชนใดๆ อยู่ในวันที่สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพ ส.ส.ของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่

สำหรับคดีนี้ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2566 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ไต่สวนพยาน 3 ปาก ประกอบด้วย แสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ถูกร้อง และ คิมห์ สิริทวีชัย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด ผู้ทำหน้าที่เป็นประธานประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวี และ ลงนามบันทึกการประชุม

รายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินคดี "พิธา" ถือหุ้นสื่อไอทีวี 

  1. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาล รธน. (โหวตไม่รอด)
  2. นายปัญญา อุดชาชน
  3. นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
  4. นายวิรุฬห์ แสงเทียน
  5. นายจิรนิติ หะวานนท์
  6. นายนภดล เทพพิทักษ์
  7. นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ 
  8. นายอุดม รัฐอมฤต
  9. นายวรวิทย์ กังศศิเทียม

จากนั้น เวลา 14.00 น. องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย ซึ่งก่อนอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงทำความเข้าใจว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยแจ้งให้คู่กรณีทราบว่าคดีนี้ผู้ถูกร้องขอขยายระเวลายื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาจำนวน 2 ครั้งๆละ 30 วัน รวม 60 วัน ซึ่งศาลอนุญาต เพราะฉะนั้นคดีนี้ควรจะเสร็จสิ้นไปก่อน 60 วันที่แล้ว ไม่ใช่ว่าศาลล่าช้า

 

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม

คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้ นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 23/2566) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ร้อง) ส่งคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ถูกร้อง) เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)

ซึ่งประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ อยู่ในวันที่สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกส.ภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องว่างลงนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย ให้แก่คู่กรณีฟังตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 115 วรรคหนึ่ง (2) 

ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า คำร้องถูกต้องครบถ้วนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา <2 จึงมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง หลักฐานทะเบียนผู้ถือหุ้น วัตถุประสงค์ ตามหนังสือบริคณห์สนธิและงบการเงิน (แบบ ส.บช. 3) ของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เป็นเหตุเพียงพอให้ผู้ร้องควรเชื่อว่าผู้ถูกร้องเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมคดี &quot;พิธา&quot; ถือหุ้นสื่อ

จึงปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้อง ประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกร้องอาจก่อให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายและการคัดค้านโต้แย้งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสำคัญของที่ประชุมรัฐสภา และที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

ผู้ถูกร้องยื่นคำร้อง ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ขอขยายระยะเวลาการยื่น คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ออกไปอีก 3 วัน นับแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2566 และคำร้องฉบับลงวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ขอขยายระยะเวลายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ครั้งที่ 2 ออกไปอีก 30 วันนับถัดจาก วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรกแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ

ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คำชี้แจงและเอกสารหลักฐานของบุคคลและหน่วยงานที่เกี๊ยวข้อง รวมทั้งไต่สวนพยานและรับคำแถลงการณ์ปิดคดีของคู่กรณีรวมไว้ในสำนวนแล้ว เห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่ จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง  กำหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ นับแต่เมื่อใด

ผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (8 ต่อ 1) วินิจฉัยว่า ในวันที่พรรคก้าวไกลยื่นบัญชี รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อต่อผู้ร้อง ผู้ถูกร้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) แต่ข้อเท็จจริงในทางต่สวนรับฟังได้ว่าบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ไม่ได้ประกอบกิจการหรือมีรายได้จากกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ผู้ถูกร้องจึงมิใช่ผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 1 คน คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เห็นว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3)

อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ก่อนศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย คู่กรณีไม่สมควรแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับคดีเพราะอาจเป็นการชี้นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดี &quot;พิธา&quot; ถือหุ้นสื่อ

related