svasdssvasds

สรุปปมถือหุ้นไอทีวี คดีที่อาจดับอนาคต ‘พิธา’

สรุปปมถือหุ้นไอทีวี คดีที่อาจดับอนาคต ‘พิธา’

เวลานี้ ทุกสายตาจับจ้องไปที่ คดีถือหุ้นสื่อ ITV ของ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้ชะตาในวันพุธที่ 24 มกราคม 2567 นี้ ว่าท้ายที่สุดผลจะออกมาหัวหรือก้อย

SHORT CUT

 

 

 

 

เวลานี้ ทุกสายตาจับจ้องไปที่ คดีถือหุ้นสื่อ ITV ของ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้ชะตาในวันพุธที่ 24 มกราคม 2567 นี้ ว่าท้ายที่สุดผลจะออกมาหัวหรือก้อย

ถ้าวันที่ 24 มกราคม นี้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า “พิธา” ไม่ผิดปมถือหุ้น ITV  ก็มีโอกาสสูงที่จะถูกเสนอชื่อกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคก้าวไกลเพื่อนำทัพสู้ศึกการเมืองอีกครั้ง แต่ขณะเดียวกันถ้าคำวินิฉัยชี้ว่ามีความผิด เพราะหุ้นดังกล่าว ก็จะส่งผลให้ “พิธา” พ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ทันที และพรรคก้าวไกลก็อาจถึงทางตันบนเส้นทางการเมืองนับจากนี้

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก่อนวันพิพากษาที่กำลังจะมาถึง ทีม SPRINGNEW ขอพามาย้อนมหากาพย์ปม ถือหุ้นสื่อ ITV ของ ‘พิธา’ ที่ เป็นประเด็นร้อนแรงมาตั้งแต่ช่วงสุดท้ายของการเลือกตั้งปี 2566 ว่าเรื่องราวนี้มีความเป็นมาอย่างไร ?

ITV คืออะไร

ไอทีวี คืออะไร และพิธา ไปเกี่ยวข้องได้อย่างไร

ไอทีวี เป็น สถานีโทรทัศน์ ที่ดเนินการโดย บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับอนุมัติให้ดำเนินการสัมปทาน สถานีโทรทัศน์ระบบ UHF จากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) จำนวน 1 ช่องสถานี ซึ่งก่อตั้งขึ้นในสมัยของ รัฐบาล “นายอานันท์ ปันยารชุน” ภายหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535

เพราะในขณะนั้นมี สื่อโทรทัศน์ จำนวน 5 ช่อง ได้แก่ ช่อง 3 ททบ.5 ช่อง 7 (BBTV) ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. สทท. ซึ่งไม่ได้มีรายงานข่าวความรุนแรงอย่างตรงไปตรงมา ประชาชนจึงมีการเรียกร้อง ให้จัดตั้ง สถานีโทรทัศน์เสรีในระบบยูเอชเอฟ เพื่อให้คนไทยรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้อง และเป็นกลางอย่างแท้จริง

เวลานั้นบริษัทผู้เข้าประมูล คือ 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่ กลุ่มสยามทีวี ที่มีแกนหลักคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ และกลุ่มผู้ผลิตรายการ ที่ประกอบด้วย เครือเนชั่น, บจก.แปซิฟิค อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่นส์,บมจ.มติชน และ บมจ.สามารถ ซึ่งสุดท้ายผลปรากฏว่า กลุ่มบริษัท สยามทีวี ได้รับสัมปทานและได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ดำเนินงานบริหารสถานีฯ เป็นเวลา 30 ปี (สิ้นสุด 3 ก.ค. 2569)

แต่ช่วง วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ทางบริษัทขาดทุนอย่างหนัก และต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2543 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ดึงกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น (ชินคอร์ป) เข้ามาถือหุ้นไอทีวีด้วยวงเงิน 1,600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 39% ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ได้แปลงหนี้เป็นทุน มีสัดส่วน 55% โดยมอบสิทธิ์การบริหารให้กับชินคอร์ป

ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2540 บริษัทฯ ขาดทุนอย่างหนัก คณะรัฐมนตรี ในสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีมติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 อนุมัติให้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ดึงกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น (ชินคอร์ป) เข้ามาถือหุ้นไอทีวีด้วยวงเงิน 1,600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 39%  แต่ต่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติ ให้ยกเลิกสัมปทานจากการประชุมในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550  เหตุเพราะไอทีวีไม่สามารถจ่ายค่าปรับและค่าสัมปทานค้างจ่ายได้  และ เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย  

แต่ถึงแม้ ไอทีวี จะไม่ได้ออกอากาศมา 17 ปี แต่ บริษัทฯไม่ได้จดทะเบียนเลิกกิจการ และสถานะยังเป็นบริษัทยู่ ซึ่ง “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ถือครอง 42,000 หุ้น ตั้งแต่ ปี 2551 – 2566 โดยรับไม้ต่อมาจากบิดาที่เสียชีวิต ซึ่งเจ้าตัวยอมรับแจ้งว่าเป็นหุ้นมรดก และถือในสัดส่วนที่น้อย โดยคิดเป็นแค่ 0.0035% ของหุ้นทั้งหมดเท่านั้น

 

ไทมไลน์คดีปมพิธาถือหุ้น ITV

ไทมไลน์คดีปมพิธาถือหุ้น ไอทีวี  จนถึงวันศาลนัดตัดสิน 

24 เม.ย. 2566 - นิกม์ แสงศิรินาวิน อดีตผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคภูมิใจไทย เขตคลองสามวา  คือผู้เปิดประเด็น ปมหุ้นสื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์"  โดยได้โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กตนเองว่า  “นักการเมืองที่กำลังถือหุ้น ไอทีวี เตรียมตัวประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี และมอบตัว กกต.ด้วยนะครับ หัวหน้าพรรคหนึ่งถือ 42,000 หุ้น” พร้อมโชว์ภาพประกอบรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ไอทีว ประจำปี 2566

26 เม.ย. 2566 -บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จัดประชุมออนไลน์ ในวันที่ 26 เม.ย. 2566 ซึ่งในที่ประชุมนายภาณุวัฒน์ ขวัญยืน ผู้ถือหุ้นสอบถามว่า “ไอทีวี มีการดำเนินการเกี่ยวกับสื่ออยู่หรือไม่” ซึ่ง นายคิมห์ สิริทวีชัย ประธานคณะกรรมการบริษัท ไอทีวี ตอบว่า “ตอนนี้ บริษัทยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ นะครับ ก็รอผลคดีความให้สิ้นสุดก่อนนะครับ”

10 พ.ค. 2566 - เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ ยื่นเอกสารให้ กกต. ตรวจสอบ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" จากกรณีถือหุ้น ไอทีวี ซึ่งอาจผิดคุณสมบัติห้ามถือหุ้นสื่อสารมวลชน แต่เป็นความผิดส่วนบุคคล ไม่ถึงขั้นยุบพรรค

7 มิ.ย. 2566 - พิธา ชี้แจงว่า กรณีหุ้น ไอทีวี ตนเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ไม่ใช่ผู้โอนหุ้น  และมีเอกสารยืนยันชัดเจน

9  มิ.ย. 2566 - กกต. รับเรื่องไว้พิจารณา กกต. มีมติเป็นเอกฉันท์ 6 เสียง ไม่รับคำร้อง ไม่รับคำร้องกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ แต่รับเรื่องให้พิจารณาเป็นความปรากฏ ให้ตรวจสอบตาม ม. 151 แห่ง พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. เหตุรู้อยู่แล้วว่า ไม่มีสิทธิ์ สมัครรับเลือกตั้ง แต่ยังฝ่าฝืน

11 มิ.ย. 2566 - รายการข่าว 3 มิติ สังเกตความผิดปกติจากการประชุมออนไลน์ของบริษัทไอทีวี วันที่ 26 เม.ย. 2566   เพราะในบันทึกการประชุมที่เป็นแบบลายลักษณ์อักษร กลับระบุว่า “ปัจจุบัน บริษัทยังดำเนินกิจการอยู่ ตามวัตถุประสงค์ของบริษัท และมีการส่งงบการเงินและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ”  

14 มิ.ย. 2566 - ทนายรัชพล ศิริสาคร ยื่นหนังสือให้ กกต. เพื่อคัดค้านการดำเนินการสอบสวน “พิธา”  และขอให้ กกต.ความเอาผิดเรืองไกร ร้องเรียนเรื่องเท็จ  และในวันเดียวกัน เลขาฯ ป.ป.ช. ยืนยัน  “พิธา”   เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ก่อนเข้ารับตำแหน่งปี 2562 แต่ยังไม่ยืนยันว่า หุ้นไอทีวี  เป็นของนายพิธา 100% หรือไม่ เพราะยังไม่มีรายละเอียด

12 ก.ค. 2566 - กกต.มีมติให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพส.ส.ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส. บัญชีรายชื่อและแคนดิเนตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกลสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 ( 3 )ประกอบมาตรา 101 ( 6 )หรือไม่ จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นสื่อบริษัทไอทีวีจำกัดมหาชนจำนวน 42,000 หุ้น

17 ก.ค. 2566 - เอกสารนัดประชุมศาลรัฐธรรมนูญหลุดว่อนเน็ต โดยมีวาระคือการประชุมพิจารณา เรื่อง กกต.ขอให้วินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของนายพิธา สิ้นสุดลงหรือไม่ ซึ่งมีการนัดหมายในวันที่ 19 ก.ค. 2566 ซึ่งตรงกับวันที่โหวตนายกรอบสองพอดี หลังจากการโหวตครั้งแรกวันที่  13 ก.ค. ที่ผ่านมา นายพิธา ได้เสียงสนับสนุนไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา

19 ก.ค. 2566 - ศาลรัฐธรรมนูญมีติรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และสั่ง “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์”  หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ทันทีจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย ซึ่งเจ้าตัวก็ได้ประกาศอำลากลางสภาๆ จนกว่าจะพบกันใหม่

15 ก.ย. 2566  - “พิธา” ลาออกจากพรรคก้าวไกล โดยให้เหตุผลว่าเห็นแก่เรื่องส่วนรวม มากกว่าเรื่องส่วนตัว และเป็นสำนึกของนักการเมือง

20 ธ.ค. 2566 ศาลรัฐธรรมนูญ นัดไต่สวนพยานบุคคล ซึ่งภายหลังการไต่สวน พิธาแสดงความพอใจเพราะกระบวนการเป็นไปตามความคาดหวัง แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เพราะเป็นการละเมิดศาล

21 ม.ค. 2567 พรรคก้าวไกล เผยแพร่ วิดีโอความยาวกว่า 7 นาที เปิดข้อเท็จจริง พร้อมเชื่อมั่นว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล จะรอดพ้นจาก คดีหุ้นสื่อ ITV ด้วย หลักฐาน 6 ข้อ ดังนี้

  1. ไอทีวี ไม่ใช่สื่อ
  2. ไอทีวี ไม่ใช่คลื่นความถี่
  3. ไอทีวี ไม่มีใบอนุญาต
  4. ไอทีวี ไม่มีรายได้จากการทำสื่อ
  5. พิธาถือหุ้นในฐานะผู้จัดการมรดก
  6. ถ้าพิธาถือหุ้นจริง ก็ถือแค่ 0.00348% เท่านั้น  ไม่สามารถสั่งการครอบงำได้

 

24 ม.ค. 2567 – ศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้ชะตา อ่านคำวินิจฉัยตั้งแต่ 14.00น. เป็นต้นไป

ท้ายที่สุด ก็ต้องมาดูกันต่อไปว่า "พิธา" จะได้กลับเข้าสภาในวันที่ 24 ม.ค. 2567 นี้หรือไม่ 

ซึ่งถ้ารอด พิธา ก็ยังมีอีกหนึ่งคดีใหญ่รออยู่   ซึ่งเกี่ยวกับการ หาเสียงแก้ ม. 112 โดยมีนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 31 ม.ค.67 นี้ด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related